Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทึ่ง!!! น้ำดื่ม C2 Water น้ำดื่มที่คว้ารางวัลมากที่สุดในโลก

น้ำดื่มซีทรู คือ น้ำดื่มที่ไร้ฉลากเจ้าแรกในประเทศไทย ที่ได้รางวัลระดับโลกมากถึง 11 รางวัล ออกแบบโดย Prompt Design

กรรมการระดับโลกพูดถึงผลงานนี้ว่าอย่างไรบ้าง???

“A stunning, tactile, eco design. This is a very effective piece of packaging design for ‘no label’ bottled water driven by deep consumer insight. The clever design details and wonderful execution make this a standout entry in this category. Well done.”

“น่าทึ่งมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่มีฉลาก ซึ่งล้วนวิเคราะห์มาจากข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดและยอดเยี่ยม จึงทำให้รายการนี้โดดเด่นในหมวดหมู่ ยอดเยี่ยมมาก”

วิธีคิด และคำอธิบายผลงาน :
หลังจากที่พวกเราเก็บข้อมูลในมุม Consumer Insight ของผู้บริโภคมาแล้วพบว่า การทำขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฉลากนั้น จะเกิดปัญหาทั้งหมดอยู่ 2 อย่าง ก็คือ 1. ตำแหน่งรายละเอียดข้อมูลทางโภชนาการและส่วนผสมต่างๆตามกฎหมาย และรายการบาร์โค้ดที่จะต้องใช้ในระบบพวกห้างต่างๆ 2. ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ดีไซน์ที่ไม่มีฉลากนั้นดูเสมือนว่า มันเป็นมันเป็นเพียงการลดต้นทุนและปลอมตัวมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม มันดูไม่คุ้มค่ากับเค้าเลย

พอเราเข้าใจถึง Consumer Insight แล้วเราจึงมาใช้ดีไซน์ในการแก้ปมปัญหาของทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.เรานำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นตามกฎหมายมาใส่บนตัวขวดด้วยวิธีการปั๊มนูน Emboss และเรานำบาร์โค้ด มาสกรีนลงบนฝาขวด 2. เราเจตนาที่จะสร้างลวดลายให้สวยงามเป็น Collection ต่างๆ และเล่าเรื่องถึงผลกระทบที่ได้จากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาสัตว์ต่างๆ ที่มีความสุขท่ามกลางธรรมชาติที่ดีของพวกเขา ทั้งบนบก, ในทะเล, บนท้องฟ้า และในหิมะ เช่น กวางที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์, หมีขาวที่อยู่ในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ มาเล่าเรื่องผ่านลวดลายปั๊มนูนบนขวดน้ำที่น่าสนใจมากๆ

ชื่อของแบรนด์น้ำดื่ม C2 มีที่มาจาก See Through หรือ Circular Economy + 2gether สะท้อนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการของแบรนด์นี้


แบรนด์น้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label ถูกตีพิมพ์ในนิตรสารดังของประเทศอังกฤษ อย่าง ECO PLASTIC IN PACKAGING : October 2022 และ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือดีไซน์ของอิตาลี BEST IN PACKAGING 2021


รวมถึงน้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label จะไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ MODA (Museum of Design Atlanta) USA ซึ่งนิทรรศการที่จะไปจัดแสดงนั้นเกี่ยวกับ “food packaging design”,”การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร” จัดที่ MODA Museum of Design Atlanta (Atlanta, USA) ซึ่งนิทรรศการนี้ Curate โดย Elisabetta Pisu และ Amina Pereno นักวิจัยที่ POLITECNICO OF TURIN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคดิจิทัล นิทรรศการที่ Atlanta นี้ จะเป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การค้นพบวัสดุที่เป็นจุดเริ่มต้น รวมถึงจุดเปลี่ยนในการปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ไปสู่อนาคต (ทั้งบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ, ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหาร)

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

Somchana-Kangwarnjit-Dieline-Award-Winner-Packaging-Design

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลระดับโลก

Prompt Design บริษัทออกแบบแบรนด์อันดับ 4 ของโลกจากไทย คว้า 3 รางวัลจาก “Dieline Awards 2020” ด้วยอุดมการณ์ของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ “เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย! ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์”

กว่า 1,400 ผลงาน จาก 21 ประเทศทั่วโลก Prompt Design ได้รางวัลอันดับ 1 ถึง 2 รางวัล และอันดับ 3 อีก 1 รางวัล จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวทุ่งกุลาอินทรีย์ โดยหน้าบนเป็นวัสดุที่ผลิตจากแกลบ ปั๊มลายเป็นรูปเมล็ดข้าว ภายในเป็นกระสอบ สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์นี้แปลงร่างไปเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชูสวย ๆ ได้ด้วย

รางวัลที่ 1 อีกผลงานเป็นขวดน้ำแร่ของดอยช้าง ในชื่องาน 4 Life ที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกันของสัตว์ต่างๆ กับน้ำในธรรมชาติผ่านเส้นกราฟิกที่สื่อสารได้อย่างชาญฉลาด ส่วนผลงานที่ได้รางวัลที่ 3 เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งจากฟาร์ม Supha Bee Farm ผู้ผลิตน้ำผึ้งแค่ 1 ใน 2 รายในไทย ที่มีฟาร์มเลี้ยงผึ้งเป็นของตัวเอง เพาะพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งเอง สื่อสารโดยใช้กระดาษรังผึ้งมาเจาะช่อง เน้นความเป็นฟาร์มผึ้งอย่างชัดเจน


คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้ง Prompt Design กล่าวว่า “ผมแค่เสียดายในทุกๆครั้งที่ประกาศงานประกวดออกแบบ แล้วมีแต่ชื่อของประเทศอื่น ๆ ตอนนั้นผมได้แต่บ่นว่า อะไรวะ, ทำไมวะ ทำไมคนไทยจะทำแบบนั้นไม่ได้ หลังจากนั้นเลยไม่บ่น เสียเวลา เลยทำมันซะเลย …ผมก็เลยทำ และต่อสู้มาร่วมมากกว่า 20 ปี เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นี่คืออุดมการณ์ของผม”
Prompt Design เป็นบริษัทออกแบบสัญชาติไทย ที่ดังอยู่ในเวทีการออกแบบโลก คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแล้วมากมายรวม 74 รางวัล จากหลากหลายสมาคม อาทิ Dieline ของอเมริกา, Pentawards ของยุโรป, Red Dot ของเยอรมนี, IF Design Award ของเยอรมนี, Good Design Awards ทั้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย, Core 77 ของอเมริกา, World Brand Design Society ของอังกฤษ, Marking Awards ของจีน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนกระทั่งทางสมาคม World Brand Design Society จัดอันดับให้บริษัท Prompt Design เป็นบริษัทในอันดับ 4 ของโลกในปี 2019-2020

Cr.Room Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

Longbeer-01

เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

ช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2019 ที่ผ่านมา มีภาพลังขนาดใหญ่ และยาวมากๆ ปรากฏภาพในโลกออนไลน์ ทำให้แฟนๆนักดื่มตัวยง เริ่มถามว่าใกล้ๆบ้านของพวกเขามีขายมั้ย?

มันคือแพคเกจจิ้งแพ็คเบียร์ 99 กระป๋องที่ขนาดยาวมาก (ซึ่งต้องมีอย่างน้อยสองคนที่จะช่วยยก) แบรนด์ Pabst Blue Ribbon (PBR) ซึ่งเป็นเบียร์ American Lager ชื่อดัง ที่เก่าแก่มากสมัยปี 1844

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

ผม สมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design บริษัทออกแบบของไทยดีกรีรางวัลระดับโลก กว่า 60 รางวัล เมื่อปลายปีที่ผ่านมาผมได้ไปบรรยายในงานสัมมนา “SME NEXT TREND 2020” ของนิตยสาร SME THAILAND ในหัวข้อ “Thai Packaging Trend 2020” เกี่ยวกับเทรนด์บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 7 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและสินค้าของท่านได้

หลักการในการที่จะกำหนดเทรนด์ของผมเองนั้น มาจากประสบการณ์บวกกับการทดลองนำเทรนด์ต่างๆที่ได้ประมาณการณ์ไว้มาทดลองพิสูจน์ แล้ววัดผลดูว่ามันเป็นไปได้กับประเทศไทยๆอย่างเราๆกันหรือไม่ ผลปรากฎว่าได้ตรงตามที่คาดการณ์ไว้

มาเริ่มกันเลยครับ

  1. Mass Customization Packaging การทำความแตกต่างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอุตสาหกรรม เป็นเทรนด์ที่มี การนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น โค้ก ที่ทำแคมเปญพิมพ์ชื่อคนต่างๆ ติดอยู่ที่ฉลากกระป๋อง สำหรับในไทยเองแม้ไม่ใช่ Global Brand ก็สามารถทำได้ เช่น น้ำดื่ม Sprinkle ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ฉีดขวดสี เปลี่ยนจากขวดน้ำใสในตลาดน้ำดื่มธรรมดาทั่วไปที่ปกติจะเน้นโทนสีฟ้ามาใช้เป็นชุดสีต่างๆ ด้วยการไล่โทนและสร้าง Theme ขึ้นมาจากเรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนจากขวดน้ำใสๆ ธรรมดา มาสร้างสรรค์เป็นขวดน้ำที่น่าสะสม จากการสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ แถมขายในราคาเท่ากัน จึงไม่ยากที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคสนใจ และหยิบขึ้นมาทดลองได้ จากที่ไม่เคยติด Top 3 ในตลาด ยอดขายสามารถพุ่งกระฉูดขายดีได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเราสามารถพลิกแพลงจากในกระบวนการผลิตได้ ยกตัวอย่าง เช่น การฉีดสีขวดน้ำอาจมีขั้นต่ำในการทำครั้งละจำนวนมากๆ เช่น 1.5 แสนใบต่อ 1 เฉดสี ดังนั้น แทนที่จะทำหลากหลายสี เราสามารถสร้างธีมขึ้นมา แล้วเล่นเป็นทีละชุดสีก่อนก็ได้ เช่น โทนสีชมพูของดอกไม้ ได้แก่ กุหลาบ ทิวลิป คาร์เนชั่น เท่านี้ก็สามารถสร้างเรื่องราวและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
  1. Be Simple, Bold and Clear ปัจจุบันสินค้าในตลาดโดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ มีการใช้เฉดสีฉูดฉาด และ ภาพประกอบมากมาย เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า จนบางครั้งเมื่อนำมาวางเรียงอยู่ด้วยกันอาจสร้างความสับสนผสมปนเปกันไปหมด จนไม่สามารถมองหาจุดเด่นของสินค้าได้ ความเรียบง่าย น้อยแต่มาก สไตล์มินิมอล จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าออกจากแบรนด์อื่นๆ ได้ ยกตัวอย่าง “ไร่ไม่จน” แบรนด์น้ำอ้อยพรีเมียม ที่สามารถออกแบบแบรนด์และแพ็กเกจจิ้งได้แตกต่าง ด้วยตัวฉลากที่เรียบง่าย สีสันไม่ฉูดฉาด แถมยังออกแบบดีไซน์กระป๋องให้เหมือนกับปล้องอ้อยที่สามารถนำมาต่อกันให้ยาวเป็นลำต้นอ้อยขึ้นมาได้ สร้างความน่าสนใจ และสะดุดตาต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย จากที่ขายเรื่อยๆ ไม่เคยส่งออก การเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ครั้งนี้กลับกลายเป็นทำให้คว้ารางวัลระดับโลกมาได้มากมายกว่า 10 รางวัล ทั้งยังได้รับเชิญไปออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศ และมียอดการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามาอีกด้วย
  1. Culture Story การบอกเล่าคุณค่าที่มาของตัวสินค้า นับเป็นอีกวิธีที่น่านำมาใช้สำหรับแบรนด์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งนี่เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ SME สามารถต่อกรกับยักษ์ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดเดียวกัน แต่สามารถแยกออกมาเล่นในตลาดพรีเมียมที่มีขนาดเล็กกว่า แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยทำให้สินค้าขายได้ราคาและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องหาความแตกต่างให้ได้ เช่น แบรนด์ข้าว Healthy Food Healthy Life แทนที่จะแข่งขันอยู่ในตลาดแมส ก็อาจหันมาเล่นในตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อทำข้าวคุณภาพดีที่ใช้กระบวนการแตกต่างจากระบบอุตสาหกรรม โดยหันมาใช้วิธีแบบดั้งเดิมทั้งหมด เช่น ใช้ควายไถนา ใช้มือเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมที่เคยกินมา ซึ่งเมื่อสามารถสร้างความแตกต่างในกระบวนการผลิตและตัวสินค้าได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ก็ควรฉีกออกมาจากตลาด และต้องถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าที่เกิดขึ้นของแบรนด์ออกมาให้ผู้บริโภคได้รับรู้ด้วย
  1. Packaged Planet การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างหันมาทำกันมาก ขึ้น ซึ่งนี่เป็นโอกาสให้ SME สามารถนำมาใช้ทำตลาด และประยุกต์ใช้กับแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย เนื่องจากมีการโหมสร้างกระแสของแบรนด์ใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และเรื่องนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาเป็นกลยุทธ์ในทางธุรกิจกันมากขึ้น แต่ในแต่ละตลาดก็ยังมีช่องว่างอยู่ เช่น แบรนด์น้ำตาลมิตรผลที่ทำแคมเปญเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่น้ำตาลมาเป็นถุงกระดาษ เป็นต้น ซึ่งจากที่ขายราคาปกติ ก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นได้ แม้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยส่วนหนึ่งที่ได้ทำก็สร้างการจดจำและรับรู้ให้กับผู้บริโภคได้แล้วว่าหากพูดถึงแบรนด์น้ำตาลไทยที่ใช้ถุงกระดาษมาเป็นหีบห่อ ก็ต้องนึกถึงแบรนด์มิตรผลก่อน ดังนั้น ต้องหาช่องว่างที่ยังไม่มีใครทำให้เจอ ถ้าทำได้ ก็ตะโกนออกไปดังๆ แบรนด์ของเราจึงจะเป็นแบรนด์แรกที่อยู่ในภาพจำนี้ของลูกค้า
  1. New Experience จากสินค้าธรรมดา หากใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่าง สามารถสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่ลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบกล่องในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของแบรนด์ Diamond Grains กราโนล่าสายเฮลตี้ที่ออกแบบรูปแบบกล่องใส่สินค้า ซึ่งหากลองนำมาพับต่อกันจะสามารถเปลี่ยนจากกล่องธรรมดาให้กลายเป็นต้นคริสต์มาสใช้ประดับตกแต่งได้ จากตอนแรกที่คิดจะทำออกมาพิเศษเพียง 10,000 ใบ ผลปรากฏสามารถขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้หมดภายในวันเดียว ทำให้ต้องมีการพรีออร์เดอร์ และผลิตออกมาเพิ่มถึงกว่า 30,000-40,000 ใบเลยทีเดียว
  1. Collaboration กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน คือ การจับมือร่วมกันเพื่อสร้างแคมเปญหรือทำ กิจกรรมบางอย่างร่วมกันระหว่างแบรนด์ โดยไม่จำเป็นต้องไปจับมือร่วมกับแบรนด์ที่ทำสินค้าประเภทเดียวกันหรืออยู่ในตลาดเดียวกันเท่านั้น แต่สามารถจับคู่ระหว่างแบรนด์ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เพื่อสร้างความว้าว! ความสนุก สร้างสีสันให้เกิดขึ้นในตลาด โดยวิธีดังกล่าวนี้นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นน่าสนใจให้กับลูกค้าแล้ว ตัวแบรนด์เองจะกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมยังอาจได้กลุ่มลูกค้าของแบรนด์บัดดี้ที่ทำงานร่วมกันมาเพิ่มอีกด้วย เรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนลูกค้าซึ่งกันและกันที่น่าสนใจอีกวิธี และน่าจะเป็นที่นิยมไปต่อได้ในอีกระยะหนึ่ง
PurraXDesigner.jpg
  1. Smart Packaging วิธีการสุดท้าย บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งเป็นวิธีที่เริ่มมีการนำมาใช้กันมากสำหรับแบรนด์ใน ตลาดต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยอาจยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก เนื่องจากความไม่พร้อมของประชากรที่อาจยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนได้ทั่วถึงในทุกกลุ่ม เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับบรรจุภัณฑ์ได้ จึงอาจยังไม่เหมาะหากจะนำมาใช้สร้างตลาดในตอนนี้ แต่นับเป็นอีกวิธีที่หากทำได้จะสร้างความสนุก สร้างลูกเล่น และดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอีกเทรนด์ที่มาแน่นอน เพียงแต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย ณ ตอนนี้เท่านั้นเอง

ทั้งหมดนี้คือ 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ที่ท่านสามารถนำไปประยุกต์เป็นกลยุทธ์ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และการรับรู้ได้อย่างไม่ยาก ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะรู้ว่าเทรนด์มันมีประโยชน์ อย่างที่ผมทดลองนำไปใช้แล้วจริงๆ

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , ,

พี่ไทย…เป็นประธานกรรมการตัดสินงานออกแบบ Core77 Design Awards ระดับโลก

core77-design-awards-logo
core-77-award-trophy

ไม่ธรรมดาครับ น่าภูมิใจอีกแล้ว คนไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ..!!!

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์คนไทยที่ได้เป็นกรรมการตัดสินเคียงบ่าเคียงไหล่กับกรรมการระดับโลกหลากหลายสาขา อาทิเช่น ผู้ก่อตั้ง Airbnb, Designer จากรถ McLaren, นักออกแบบจาก Samsung Global, Creative Director จากหนังสือ NY Times, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จาก Airbus Group (โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของโลก) และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยของโลกทั้ง Cornell, Art Center College of Design, National Institute of Design เป็นต้น ถือได้ว่าเด็ดๆทั้งนั้น

somchana-jury-packaging-design-asia-world-core77-design-awards

Core77 Design Awards 2016 การประกวดงานดีไซน์ครั้งที่ 6 โดยเว็บไซต์ Core77 บล็อกดีไซน์ระดับโลกที่ครอบคลุมทุกสาขาของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงพื้นที่ Core77 ถูกพูดถึงในสิ่งพิมพ์ชื่อดังของอเมริกาอย่าง The New York Times และ PC Magazine และได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ และชุมชนออนไลน์ของเหล่าดีไซเนอร์และคนรักงานออกแบบอีกด้วย โดยการประกวดผลงานจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสาขาอาชีพการออกแบบทุกสาขา และความสามารถของนักออกแบบ

core77-design-awards-category

ในการประกวดครั้งนี้มีด้วยกันถึง 14 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีคณะกรรมการเฉพาะกลุ่ม โดยกรรมการเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น Hyuntaik Lim ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Samsung Global Design Europe เป็นกรรมการสาขาผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, Alexis Lloyd Creative Director ของ NY Times R&D Lab กรรมการสาขาการออกแบบ Interaction, Alex Alexiev นักออกแบบรถ McLaren, Joe Gebbia ผู้ก่อตั้ง Airbnb เป็นหัวหน้ากรรมการสาขา Service Design

และที่น่าภูมิใจสุดๆ ก็คือกรรมการจากประเทศไทย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design ได้คัดเลือกเป็น July Captain หัวหน้ากรรมการในสาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไปสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง

somchana-prompt-design-jury-design-awards-judgement-winner-packaging

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้ารอบในปีที่แล้ว ได้แก่ The Urban Post-Disaster Housing Prototype ผลงานเข้ารอบในสาขาการออกแบบสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแบบบ้านสำหรับหลังเกิดภัยพิบัติที่กลุ่มสถาปนิก Garrison Archi-tects ออกแบบให้กับสำนักงานจัดการภัยพิบัติฉุกเฉินของเมืองนิวยอร์ก เพื่อเป็นต้นแบบในการวางแผนรับมือภัยพิบัติในระยะยาว อีกหนึ่งผู้เข้ารอบในสาขานี้ คือ Museum of Future Government 2014 ผลงานของกลุ่มนักออกแบบ TELLART ที่ออกแบบให้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นการจัดแสดงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและอนาคตของรัฐบาลในรูปแบบนิทรรศการ

core77-design-awards-winner-gallery

การประกวดของ Core77 มุ่งหวังที่จะมอบโอกาสให้แก่นักออกแบบ นักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสในการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังผลงานของพวก เขา ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในลักษณะแบบไหนก็ตาม ตั้งแต่งานรับจ้างไปจนถึงโปรเจ็กต์ส่วนตัว เพื่อเปิดรับความหลากหลายในวงการดีไซน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์ วัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อม และการศึกษา

ติดตามชมคลิปวิดีโอของกระบวนการตัดสิน ของเหล่าคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน และผลงานการออกแบบหลากสาขาของผู้ชนะและผู้เข้ารอบได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ที่เว็บไซต์ http://designawards.core77.com

Cr. คิดสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Cr. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

แคมเปญ…ไอเดียแจ่ม version โค้ก

วันนี้ขอแนะนำแบรนด์ Coca-Cola ที่ทุกๆคนคุ้นเคย แต่จะเล่าถึงไอเดียของ โคคาโคล่า เจ๋งๆที่คุณอาจไม่เคยรู้เพราะว่า เรารับรู้แค่ในประเทศไทยประเทศเดียว แต่ผมจะไปนำไอเดียของแบรนด์ยักษ์ใหญ่แบบโค้กในต่างประเทศว่าเค้าทำอะไรบ้างมาเล่าให้ท่านๆฟังกันนะครับ

original Coco-ColaHandout Coca-Cola Photograph

เริ่มกันเลยดีกว่าครับ….!!!

ไอเดียที่ 1. ในปี 2011 ที่ผ่านมาแคมเปญหรือไอเดียนี้เริ่มในประเทศออสเตรเลีย ชื่อแคมเปญที่ว่า “Share a Coke” เริ่มช่วงประมาณตุลาคม โดยเริ่มมาจากว่าวัยรุ่น 50% ไม่ชอบรสชาติโค้ก ทางโค้กก็พยายามหา Gimmcik idea ให้วัยรุ่นหันกลับมาดื่มโค้กด้วยวิธีที่ชาญฉลาดก็คือ ใช้วิธีพิมพ์ชื่อคนที่มีการตั้งชื่อสูงสุดในออสเตรเลีย 150 ชื่อลงบนกระป๋องโค้ก เช่น Matt, Nan, Joel, Anna เป็นต้น และกระจายไปตามตู้แช่ในหัวเมืองต่างๆ โดยออกแบบให้ชื่อนั้นอยู่ตำแหน่งเดียวกันกับโค้กเลยก็ว่าได้ ถือเป็นความตั้งใจ แต่จะมี Wording เขียนกำกับไว้ข้างหน้าชื่อว่า Share a Coke with…. หลังจากออกตลาดไปพบว่าคนมีการแชร์ในโลก Social Network และมีคนพูดถึงเป็นจำนวนมาก ก่อนที่โค้กจะเปิดตัวว่านี่คือแคมเปญ Share a Coke ให้รับรู้ทั่วกันอย่างเป็นทางการ ทางคุณ Lucie Austin Marketing Manager กล่าวว่ามันเป็นการย้ำเตือนให้ลูกค้านั้นนึกถึงคนที่เคยเกี่ยวข้องในชีวิต หรือไม่ก็ลืมติดต่อกับเค้า หรือไม่ได้ติดต่อกันเสียนาน อยากที่จะนำขวดโค้กกระป๋องโค้กไปแชร์กันอย่างสนุกสนาน มันสร้างความฮือฮามากๆขนาดลูกค้าสามารถเข้า Facebook ไปเลือกเพลงประจำตัวประจำชื่อได้และแชร์ผ่านออนไลน์

coke_connect_land11skr5i.jpgcoca-cola-share-a-coke-1-2000-84478

บางคนคิดว่า อ่าว…!!! ชื่อฉันไม่โหลจะทำยังไงดีล่ะ ก็แค่ไปลงทะเบียนนัดผ่าน Facebook Fanpage ของ Coke ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆที่นำชื่อของท่านไปใส่ไปตามจุดต่างๆ เพื่อเอาใจแฟนโค้กได้ทั่วถึง

ส่วนคนที่ชื่อไม่โหล ก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะโค้กคิดเผื่อไว้ให้แล้ว

ใครที่อยากจะมีชื่อตัวเอง ชื่อเพื่อน คนในครอบครัว คนรู้จัก หรือคนที่อยากรู้จัก พิมพ์ลงบนกระป๋องโค้กขนาด 200 มิลลิลิตร ก็ไปลงทะเบียนนัด ผ่านแฟนเพจของแชร์อะโค้กในเฟซบุ๊กซึ่งจะมีกิจกรรมไปชื่อบนกระป๋องให้ตามต้องการตามจุดต่างๆ ที่ประกาศไว้ เป็นการเอาใจผู้บริโภคแฟนโค้กเป็นส่วนตัวอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน

Things_we_like_coca_cola_can1

ผลที่ได้คือ 7% ในการเพิ่มขึ้นของยอดกลุ่มวัยรุ่น, ยอดขายเพิ่มขึ้น 3%, 870% ในการเพิ่ม Traffic ในเฟสบุ๊ค, กว่า 12 ล้านมีเดียที่ได้ฟรี และ 76,000 แชร์กันในเฟสบุ๊ค เพียงไม่ถึงเดือนแฟนเพจของโค้กก็มีกดไลค์ 6 แสนกว่าราย มีคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกือบ 2 หมื่นราย

ไอเดียที่ 2. โค้กสร้างแคมเปญ แบ่งปันกระป๋องโค้ก แบ่งปันความสุข (Sharing Can) เป็นอีกแคมเปญ แชร์ความสุขด้วยการแบ่งปันกระป๋องโค้ก อย่างที่เรารู้โค้กแคมเปญนี้เป็นไอเดียของ Ogilvy & Mather ประเทศสิงคโปร์และฝรั่งเศสที่ทำงานร่วมกัน สร้างแคมเปญแบ่งครึ่งกระป๋องโค้กโดยได้ออกแบบแนวคิดใหม่ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังทางความคิดสร้างสรรค์ด้วยการนำโค้กกระป๋องขนาด 330 มิลลิลิตร มาแบ่งให้เพื่อนได้ด้วยการบิดกระป๋อง เมื่อบิดกระป๋องแล้วจะได้ออกมาเป็น Coke can 2 กระป๋องเล็กเพราะตอบปัญหาเรื่องคนทานน้ำอัดลมปริมาณน้อย กับสร้างการแบ่งปันและความสัมพันธ์มิตรภาพคนรอบข้างด้วยกระป๋องเล็กๆใบนี้ได้ด้วย

coke-sharing-cancoca-cola-sharing-can-600-92051 maxresdefault

ไอเดียที่ 3. โค้กได้คิดจากแคมเปญ การแชร์กันการช่วยเหลือกันอีก ออกแคมเปญวันเพื่อนแห่งชาติมา ซึ่งเป็นวันที่ 20 July โดยลงทุนทำเครื่อง Vending Machine หรือตู้กดน้ำ แต่ทำในขนาดใหญ่มาก ให้ชื่อว่า Friendship Machine ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถจะหยอดเหรียญหรือกดน้ำได้ ต้องมีเพื่อนมาพยุงต่อกันเพื่อที่จะต่อตัวขึ้นไปกดน้ำโค้กทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์แบบใหม่เกิดขึ้นตามแคมแปร์การแชร์ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันตรงตามเป้าหมายที่คิด ผลลัพธ์ที่ได้นั้น ยอดขายโตขึ้นจาก Vending Machine ปกติถึง 1075%, ขาย 800 กระป๋องใน 9 ชั่วโมงต่อหนึ่งตู้

18996 Coca-Cola vending machine Ziggo dome oktober 2012 LR coca-cola-the-friendship-machine-2000-35490

ไอเดียที่ 4. โค้กต้อนรับ Summer ของทางประเทศโคลัมเบียฝั่งอเมริกาใต้ ด้วยการเสิร์ฟโค้กในขวดน้ำแข็ง ซึ่งเป็นขวดน้ำแข็งแท้ๆ ละลายได้จริง โดยไม่ต้องนำขวดมา Recycle ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นฝีมือของ Agency ชื่อดังอย่าง Ogilvy & Mather ที่นำมาเปิดตัวที่ชายหาย Cartagena ประเทศ Columbia โดยออกแคมเปญCoca Cola Ice Bottle  บริเวณขวดน้ำแข็งถูกพันด้วยพลาสติกลายโลโก้โค้ก ที่ทำเลียนแบบขวดโค้กของจริง และช่วยให้เป็นภาชนะป้องกันความเย็นจากขวดน้ำแข็ง เป็น Idea ที่เจ๋งมากๆ Eco-Friendly ต่อโลกต่อธรรมชาติอีกด้วย เรียกได้ว่าพลังความคิดสร้างสรรค์เหลือรับประทานจริงๆ

Coca-Cola-Ice-bottlescoca-cola-ice-bottle-hed-2013

ไอเดียที่ 5. กอดฉันหน่อย ไอเดียการทำตู้กดน้ำที่มีแนวความคิดจากแคมเปญ Open Happiness ซึ่งเป็นแก่นนั้น ทำให้ตู้กดน้ำที่เกิดจากการกอด หรืออ้อมกอดของเราที่แสนอบอุ่นถ่ายทอดไปยังตู้กดน้ำ โดยลักษณะตู้กดน้ำนั้นจะมีข้อความเขียนว่า Hug Me อยู่ พอเจ้าตัว Hug Machine นี้ออกไป ผลลัพธ์ทำให้คิวของตู้นี้ยาวเหยียดมาก, มีเดียที่ได้ในเวลา 2 อาทิตย์ เป็นจำนวน 116 ล้าน รวมถึง 1.5 ล้านเป็นวีดีโอ ถือว่าลงทุนเพื่อฟรีมีเดียได้ดีเลยทีเดียว

20120329_162738

ไอเดียสุดท้าย เป็นงานสิ่งพิมพ์โฆษณา Coca-Cola Grib ที่เชิญชวนให้รู้จักถึงสินค้าใหม่อย่าง Coca-Cola Grip ว่ามีข้อดีอย่างไร จับถนัดมือ ไม่หลุดหล่นง่าย เค้าจึงออกแบบให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ซึ่งใช้ตีนตุ๊กแก หรือ Velcro tape นั้นเป็นแผ่นโฆษณาแกนที่จะพิมพ์กระดาษ ฉะนั้นเมื่อไปติดตั้งบริเวณป้ายรถเมล์ เนื่องจากพฤติกรรมคนชอบยืนพิง ทำให้เมื่อไปยืนพิงป้าย Coca-Cola Grip ทำให้ตัวตีนตุ๊กแกนั้นดูดเสื้อผ้า ทำให้สะดุดตาหรือเอะใจว่าเกิดอะไรขึ้น พอมาอ่านป้ายก็เสมือนเฉลยว่า มันคือ Coca-Cola Grip ไม่หลุดง่าย เป็นต้น

coca-grip-velcro

ทั้งหมดสำหรับครั้งนี้พยายามให้ท่านๆเห็นว่า แบรนด์ๆหนึ่งนั้น สามารถสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นที่เป็นชิ้นเอกที่สามารถสร้างความโดดเด่นความฮือฮาได้มากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่จินตนาการว่าแบรนด์ของท่านสามารถสร้างได้แบบนี้หรือไม่ ยังไงมันถือเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านให้ความสำคัญในการสรรสร้างผลงานไม่มากก็น้อย บางทีท่านอาจจะสร้างแค่ครั้งเดียวแล้ว WoW จนกลายเป็น Talk of the town ในที่สุด

เครดิต : SMEs Plus Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , ,

สร้างชื่อด้านบรรจุภัณฑ์โลกอีกแล้ว!!!! สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบระดับโลก

คุณแชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ คนไทยระดับโลก สัมภาษณ์รายการ World Class Smart Thai ของกรุงเทพธุรกิจ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกแบบกันเอ๊ง…กันเอง น่ายกย่องในความตั้งใจของเขาจริงๆ ลองมาดูการทำงาน ทีมงาน ความตั้งใจในการทำงานของเขาที่ทำให้คุณสมชนะสามารถทำให้เขาไปสู่ Packaging Designer of the World อย่างแท้จริง

Filed under: Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us