Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Lays เลย์ปรับ Packaging ใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

มันฝรั่งแผ่นเลย์ (Lays) ปรับโฉมใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

Frito-Lay จากบริษัท PepsiCo ได้ปรับปรุงโฉมมันฝรั่งทอด Lays ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ นับเป็นการปรับบรรจุภัณฑ์ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วในเดือนกันยายน 2562 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทย จะตามมาหลังจากนั้น

Print

แนวคิดบรรจุภัณฑ์ใหม่ มาจากเอเจนซี่นิวยอร์คมีนามว่า Vault49 ใช้แนวคิดที่ว่า  InstaWorthy เป็นการถ่ายภาพที่ต่างจากภาพถ่ายบนบรรจุภัณฑ์ตัวเก่า ภาพถ่ายใหม่นี้จะเป็นถ่ายภาพมุมบนลงล่าง หรือเรียกว่า Top View เหตุผลที่เลือกแนวคิดนี้ก็คือ จากผลวิจัยเรื่องการถ่ายรูปในยุค Social Media Era วัยรุ่นส่วนมากจะถ่ายรูปลง Instagram กัน ซึ่งรูปที่สวยและเป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพอาหารก็คือ มุมด้านบน ดังนั้นจึงเลือกใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย อีกทั้งสัดส่วนของ Ingredients บนหน้าซองใหม่ของเลย์นั้น จะเป็นการใช้สัดส่วน ingredients จริงๆ

Lays-Packaging-City-Rebrand-03.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-01.jpg

นอกจากนี้ตัวโลโก้ของ Lays เองเวลาใช้ในซอง จะให้มีขนาดเล็กลง ตัวอักษรตัว y นั้นจะม้วนหางเก็บ และเพิ่ม space ริบบิ้นแดงให้ชัด เพื่อให้การใช้งานในระดับ favicon ขนาด 16*16 พิกเซล  นั้นยังคงอ่านออกอยู่

ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้น โลโก้เลย์ ถูกขยับมาให้เข้าใกล้กับกลางซอง โดยมี Monochromatic Ring เปล่งแสงจากตรงโลโก้ออกมา กลายเป็นอีกหนึ่ง Brand identity ใหม่ของแบรนด์เลย์ที่จะใช้ต่อไป

Lays-Packaging-City-Rebrand-04.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-06.jpg

ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์นั้น ตกแต่งด้วยภาพและเส้นสายความสนุก สลับคั่นด้วยคำอธิบายรสชาติสี่คำ ตัวอย่างเช่น เลย์ตัว Classic จะใช้คำว่า “Crispy Yummy Deliciously Tasty.”

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ข่าวล่าสุด! คุณ สมชนะ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกมือ 1 ของไทย ไปตัดสินอีกแล้ว

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก-สมชนะ หลังจากครั้งแรกที่ผ่านมา คุณแชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design กับการไปเป็นกรรมการ PENTAWARDS 2013 ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน มาปี 2014 นี้ คุณสมชนะ ได้รับเกียรติไปตัดสินรางวัลสุดยอดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของโลกอีกครั้งหนึ่งที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากประสบการณ์ในครั้งแรกนั้น คุณสมชนะ กล่าวว่า “เขาพบว่างานออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)ในโลกล้วนสุดยอดจริงๆ ผมประทับใจเรื่องแนวคิดกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ที่ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก มันเสมือนดั่งเป็นการคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทรงพลานุภาพมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศจึงเสมือนเป็นท่าไม้ตายที่สำคัญท่าหนึ่งเลยทีเดียว” Somchana_Jury_member_Pentawards2014 ซึ่งปี 2014 นี้ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ตัวแทนชาติไทย ก็จะไปตัดสินรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกอย่าง PENTAWARDS ณ กรุงโตเกียว ได้ข่าวคราวยังไง ทางเราจะคาบข่าวมาเรียนครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

น่าสนใจมาก..!!! คุณสมชนะ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก ณ รายการไทยเท่

คุณแชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ระดับโลกจาก Prompt Design ณ รายการไทยเท่ หัวข้อแพคเกจใส่ไอเดีย(Idea Packaging) สัมภาษณ์โดยพี่โหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ กับการสร้างแรงบันดาลใจมากมายให้กับวงการและนักออกแบบรุ่นใหม่  ในความสม่ำเสมอของผู้ชายคนนี้ น่ายกย่องมากๆ

สมชนะ กังวารจิตต์

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

บรรจุภัณฑ์ถุง Kokoa Hut คนไทยได้รางวัลระดับโลก The Dieline Awards 2011

โก..โก..โกอินเตอร์อีกแล้ว!!! บรรจุภัณฑ์ไทย (Packaging)
หลังจากที่ Packaging City เคย Review บรรจุภัณฑ์ไทยที่ไปชนะรางวัล PENTAWARDS คราวนี้มาอีกแล้วครับท่าน!!!!! เป็นการประกวดบรรจุภัณฑ์เมพขิงๆของสมาคม The Dieline ชื่อการประกวดว่า The Dieline Awards 2011
สมาคม The Dieline นั้นเป็นสมาคมที่รวบรวมแรงบันดาลใจทางด้านบรรจุภัณฑ์จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งการแข่งขันรางวัลประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แข่งขันทั่วโลก บริษัทชั้นนำของโลกส่งผลงานรวมกว่า 900 ผลงาน จาก 31 ประเทศ ชั้นนำทั่วโลก เพื่อชิงความเป็นบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยม 39 รางวัลใน 13 ประเภทจากหมวดหมู่ต่างๆ จะถูกตัดสินโดย 12 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเช่น Debbie Millman ผู้สร้างแบรนด์ Coca-Cola, Hershey, Hallmark เป็นต้น ซึ่งถือว่ารายการนี้ค่อนข้างมหาหินมากๆ

แต่กลับกลายเป็นว่าคนไทยไปชนะมาอีกแล้ว ต้องชื่นชมจริงๆสำหรับการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ กว่าจะฝ่าด่านของท่านกรรมการมาจวบจนได้รับรางวัลที่ 1 นั้นต้องยกนิ้วให้บริษัท Prompt Design มา ณ ที่นี้ด้วยทางทีม Packaging City นั้นได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์หัวหอกอย่าง คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design ว่ามีแนวความคิดว่าอย่างไรบ้าง

ผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานที่ทำให้แบรนด์ช็อกโกแลต(Chocolate)คนไทยอย่าง Kokoa hut โดยผลงานนั้นเป็นถุง Shopping Bag ที่สร้างให้เป็น Interactive Packaging อย่างแท้จริง โดยศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ผนวกกับวาระโอกาสต่างๆ จึงออกมาเป็น ถุง Shopping Bag ที่สามารถบ่งบอกความรู้สึก ให้กับผู้รับได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่พลิกแผ่นกระดาษที่ทำรอยฉลุไว้ขึ้น เป็นข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ตามที่เราต้องการ ขั้นตอนการพัฒนาไอเดียไปสู่งานจริงนั้น เป็นขั้นตอนที่ยากตั้งแต่ลูกค้า เราต้องพยายาม Approach ลูกค้า ให้มั่นใจและยอมรับงานออกแบบที่เราได้นำเสนอไป เนื่องจากค่า Production ของ ถุง Shopping Bag นั้นราคา ต่อหน่วยค่อนข้างสูงมาก อีกทั้งงานสไตล์นี้ในปี 2008 ถือเป็นงานที่ใหม่มาก ดังนั้นต้องให้เวลาพัฒนาแบบทั้งการ เลือกใช้พื้นผิวของกระดาษ และวัสดุต่างๆ อยู่พอสมควร ทำให้ Cost ของถุงใบนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด ตกถุง ราคา 50 บาทต่อหนึ่งใบ ซึ่งสรุปสุดท้ายนั้นถุงใบนี้จะต้องแจกฟรีสำหรับลูกค้าที่ซื้อของครบ 1,000 บาท คำถามคือ แล้วจะคุ้มรึป่าว?? คือตอบคือคุ้มมากๆ เพราะ Feedback ที่ได้รับกลับมาถือว่ายอดขายทะลุเลยก็ว่าได้ มีลูกค้าหลายๆราย ประทับใจ และชมเป็นจำนวนมาก จนขนาดว่าอยากได้ถุงจนต้องซื้อช็อกโกแลตกันเลยทีเดียว

ซึ่งทั้งหมดนี้ทางคณะกรรมการของ The Dieline Awards 2011 ชมว่าสามารถประยุกต์เอาไลฟ์สไตล์ของแบรนด์มา สร้างเป็น Packaging ที่จดจำได้ น่าซื้อ แปลกใหม่ ทำให้ทีมคณะกรรมการบอกได้คำเดียวว่า มันทำให้เค้ารู้จักแบรนด์ Kokoa Hut ของไทย ทั้งๆที่แบรนด์ช็อกโกแลตมันต้องมาจากต่างประเทศ ตัวอย่างนี้เป็นการสร้างแบรนด์ด้วยบรรจุภัณฑ์ อย่างแท้จริง

เครดิต : ออกแบบโดย Prompt Design Team
สมชนะ กังวารจิตต์

http://www.thedieline.com/blog/2011/6/24/the-dieline-awards-2011-first-place-kokoa-hut-shopping-bag.html

http://www.prompt-design.com

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Case Study Minute Maid พลังการปรับภาพลักษณ์ สวยไม่สวย ต้องชม!!!

การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์(Redesign Packaging)แบรนด์ชั้นนำในสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งความพยายามของแบรนด์ระดับโลกอย่าง บริษัท โคคาโคล่า (Coca-Cola) ซึ่งโคคาโคล่าที่ปรับภาพลักษณ์ใหม่นั้นจะมีความเรียบง่ายมากๆในการใช้งานดังที่เคยกล่าวไปในบล็อกที่ผ่านมาแล้ว แต่ครั้งนี้เป็นการเข้ามาปรับโฉมของ line ประเภทน้ำผลไม้ เพื่อขยายขีดความสามารถของสายผลิตภัณฑ์ Cat อื่นๆ และเพื่อพัฒนาประสบการณ์ผู้บริโภค (Consumer’s Experience) ณ จุดขาย ซึ่งบรรจุภัณฑ์แบบใหม่จะทำให้รู้สึกถึงคุณภาพมากขึ้นของแบรนด์ Minute Maid

ทาง Packaging City จะแยกย่อยแนวความคิดของ Packaging Design ใหม่ของ Minute Maid เป็นข้อๆกัน

ด้านสัญลักษณ์ Minute Maid (Icon)
มีการใช้โลโก้แบบเดิม คือ พื้นดำตัวอักษรขาว แต่ปรับระบบ New Visual Identity ใหม่ ขอบด้านบนโลโก้นั้นปรับให้ดูร่วมสมัยโดยอ้างอิงจากโลโก้เดิม อีกทั้งเพิ่มเติมแถบสีเขียวด้านบนโลโก้ เพื่อเชื่อมต่อแบรนด์กับความเป็นธรรมชาติและพื้นแผ่นดินที่ผลิตผลไม้

ด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์(Packaging Design)
ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในซูเปอร์มาร์เก็ตบริเวณช่องทางเดิน วิธีการมองของผู้บริโภค และศึกษาวิธีการจัดเรียงผลไม้ตามตลาดสดท้องถิ่นจริงๆ เพื่อที่จะพัฒนาการสื่อสารภาพให้สอดคล้องสำหรับบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ใหม่

บรรจุภัณฑ์ใหม่จะสร้างแบบครบวงจรบน Shelf เมื่อบรรจุภัณฑ์(Packaging)วางต่อกันในแต่ละด้านโดยมันจะเชื่อมต่อกันเป็นภาพรวมของผลไม้ ได้แรงบันดาลใจจากอารมณ์ที่คุณเดินตามตลาดสดที่มีผลไม้เรียงรายอยู่มากมาย มันจะปรากฏภาพเหล่านี้ขึ้นใน Shelf Minute Maid โดยมันจะสร้างพลังบน Shelf อย่างมหาศาล มากกว่าคู่แข่งหลายเท่าตัว ส่วนภาพผลไม้บนบรรจุภัณฑ์(Packaging)ที่ถูกหั่นหรือฝานนั้น จะเป็นพระเอกบนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด เพื่อแสดงถึงความสดใหม่ และ Gimmick ต่างๆได้

นี่เป็นหนึ่ง Case Study ของคำว่าพลังบน Shelf ซึ่งมันสามารถสร้างการสื่อสารต่อผู้บริโภคบน Shelf ได้อย่างมหาศาลจริงๆ นี่ทีมงาน Packaging City แค่มา Review Minute Maid แบรนด์เดียวเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วยังมีอีกหลากหลายแบรนด์ที่ใช้แนวความคิดแบบ Shelf Impact อีกเพียบ และประสบความสำเร็จ แต่ความจริงไม่ง่ายนะที่จะคิดระบบของโครงสร้างแบรนด์อย่างลงตัวโดยใช้แนวความคิด Shelf Impact เป็นมิติหนึ่ง แต่ทีมงาน Packaging City อยากมาแนะนำว่า นี่แหละ..!!! ถึงแม้บรรจุภัณฑ์สวยขนาดไหนก็ตาม เมื่อเราขึ้นชกบนเวทีแล้ว พลังของ Shelf นั้นมีผลมาก แบบในตัวอย่างนี้เป็นต้น

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Here! Sod บรรจุภัณฑ์ไทยได้รางวัลระดับโลก PENTAWARDS 2010

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแล้ว..!!!! คนไทยชนะรางวัลเวทีบรรจุภัณฑ์โลก
หลังจากที่ Packaging City Review งานประกวดบรรจุภัณฑ์(Packaging) ระดับโลกอย่าง PENTAWARDS 2010 ไปแล้ว คราวนี้ก็ต้องมาชื่นชมผลงานของคนไทยเราเองที่ไปคว้ารางวัลนี้มาด้วย โว้ว..น่าชื่นชมจริงๆ โดยผลงานนั้นเป็นการชนะเลิศ GOLD AWARD บรรจุภัณฑ์ประเภท Body ของโลก ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันเลยยยย…..

บรรจุภัณฑ์นี้เป็นแนวคิดในการออกแบบที่ค่อนข้างแปลก บวกกับมีการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆผ่านสินค้าที่ไม่เคยมีบรรจุภัณฑ์มาก่อนได้อย่างน่าสนใจมาก

นี่คือเสื้อยืดแบรนด์เฮียสด (Here! Sod) มันไม่ใช่ของใน Supermarket แต่อย่างใด  เค้ามีวิธีในการเพิ่มมูลค่า(Add Value) ผลิตภัณฑ์ด้วยบรรจุภัณฑ์(Packaging) ซึ่งวิธีการออกแบบนี้ นั้นจะสร้างการรับรู้แบบเดิมๆที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ โดยจะให้คิดว่ามันเป็นสินค้าเดิมๆที่เคยรับรู้ เช่น สินค้าเนื้อก็จะต้องมีการใส่ถาดโฟม หรือสิินค้าผักก็ต้องมีสายคาดและหุ้มด้วยพลาสติก แต่พอได้สัมผัส และได้สังเกตมันแล้วนั้นก็จะพบว่า มันไม่ใช่อย่างที่คุณคิด มันเป็นสินค้าอีกประเภทเสื้อ เพียงเท่านี้มันก็จะทำลายการรับรู้เดิมๆของคุณและสร้างความประทับใจกับคุณทันที เสื้อยืดแบรนด์เฮียสด(Here! Sod) นั้นยังสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้รับได้มากเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นมันยังสร้าง Impact ในการขาย โดยที่ Theme ของแบรนด์จะเป็นแนวของสดๆ ใหม่ๆ ซึ่งแบรนด์เสื้อยืดเฮียสด(Here! Sod)นี้ การันตีผลงานจากชาวต่างชาติมากมาย จากนิตยสารเมืองนอก และเว็บไซต์

คณะกรรมการของสมาคม PENTAWARD นั้นกล่าวว่า “เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เรียบง่าย จดจำได้ และทำลายการรับรู้แบบเดิมๆที่มีต่อบรรจุภัณฑ์เก่าๆอย่างสิ้นเชิง ต่อไปนี้เมื่อเขาไปซุปเปอร์มาร์เก็ตไปซื้อผัก เขาก็จะนึกถึงบรรจุภัณฑ์เฮียสด(Here! Sod T-shirt Packaging) ขึ้นมาเลย เยี่ยมยอดมากๆ”

น่าภูมิใจแทนคนไทย และต้องขอยกย่องความสามารถของคนไทยมา ณ ที่นี้ด้วย

เครดิต : ออกแบบโดย Prompt Design Team
สมชนะ กังวารจิตต์,ภัสสร ทรัพย์เจริญพันธ์,ชิดชนก เลาวหวัฒนากุล,มธุรดา เพชรานนท์
http://blog.pentawards.org/?p=4335
http://heresod.wordpress.com
http://www.prompt-design.com

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Idea Packaging ไอเดียเบียร์….สดจริงๆ

ณ วันนี้ชาว Packaging City ขอเข้ากระแสร้านเบียร์ที่กำลังมาแรงอย่าง Est.33 ซึ่งโดยปกติแล้วเบียร์นั้นเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่นิยมมากที่สุดทั่วโลกก็ว่าได้ และวิธีที่ดีที่สุดในการดื่มเบียร์อย่างสนุกสนานนั้น เราจะต้องดื่มกับกลุ่มเพื่อน ๆ คุณว่าจริงมั้ยล่ะ??

Turned Pale Ale เป็นเบียร์ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับการออกแบบสำหรับการพบปะเหล่านั้นจริงๆ และหลังจากคุณดื่มเบียร์ไปสัก 2-3 อึกนั้น ผู้คนจะเริ่มหาอุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีของพวกเขาในการสร้างความครื้นเครง ซึ่ง Turned Pale Ale นั้นตัวบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดตั้งแต่กล่องบรรจุไปยันฉลากจะบอกถึงวิธีการใช้งานเครื่องดนตรีของเบียร์ Turned Pale Ale จะเป็นอย่างไรต้องติดตามเลยทันที

Tuned Pale Ale : เบียร์ที่มากด้วยเสียงดนตรี

บรรจุภัณฑ์ของเบียร์ Turned Pale Ale นั้นจะสร้างเสียงดนตรีได้ เช่น ตรงขวดมีร่องด้านหลังเป็นลักษณะนูนขึ้นมา เพื่อสร้างเสียงเอกลักษณ์เฉพาะเมื่อคุณถูบนพื้นผิวของวัตถุอื่น สำหรับส่วนของฉลากนั้นจะมีทำนองและพิมพ์โดยระบุว่าจะต้องมีระดับของเหลวในขวดเท่าไรเพื่อสร้างเสียงดนตรีให้ตรงกับตัวโน๊ตนั้นๆ

ตัวบรรจุภัณฑ์ของเบียร์ Turned Pale Ale ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น มันยังสามารถสร้างกลองขนาดเล็ก โดยตีบนพื้นผิวที่มีร่องด้านใต้สูงต่ำไม่เท่ากัน ถือเป็นอะไรที่เรียบง่ายมากๆ การที่จะเกิดไอเดียอย่างนี้ขึ้นมานั้นตัวนักออกแบบเองเขาใส่ใจกับผู้บริโภคมากๆจนรู้ถึงพฤติกรรมนั้นๆจริงๆ ดังนั้นมันจึงเกิดงานนวัตกรรมนี้ที่สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ได้ไม่ยากเลยทีเดียว งานชิ้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานของนักออกแบบชื่อ Matt Braun เท่านั้น เค้าเองบอกว่าเขาหวังว่ามันคงจุดประกายบริษัททำเบียร์ให้หันมามองสิ่งเหล่านี้บ้าง

นี่ถือเป็นงานไอเดียชั้นยอดที่น่าสนใจ ที่สามารถใช้กลยุทธ์ของการดีไซน์ในการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า(Value Added)เลยทีเดียว

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

PENTAWARDS 2010 WINNER MUST SEE!!!!

กลับมาอีกครั้งแล้วสำหรับ PENTAWARD 2010 เวทีการประกวด Packaging นานาชาติจากทั่วโลก

ซึ่งปีนี้มีผลงานร่วมส่งเข้าประกวดมากมายจริงๆ หนึ่งในผลงานที่ได้รับรางวัล Best of Show ของงานครั้งนี้ ต้องยกนิ้วให้บริษัท ADK สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งผลงานมีแนวคิดอย่างไร มาเริ่มกันเลย

 

ขวด HOYU3210 ที่น่าอัศจรรย์นี้เป็นผลงานของนักออกแบบจาก ADK ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม WPP
HOYU นั้นคือบริษัทที่เชี่ยวชาญในเส้นผมและผลิตภัณฑ์แต่งผม ก่อตั้งในปี 1905 ซึ่ง HOYU ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาศักยภาพและความสามารถของสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวญี่ปุ่น
3210 หมายถึงการนับถอยหลังเพื่อระบุสิ่งที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะนำเสนอผู้บริโภคในไม่กี่วินาทีแม้มีความเครียดของสัมผัสการตกแต่งที่ผ่านมาก่อนที่จะไปออกทางออกที่ดีสำหรับทรงผมที่สมบูรณ์แบบจริงๆ

แตกต่างด้วยรูปร่างที่น่าสนใจเป็นเอกลักษณ์ และด้านการยศาสตร์ที่ดีเลิศ ทำให้ขวด HOYU3210 นั้นโดดเด่นจากหมู่คู่แข่งทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัย นักออกแบบเค้าสารภาพว่าเขาไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างรูปทรง เขาใช้มือของเขาขึ้นรูปเอง ใช้ดินทำแม่พิมพ์ และกระดาษทรายตกแต่ง
เลือกสีดำและสีขาวและความโปร่งใสเสริมสร้างความเรียบง่ายและความบริสุทธิ์ของบรรจุภัณฑ์ และข้อดีของขวดเหล่านี้คือจะไม่ถูกนำมาใช้ใหม่ แต่จะถูกเก็บไว้เป็นของตกแต่งในห้องอาบน้ำ

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us