Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

Somchana-Kangwarnjit-Dieline-Award-Winner-Packaging-Design

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลระดับโลก

Prompt Design บริษัทออกแบบแบรนด์อันดับ 4 ของโลกจากไทย คว้า 3 รางวัลจาก “Dieline Awards 2020” ด้วยอุดมการณ์ของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ “เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย! ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์”

กว่า 1,400 ผลงาน จาก 21 ประเทศทั่วโลก Prompt Design ได้รางวัลอันดับ 1 ถึง 2 รางวัล และอันดับ 3 อีก 1 รางวัล จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวทุ่งกุลาอินทรีย์ โดยหน้าบนเป็นวัสดุที่ผลิตจากแกลบ ปั๊มลายเป็นรูปเมล็ดข้าว ภายในเป็นกระสอบ สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์นี้แปลงร่างไปเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชูสวย ๆ ได้ด้วย

รางวัลที่ 1 อีกผลงานเป็นขวดน้ำแร่ของดอยช้าง ในชื่องาน 4 Life ที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกันของสัตว์ต่างๆ กับน้ำในธรรมชาติผ่านเส้นกราฟิกที่สื่อสารได้อย่างชาญฉลาด ส่วนผลงานที่ได้รางวัลที่ 3 เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งจากฟาร์ม Supha Bee Farm ผู้ผลิตน้ำผึ้งแค่ 1 ใน 2 รายในไทย ที่มีฟาร์มเลี้ยงผึ้งเป็นของตัวเอง เพาะพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งเอง สื่อสารโดยใช้กระดาษรังผึ้งมาเจาะช่อง เน้นความเป็นฟาร์มผึ้งอย่างชัดเจน


คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้ง Prompt Design กล่าวว่า “ผมแค่เสียดายในทุกๆครั้งที่ประกาศงานประกวดออกแบบ แล้วมีแต่ชื่อของประเทศอื่น ๆ ตอนนั้นผมได้แต่บ่นว่า อะไรวะ, ทำไมวะ ทำไมคนไทยจะทำแบบนั้นไม่ได้ หลังจากนั้นเลยไม่บ่น เสียเวลา เลยทำมันซะเลย …ผมก็เลยทำ และต่อสู้มาร่วมมากกว่า 20 ปี เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นี่คืออุดมการณ์ของผม”
Prompt Design เป็นบริษัทออกแบบสัญชาติไทย ที่ดังอยู่ในเวทีการออกแบบโลก คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแล้วมากมายรวม 74 รางวัล จากหลากหลายสมาคม อาทิ Dieline ของอเมริกา, Pentawards ของยุโรป, Red Dot ของเยอรมนี, IF Design Award ของเยอรมนี, Good Design Awards ทั้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย, Core 77 ของอเมริกา, World Brand Design Society ของอังกฤษ, Marking Awards ของจีน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนกระทั่งทางสมาคม World Brand Design Society จัดอันดับให้บริษัท Prompt Design เป็นบริษัทในอันดับ 4 ของโลกในปี 2019-2020

Cr.Room Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

ผม สมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design บริษัทออกแบบของไทยดีกรีรางวัลระดับโลก กว่า 60 รางวัล เมื่อปลายปีที่ผ่านมาผมได้ไปบรรยายในงานสัมมนา “SME NEXT TREND 2020” ของนิตยสาร SME THAILAND ในหัวข้อ “Thai Packaging Trend 2020” เกี่ยวกับเทรนด์บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 7 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและสินค้าของท่านได้

หลักการในการที่จะกำหนดเทรนด์ของผมเองนั้น มาจากประสบการณ์บวกกับการทดลองนำเทรนด์ต่างๆที่ได้ประมาณการณ์ไว้มาทดลองพิสูจน์ แล้ววัดผลดูว่ามันเป็นไปได้กับประเทศไทยๆอย่างเราๆกันหรือไม่ ผลปรากฎว่าได้ตรงตามที่คาดการณ์ไว้

มาเริ่มกันเลยครับ

  1. Mass Customization Packaging การทำความแตกต่างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอุตสาหกรรม เป็นเทรนด์ที่มี การนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น โค้ก ที่ทำแคมเปญพิมพ์ชื่อคนต่างๆ ติดอยู่ที่ฉลากกระป๋อง สำหรับในไทยเองแม้ไม่ใช่ Global Brand ก็สามารถทำได้ เช่น น้ำดื่ม Sprinkle ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ฉีดขวดสี เปลี่ยนจากขวดน้ำใสในตลาดน้ำดื่มธรรมดาทั่วไปที่ปกติจะเน้นโทนสีฟ้ามาใช้เป็นชุดสีต่างๆ ด้วยการไล่โทนและสร้าง Theme ขึ้นมาจากเรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนจากขวดน้ำใสๆ ธรรมดา มาสร้างสรรค์เป็นขวดน้ำที่น่าสะสม จากการสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ แถมขายในราคาเท่ากัน จึงไม่ยากที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคสนใจ และหยิบขึ้นมาทดลองได้ จากที่ไม่เคยติด Top 3 ในตลาด ยอดขายสามารถพุ่งกระฉูดขายดีได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเราสามารถพลิกแพลงจากในกระบวนการผลิตได้ ยกตัวอย่าง เช่น การฉีดสีขวดน้ำอาจมีขั้นต่ำในการทำครั้งละจำนวนมากๆ เช่น 1.5 แสนใบต่อ 1 เฉดสี ดังนั้น แทนที่จะทำหลากหลายสี เราสามารถสร้างธีมขึ้นมา แล้วเล่นเป็นทีละชุดสีก่อนก็ได้ เช่น โทนสีชมพูของดอกไม้ ได้แก่ กุหลาบ ทิวลิป คาร์เนชั่น เท่านี้ก็สามารถสร้างเรื่องราวและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
  1. Be Simple, Bold and Clear ปัจจุบันสินค้าในตลาดโดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ มีการใช้เฉดสีฉูดฉาด และ ภาพประกอบมากมาย เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า จนบางครั้งเมื่อนำมาวางเรียงอยู่ด้วยกันอาจสร้างความสับสนผสมปนเปกันไปหมด จนไม่สามารถมองหาจุดเด่นของสินค้าได้ ความเรียบง่าย น้อยแต่มาก สไตล์มินิมอล จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าออกจากแบรนด์อื่นๆ ได้ ยกตัวอย่าง “ไร่ไม่จน” แบรนด์น้ำอ้อยพรีเมียม ที่สามารถออกแบบแบรนด์และแพ็กเกจจิ้งได้แตกต่าง ด้วยตัวฉลากที่เรียบง่าย สีสันไม่ฉูดฉาด แถมยังออกแบบดีไซน์กระป๋องให้เหมือนกับปล้องอ้อยที่สามารถนำมาต่อกันให้ยาวเป็นลำต้นอ้อยขึ้นมาได้ สร้างความน่าสนใจ และสะดุดตาต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย จากที่ขายเรื่อยๆ ไม่เคยส่งออก การเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ครั้งนี้กลับกลายเป็นทำให้คว้ารางวัลระดับโลกมาได้มากมายกว่า 10 รางวัล ทั้งยังได้รับเชิญไปออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศ และมียอดการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามาอีกด้วย
  1. Culture Story การบอกเล่าคุณค่าที่มาของตัวสินค้า นับเป็นอีกวิธีที่น่านำมาใช้สำหรับแบรนด์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งนี่เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ SME สามารถต่อกรกับยักษ์ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดเดียวกัน แต่สามารถแยกออกมาเล่นในตลาดพรีเมียมที่มีขนาดเล็กกว่า แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยทำให้สินค้าขายได้ราคาและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องหาความแตกต่างให้ได้ เช่น แบรนด์ข้าว Healthy Food Healthy Life แทนที่จะแข่งขันอยู่ในตลาดแมส ก็อาจหันมาเล่นในตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อทำข้าวคุณภาพดีที่ใช้กระบวนการแตกต่างจากระบบอุตสาหกรรม โดยหันมาใช้วิธีแบบดั้งเดิมทั้งหมด เช่น ใช้ควายไถนา ใช้มือเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมที่เคยกินมา ซึ่งเมื่อสามารถสร้างความแตกต่างในกระบวนการผลิตและตัวสินค้าได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ก็ควรฉีกออกมาจากตลาด และต้องถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าที่เกิดขึ้นของแบรนด์ออกมาให้ผู้บริโภคได้รับรู้ด้วย
  1. Packaged Planet การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างหันมาทำกันมาก ขึ้น ซึ่งนี่เป็นโอกาสให้ SME สามารถนำมาใช้ทำตลาด และประยุกต์ใช้กับแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย เนื่องจากมีการโหมสร้างกระแสของแบรนด์ใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และเรื่องนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาเป็นกลยุทธ์ในทางธุรกิจกันมากขึ้น แต่ในแต่ละตลาดก็ยังมีช่องว่างอยู่ เช่น แบรนด์น้ำตาลมิตรผลที่ทำแคมเปญเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่น้ำตาลมาเป็นถุงกระดาษ เป็นต้น ซึ่งจากที่ขายราคาปกติ ก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นได้ แม้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยส่วนหนึ่งที่ได้ทำก็สร้างการจดจำและรับรู้ให้กับผู้บริโภคได้แล้วว่าหากพูดถึงแบรนด์น้ำตาลไทยที่ใช้ถุงกระดาษมาเป็นหีบห่อ ก็ต้องนึกถึงแบรนด์มิตรผลก่อน ดังนั้น ต้องหาช่องว่างที่ยังไม่มีใครทำให้เจอ ถ้าทำได้ ก็ตะโกนออกไปดังๆ แบรนด์ของเราจึงจะเป็นแบรนด์แรกที่อยู่ในภาพจำนี้ของลูกค้า
  1. New Experience จากสินค้าธรรมดา หากใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่าง สามารถสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่ลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบกล่องในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของแบรนด์ Diamond Grains กราโนล่าสายเฮลตี้ที่ออกแบบรูปแบบกล่องใส่สินค้า ซึ่งหากลองนำมาพับต่อกันจะสามารถเปลี่ยนจากกล่องธรรมดาให้กลายเป็นต้นคริสต์มาสใช้ประดับตกแต่งได้ จากตอนแรกที่คิดจะทำออกมาพิเศษเพียง 10,000 ใบ ผลปรากฏสามารถขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้หมดภายในวันเดียว ทำให้ต้องมีการพรีออร์เดอร์ และผลิตออกมาเพิ่มถึงกว่า 30,000-40,000 ใบเลยทีเดียว
  1. Collaboration กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน คือ การจับมือร่วมกันเพื่อสร้างแคมเปญหรือทำ กิจกรรมบางอย่างร่วมกันระหว่างแบรนด์ โดยไม่จำเป็นต้องไปจับมือร่วมกับแบรนด์ที่ทำสินค้าประเภทเดียวกันหรืออยู่ในตลาดเดียวกันเท่านั้น แต่สามารถจับคู่ระหว่างแบรนด์ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เพื่อสร้างความว้าว! ความสนุก สร้างสีสันให้เกิดขึ้นในตลาด โดยวิธีดังกล่าวนี้นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นน่าสนใจให้กับลูกค้าแล้ว ตัวแบรนด์เองจะกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมยังอาจได้กลุ่มลูกค้าของแบรนด์บัดดี้ที่ทำงานร่วมกันมาเพิ่มอีกด้วย เรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนลูกค้าซึ่งกันและกันที่น่าสนใจอีกวิธี และน่าจะเป็นที่นิยมไปต่อได้ในอีกระยะหนึ่ง
PurraXDesigner.jpg
  1. Smart Packaging วิธีการสุดท้าย บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งเป็นวิธีที่เริ่มมีการนำมาใช้กันมากสำหรับแบรนด์ใน ตลาดต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยอาจยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก เนื่องจากความไม่พร้อมของประชากรที่อาจยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนได้ทั่วถึงในทุกกลุ่ม เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับบรรจุภัณฑ์ได้ จึงอาจยังไม่เหมาะหากจะนำมาใช้สร้างตลาดในตอนนี้ แต่นับเป็นอีกวิธีที่หากทำได้จะสร้างความสนุก สร้างลูกเล่น และดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอีกเทรนด์ที่มาแน่นอน เพียงแต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย ณ ตอนนี้เท่านั้นเอง

ทั้งหมดนี้คือ 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ที่ท่านสามารถนำไปประยุกต์เป็นกลยุทธ์ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และการรับรู้ได้อย่างไม่ยาก ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะรู้ว่าเทรนด์มันมีประโยชน์ อย่างที่ผมทดลองนำไปใช้แล้วจริงๆ

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , ,

พี่ไทย…เป็นประธานกรรมการตัดสินงานออกแบบ Core77 Design Awards ระดับโลก

core77-design-awards-logo
core-77-award-trophy

ไม่ธรรมดาครับ น่าภูมิใจอีกแล้ว คนไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ..!!!

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์คนไทยที่ได้เป็นกรรมการตัดสินเคียงบ่าเคียงไหล่กับกรรมการระดับโลกหลากหลายสาขา อาทิเช่น ผู้ก่อตั้ง Airbnb, Designer จากรถ McLaren, นักออกแบบจาก Samsung Global, Creative Director จากหนังสือ NY Times, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จาก Airbus Group (โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของโลก) และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยของโลกทั้ง Cornell, Art Center College of Design, National Institute of Design เป็นต้น ถือได้ว่าเด็ดๆทั้งนั้น

somchana-jury-packaging-design-asia-world-core77-design-awards

Core77 Design Awards 2016 การประกวดงานดีไซน์ครั้งที่ 6 โดยเว็บไซต์ Core77 บล็อกดีไซน์ระดับโลกที่ครอบคลุมทุกสาขาของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงพื้นที่ Core77 ถูกพูดถึงในสิ่งพิมพ์ชื่อดังของอเมริกาอย่าง The New York Times และ PC Magazine และได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ และชุมชนออนไลน์ของเหล่าดีไซเนอร์และคนรักงานออกแบบอีกด้วย โดยการประกวดผลงานจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสาขาอาชีพการออกแบบทุกสาขา และความสามารถของนักออกแบบ

core77-design-awards-category

ในการประกวดครั้งนี้มีด้วยกันถึง 14 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีคณะกรรมการเฉพาะกลุ่ม โดยกรรมการเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น Hyuntaik Lim ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Samsung Global Design Europe เป็นกรรมการสาขาผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, Alexis Lloyd Creative Director ของ NY Times R&D Lab กรรมการสาขาการออกแบบ Interaction, Alex Alexiev นักออกแบบรถ McLaren, Joe Gebbia ผู้ก่อตั้ง Airbnb เป็นหัวหน้ากรรมการสาขา Service Design

และที่น่าภูมิใจสุดๆ ก็คือกรรมการจากประเทศไทย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design ได้คัดเลือกเป็น July Captain หัวหน้ากรรมการในสาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไปสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง

somchana-prompt-design-jury-design-awards-judgement-winner-packaging

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้ารอบในปีที่แล้ว ได้แก่ The Urban Post-Disaster Housing Prototype ผลงานเข้ารอบในสาขาการออกแบบสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแบบบ้านสำหรับหลังเกิดภัยพิบัติที่กลุ่มสถาปนิก Garrison Archi-tects ออกแบบให้กับสำนักงานจัดการภัยพิบัติฉุกเฉินของเมืองนิวยอร์ก เพื่อเป็นต้นแบบในการวางแผนรับมือภัยพิบัติในระยะยาว อีกหนึ่งผู้เข้ารอบในสาขานี้ คือ Museum of Future Government 2014 ผลงานของกลุ่มนักออกแบบ TELLART ที่ออกแบบให้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นการจัดแสดงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและอนาคตของรัฐบาลในรูปแบบนิทรรศการ

core77-design-awards-winner-gallery

การประกวดของ Core77 มุ่งหวังที่จะมอบโอกาสให้แก่นักออกแบบ นักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสในการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังผลงานของพวก เขา ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในลักษณะแบบไหนก็ตาม ตั้งแต่งานรับจ้างไปจนถึงโปรเจ็กต์ส่วนตัว เพื่อเปิดรับความหลากหลายในวงการดีไซน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์ วัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อม และการศึกษา

ติดตามชมคลิปวิดีโอของกระบวนการตัดสิน ของเหล่าคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน และผลงานการออกแบบหลากสาขาของผู้ชนะและผู้เข้ารอบได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ที่เว็บไซต์ http://designawards.core77.com

Cr. คิดสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Cr. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

นักออกแบบไทยระดับโลก กับความแตกต่างขั้นสุด ในงานTEDx Chiangmai 2016

TEDxChiangMai เป็นงาน TEDx ที่จัดขึ้นโดยอิสระ ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก TED หากแต่ว่า TEDxChiangMai เป็นมากกว่างานสัมมนาทั่วไป มันเป็นเวทีของ “ความคิดที่ ควรค่าแก่การเผยแพร่” จากบุคคลที่เคลื่อนไหวในแวดวงต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอแนวคิด ประสบการณ์ และการปฏิบัติจริง ภายใต้ TED = Technology, E = Entertainment, D= Design เทคโนโลยี, ความบันเทิง และ การออกแบบ

TEDxChiangMai_logo
Tedx Chiangmai Dare to 2016

TEDx ChiangMai ปี2016 มาในธีม “Dare to” กล้าที่จะ….
ซึ่งครั้งนี้มี Speaker จำนวน 22 ท่าน อาทิเช่น
คุณกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เเละอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คุณโจน จันใด ผู้บุกเบิกและก่อตั้งศูนย์พันพรรณ ชุมชนแห่งการพึ่งตนเอง
คุณสุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์ ประธานกรรมการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ BBDO Bangkok
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สจวท เจ ราช เป็นทั้งนักภาษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญหลายภาษา
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design
คุณโรส ซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ The Rainbow Room ศูนย์ความตระหนักเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ
คุณจันทน์ปาย องค์สิริวิทยา บุคลากรหลักของ WWF ประเทศไทย
คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ Startup
คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล จากธุรกิจบริษัท กล่องดินสอ จำกัด
นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ศัลยแพทย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

Somchana Packaging TEDx Prompt DesignSomchana-Prompt-Design-Packaging-TED-Talk3

Speaker หนึ่งในทีมงาน Packaging City ที่ติดตามเสมอมานั้น ก็คือ
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design ซึ่งในงานนี้หัวข้อที่คุณสมชนะ พูดถึง ชื่อว่า Recreate Packaging เนื้อหาคร่าวๆก็คือ “แกบอกถึงว่าโลกปัจจุบันที่ทุกคนพูดถึงการสร้างความแตกต่าง ซึ่งสำหรับผมความแตกต่างๆในโลกปัจจุบันมันใช้ไม่ได้แล้ว มันต้องสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุด” ในเนื้อหา 10 กว่านาทีนั้น แกมีให้ดูตาราง Differentiation Checklist ด้วย มันคือเครื่องมือไว้เตือนว่า เราสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุดแล้วรึยัง

Prompt Design Packaging Design World Thailand

Designing good packaging requires imagination, creativity, and knowledge about materials. To create packaging that stands out from the competition is not easy in a highly competitive market, but Somchana believes it is possible if one pushes oneself. He says that Thai companies often overlook the impact of packaging and should focus more on good packaging design to increase the value of their products in domestic and international markets.

Somchana Kangwarnjit Thailand Designer TEDx Talk Chiang Mai Somchana Kangwarnjit TEDx Talk Somchana Kangwarnjit Designer TEDx Talk 12804733_933056853468899_5815032402795486151_n Somchana Kangwarnjit Packaging Design manny pacquiao10271634_933061436801774_9095272322749282032_n

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Eye Tracking Technology

ปัจจุบันไม่ว่าจะบริษัทยักษ์ใหญ่ แบรนด์ดังทั้งหลาย ก็คลอดสินค้าใหม่แตกไลน์ผลิตภัณฑ์มากมาย นี่ยังไม่รวมแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยของชาว SME อีกนะครับ ถ้าให้ลิสต์รายการแบรนด์และสินค้าที่ออกใหม่คิดว่าคงจะใช้เวลาถึงปีหน้าก็ไม่รู้ว่าจะครบหรือเปล่า ก็มันมากมายมหาศาลจริงๆ นี่ครับ เอาละครับ!! วันนี้ผมจะมาแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิจัยการตลาดที่น่าสนใจให้กับทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันนะครับผม เริ่มกันเลยครับ…
การวิจัยทางการตลาด (Marketing Research) เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อนำไปปรับใช้และช่วยในการวางแผน การตัดสินใจในการผลิตสินค้าและบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
การวิจัยทางการตลาด มีหลากหลายมากครับ เช่น การสัมภาษณ์ แบบตัวต่อตัว แบบกลุ่ม การแจกแบบสอบถาม ทั้งออนไลน์ออฟไลน์ เป็นต้น โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็นสองประเภท คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) หรืออาจรวมใช้ทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ได้ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยว่าต้องการข้อมูลเชิงลึกหรือละเอียดแค่ไหน

shutterstock_186692354
นอกจากนี้ การวิจัยข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Eye Tracking ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกันครับ ถึงแม้ว่า Eye Tracking ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้วิจัยข้อมูลแบบใหม่ล่าสุด เพราะมีการใช้และพัฒนามาเรื่อยๆ เป็นหลายสิบปีแล้ว มีจุดเริ่มต้นใช้ในทางทหารและทางการแพทย์จนถึงปัจจุบันที่พัฒนามาใช้สำหรับการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค การวิจัยเกี่ยวกับการซื้อสินค้าในร้านค้า การวิจัยด้านโฆษณา การวิจัยทางด้านกีฬา การวิจัยด้านการขับขี่ และการวิจัยด้านการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น Eye Tracking เป็นเครื่องมือที่วัดผลเชิงการมองเห็น ใช้บันทึกพฤติกรรมการมองของจริงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้วัดผลว่าคนส่วนใหญ่มองกันอย่างไรครับ โดยการทำงานของ Eye Tracking จะตรวจจับปฏิกิริยาตอบสนองจากสายตาของผู้ใส่เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแว่นวัดผลได้แบบ Real time โดยจะจับความสนใจที่ผู้ใส่มองไปยังจุดต่างๆ

Tobii Glasses

market shelf tropicana

แบบ Heat Map

Visualizing_Analyzing_eye movement data

Gaze Plots (การพล็อตจุดเชื่อมกัน)

ตัวอย่างเช่น วัดผลการจัดวางผลิตภัณฑ์ใหม่บน Shelf แล้ววิเคราะห์จากการเคลื่อนไหวสายตาว่ามี impact กับผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง สนใจมองหรือเพ่งเล็งจุดไหนเป็นพิเศษ ทิศทางการมอง จุดไหนที่ไม่ได้รับความสนใจเลย โดยการข้อมูลที่แสดงก็จะอยู่ในรูปแบบ Gaze Plots (การพล็อตจุดเชื่อมกัน) แบบ Heat Map (วัดจากระดับความสนใจไล่ตามสเกลสี แดงคือได้รับความสนใจมากที่สุด) Clusters แบ่งกลุ่ม และ Areas of Interest (AOI) การกำหนดพื้นที่ที่สนใจ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันนะครับคงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยเลือกการวัดผลแบบไหนที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ ทั้งด้านการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เมื่อวางบน shelf ในแต่ละสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์คู่แข่ง การวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยเพื่อนำไปปรับแก้และพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ดังนั้น Eye Tracking ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลายในบริษัท FMCG ที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการแข่งขันสูง
ตั้งแต่เริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้พื้นที่และการจัดวางสินค้าบน Shelf ที่มีค่าใช้จ่ายในการวางสินค้าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถ้าไปวางในห้างหรือซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำที่มีโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ควรจะใช้การวิจัยทางการตลาดต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม เราควรจะทำอย่างไร ให้สินค้าของเราสามารถขายได้เอง ผ่านตัวแทนขายที่เรียกว่า บรรจุภัณฑ์ (Package) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์มาช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ ถ้าบรรจุภัณฑ์ใดได้รับการออกแบบที่ดีก็เปรียบเสมือนมีพลังวิเศษที่ทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าดูโดดเด่นมีออร่าเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถช่วยขับเคลื่อนแบรนด์สินค้า ถ่ายทอดและเชิญชวนไปยังผู้บริโภคดึงดูดให้มาหยิบมาจับมาเลือกซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำของแบรนด์ในที่สุด เพราะฉะนั้นการทำการวิจัยเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ก่อนที่จะออกสู่ตลาดนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการ นักการตลาดและนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรจะให้ความสำคัญเพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์และประเมินผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการได้อย่างตอบโจทย์โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
Herbal2herbal1

ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่ พีแอนด์จี หรือ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G: Procter & Gamble) จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคหลากหลายยี่ห้อ อาทิ แพนทีน โอเลย์ รีจ๊อยซ์ วิสเปอร์ เฮดแอนด์โชว์เดอร์ และอื่นๆอีกมากมาย ก็ใช้การวิจัยข้อมูลโดยใช้ Eye Tracking ช่วยประเมินผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Herbal Essences โดยให้ความเห็นว่าบางครั้งสิ่งที่ผู้บริโภคพูดกับปฏิกิริยาที่ตอบสนองออกมานั้นไม่เหมือนกัน การสัมภาษณ์หรือถามความคิดเห็นโดยตรงจากผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าที่วางบน shelf ก็เช่นกัน ผู้บริโภคมักจะตอบจากความคิดที่เกิดจากประสบการณ์หรือความทรงจำเก่าๆ มาช่วยตอบแสดงความคิดเห็น ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้น P&G จึงนำ Eye Tracking มาช่วยในการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยนำผลวิจัยจาก Eye Tracking มาพัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเปลี่ยนรูปทรงและฉลากดีไซน์ใหม่ทำให้ผลิตภัณฑ์ herbal Essences ในโฉมใหม่สามารถโดดเด่นมีจุดดึงดูดสายตามากขึ้นและสามารถช่วยเพิ่มยอดขายขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การวิจัยทางการตลาดก็เปรียบเสมือนเนวิเกเตอร์ที่จะช่วยประเมินทิศทางให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการว่าควรจะไปในทิศทางใด ไปทางไหนจะถึงเป้าหมายได้อย่างปลอดภัย ไปทางไหนจะเสี่ยงและเป็นอันตราย การวิจัยทางการตลาดก็สามารถเป็นทั้งเนวิเกเตอร์และถุงลมนิรภัยให้สินค้าและบริการของท่าน ถึงที่หมายหรือเป้าหมายได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่าแก่การเดินทางมากที่สุด
Cr. Smes Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

สมชนะ กังวารจิตต์ กรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS ปี 2015

ไม่บ่อยครั้งนักที่คนไทยจะผงาดในเวทีโลก โดยเฉพาะทางด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากว่าประเทศไทยเรายังไม่ได้เห็นคุณค่าของบรรจุภัณฑ์เท่าที่ควรเหมือนอย่างประเทศที่เป็นมหาอำนาจแล้วที่พัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเหตุที่ว่าตัววัตถุดิบสินค้าการเกษตรส่งออกไปขายทั่วโลกจะมีมูลค่าต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นเหตุที่ต้องมีการพัฒนาแปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่า และนำมาสร้างแบรนด์โดยการใส่บรรจุภัณฑ์สวยงาม จึงยิ่งทำให้มีมูลค่ามากขึ้นไปอีก
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design หนึ่งในกรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกผู้ทรงคุณวุฒิคนไทยที่ไปสร้างชื่อให้โลกอย่างแท้จริง กล่าวว่า “ตัวเขาเองมี Passion ในเรื่องบรรจุภัณฑ์มาก ทำให้เขาไปเปิดตลาดในโลก และเรียนรู้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าของสินค้าผ่านบรรจุภัณฑ์ เพื่อจะมาพัฒนาผู้ประกอบการไทยแบบยั้งยืนต่อไป และคุณสมชนะยังกล่าวต่อไปอีกว่า ยิ่งประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรมากมาย ทำให้เราควรที่จะต้องให้การตระหนักเรื่องการสร้างมูลค่าผ่านการออกแบบ เข้าไปอีก”
london-home-page-packaging-prompt-designriba1
ผลงานของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นั้นได้รับการยอมรับจากวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง Packaging City ได้เสนอเรื่องราวของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ ไปบ้างแล้ว ล่าสุด ณ กรุง LONDON ประเทศอังกฤษ จะประกาศรางวัลบรรจุภัณฑ์จากสมาคม PENTAWARDS หรือ สมาคมออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกโดยมี คุณสมชนะ กังวารจิตต์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในปฐพีนี้มี 13 ท่าน คือ
1. Gérard Caron – Chairman of the Pentawards, France
2. Somchana Kangwarnjit – Prompt Design, Thailand
3. Asa Cook – Design Bridge, UK
4. Moyra Casey – After Hours, UK
5. Isabelle Dahlborg Lindström – NINE AB, Sweden
6. Dayton Henderson – Global Design for Kimberly-Clark Corporation, USA
7. Takeshi Usui – Kanagawa – Pola Art Foundation, Japan
8. Anna Lukanina – Depot WPF, Russia
9. Sarah Moffat – Turner Duckworth, USA
10. Elie Papiernik – centdegrés, France
11. Gregory Tsaknakis – Mousegraphics, Greece
12. Jamie Stone – GSK, Singapore
13. Olof ten Hoorn – Cowan, Australia
Chaired by Gérard Caron-France, the truly International Jury of the 9th Pentawards is composed by 12 highly esteemed packaging designers and brand-owners.

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ข่าวล่าสุด! คุณ สมชนะ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกมือ 1 ของไทย ไปตัดสินอีกแล้ว

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก-สมชนะ หลังจากครั้งแรกที่ผ่านมา คุณแชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design กับการไปเป็นกรรมการ PENTAWARDS 2013 ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน มาปี 2014 นี้ คุณสมชนะ ได้รับเกียรติไปตัดสินรางวัลสุดยอดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของโลกอีกครั้งหนึ่งที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากประสบการณ์ในครั้งแรกนั้น คุณสมชนะ กล่าวว่า “เขาพบว่างานออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)ในโลกล้วนสุดยอดจริงๆ ผมประทับใจเรื่องแนวคิดกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ที่ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก มันเสมือนดั่งเป็นการคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทรงพลานุภาพมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศจึงเสมือนเป็นท่าไม้ตายที่สำคัญท่าหนึ่งเลยทีเดียว” Somchana_Jury_member_Pentawards2014 ซึ่งปี 2014 นี้ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ตัวแทนชาติไทย ก็จะไปตัดสินรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกอย่าง PENTAWARDS ณ กรุงโตเกียว ได้ข่าวคราวยังไง ทางเราจะคาบข่าวมาเรียนครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Eco-Packaging (บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม)

มีงานๆหนึ่งที่ชื่องานว่า Green Solution ซึ่งมีการบรรยายในหัวข้อ Eco Packaging ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและทุกๆควรต้องตระหนัก มันเรียกง่ายๆว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร มันตรงตัวอยู่แล้วครับ คือบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

eco-packaging

ทำไมต้องเพื่อสิ่งแวดล้อม….???

 

คืองี้ครับ ในอดีตตัวบรรจุภัณฑ์เองนั้นหน้าที่พิ้นฐานคือปกป้องสินค้า แต่พอเวลาผ่านไปบรรจุภัณฑ์เป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้แทนที่จะช่วยปกป้องสินค้าแต่กลับเป็นมลภาวะต่อโลกเองซะงั้น ผลการวิจัยพบว่า ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์นั้นมีมากมายขนาดว่า ภูเขากองขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือนั้น มีขนาดใหญ่กว่าประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 เท่า แม่เจ้า…มันเยอะจริงๆ นะครับขอบอก และยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละวัน วัวนับร้อย หรือสัตว์นับร้อยในอินเดียล้มตาย เพราะกินถุงพลาสติกที่ถูกทิ้ง อีกทั้งทั่วทั้งโลกทุกๆ 1 นาที มีการใช้ถุงพลาสติกไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ใบ และหากนำถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีมาเรียงต่อกัน จะเท่ากับระยะทางจากโลกไปกลับดวงจันทร์ถึง 7 รอบ นี่คือโลกของเราหรือเนี่ย มันเต็มไปด้วยขยะมากมายจริงๆ
“Living in the Angkor Hell”. Anlong Pi, Siem Reap. Cambodia. 2010-2013Photography: ©Omar Havana img_1592

แต่เดี๋ยว ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า สำหรับเมืองไทย โดยมากการทำอะไรเพื่อโลกนั้นจะต้องมีราคาแพงกว่าปกติเสมอๆ เช่น กล่องโฟม อาจจะใบละ 3บาท ใช้ไบโอชานอ้อยอาจจะอยู่ที่ 5-8 บาท เป็นต้น ฉะนั้นน้อยคนที่จะใช้ได้ แต่ไม่เป็นไร ผมจะประมวลหัวข้อสำคัญๆเพื่อให้ท่านตระหนักว่าในตัวบรรจุภัณฑ์ของท่านั้น ท่านจะช่วยโลกได้อย่างไรบ้าง

1. Materials ง่ายที่สุดคือการเปลี่ยนวัสดุ ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Coca-Cola ในต่างประเทศนั้นทยอยปรับใช้นวัตกรรมใหม่อย่าง PlantBottle ซึ่งก็คือ ขวดพลาสติก PET (polyethylene terephthalate) บรรจุเครื่องดื่มชนิดแรกที่สามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะขวด PlantBottle มีองค์ประกอบบางส่วนที่ได้จากพืช 30% ซึ่งตรงนี้ทาง Coca-Cola ได้ทอลองใช้ขวด PlantBottle ไปกว่า 14,000 ล้านขวดใน 24 ประเทศ เทียบเท่ากับลดปริมาณการใช้น้ำมันถึง 300,000 บาเรล ในอนาคตเป้าหมายขวด PlantBottle จะแทนขวดพลาสติกทั้งหมดภายในปี 2563

Print plantbottle2

 

มีอีกนวัตกรรมนึงของศาสตราจารย์ David Edwards ซึ่งคิดค้น “WikiCell” ขึ้นมาโดยได้แรงบันดาลใจจากเซลล์ธรรมชาติในผลไม้อย่างองุ่น ส้ม หรือมะพร้าว ที่มีเปลือกนอกห่อหุ้มเนื้อและของเหลวภายในมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ หากลองนึกถึงผลส้ม จะเห็นว่าเปลือกส้มนั้นทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนและย่อยสลายได้ในตัวเอง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องบรรจุใส่ในกล่องหรือถุงต่างหาก นอกจากนั้นเปลือกของมันยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย นวัตกรรมนี้ถูกจัดให้เป็น 32 นวัตกรรมเปลี่ยนโลกของนิตยสาร The New York Times เลยทีเดียว แต่สุดท้ายก็ต้องมีการพัฒนาอีกมาก
wikicell - outer shell.jpg David_Edwards_Wikicells Wiki-Cell-3-thumb-620x388-41873 wikicells-with-hand

2. Transport ก็เป็นวิธีหนึ่งที่หันหลังกลับไปมอง Logistic ของตนเองว่าในมุมบรรจุภัณฑ์จะช่วยปรับปรุงอะไรได้บ้าง เช่น บรรจุภัณฑ์ของสีทาบ้าน Dutch Boy จากเดิมที่เป็นกระป๋องเหล็กทรงกลม ก็ถูกปรับให้เป็นกระป๋องพลาสติกทรงเหลี่ยม ซึ่งข้อดีคือ ลดพื้นที่ว่าง ประหยัดพื้นที่ และเพิ่มพื้นที่รับแรงเมื่อกระป๋องเรียงต่อกันใน Pallet อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถุง Puma ที่จากกล่องเปลี่ยนมาเป็นผ้า ทำให้ลดพื้นที่ในการขนส่งได้
DutchBoyWhiteLead1Dutch Boy Twist & Pour

3. Use การใช้งาน ซึ่งไอเดียของมันคือสามารถนำมาใช้งานในอีกได้ เช่น ถุง Shopping Bag ของแบรนด์กางเกงยีนส์ Lee ซึ่งสามารถนำมาตัดต่อ ประยุกต์เป็นของอื่นๆได้, งานไอเดีย Re-Pack ซึ่งเป็นกล่องทั่วๆไป ที่มีไอเดียในการใช้ด้านในกล่องซ้ำอีกรอบหนึ่งก็ได้, หรืออาจะเป็นกล่อง eBay ที่ผลิตมาพิเศษ 100,000 ใบ โดยจัดการแจกคนที่ใช้การซื้อขายออนไลน์ แต่ที่เป็นไอเดียสำคัญคือ เขาออกแบบให้มีพื้นที่เขียนถึงคนข้างใน 6 ช่อง เพื่อที่ว่าพอคนส่งพัสดุเรียบร้อยแล้ว คนรับต่อก็สามารถไปใช้ Pack ของต่อๆกันได้ทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากร
lee-bag re-pack-packaging14949299457_09195245c6_oebay_box1

4. Disposal การจัดการขยะ หมายถึงอะไร ก็หมายถึงว่า ต้องมีการบ่งบอกถึงก็จัดการขยะ เช่น การแยกขยะตามวัสดุที่ใช้ทำตัวมันมาด้วยสี ด้วยภาพ เช่นทำสีถังขยะ

5. Manufacture ก็คือไปศึกษาถึงโรงงานผิดว่าเราจะพัฒนาอย่างไรบ้างในเชิงบรรจุภัณฑ์

6. Communication ก็คือ การสื่อสาร แล้วมันเกี่ยวอะไร มันเกี่ยวตรงที่ เราต้องสื่อสารความดีที่เราได้ช่วยโลกออกไปให้คนตระหนักมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Smoke Tissue มันทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนัก ถึงมลภาวะ โดยทำเป็นโรงงานก่อสร้างที่ปล่อยมลพิษควันออกมาโดยสอดคล้องกับทิชชู่ แล้วครูจะมาอีกนะ มันก็สื่อโฆษณานี่เอง แต่เราต้องถ่ายทอดให้ถูกจุด

smoke_tissue_case3 smoke_tissue_case4 smoke_tissue_case5

นี่เป็นหัวข้อเบื้องต้นในการเตือนถึงการสร้างบรรจุภัณฑ์แบบช่วยกันดูแลโลกให้เท่าที่ท่านจะสามารถทำได้ ช่วยได้ ท่านลองพิจารณาดูได้ครับว่าสมควรหรือไม่ แต่บางทีท่านอาจจะเอาจุดรักษ์โลกเป็นจุดขายแบบ น้ำดื่มน้ำทิพย์ ก็เป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ท่านทดลองไปประยุกต์นะครับ

เครดิต : SMEs Plus

Some content on this page was disabled on May 12, 2020 as a result of a DMCA takedown notice from Omar Havana. You can learn more about the DMCA here:

https://wordpress.com/support/copyright-and-the-dmca/

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , ,

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาค1 และ 2

Pentawardออกแบบบรรจุภัณฑ์2ออกแบบบรรจุภัณฑ์1ออกแบบบรรจุภัณฑ์3

จากหนังสือ SMEs PLUS
บทความ : เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาคที่1

สวัสดีครับ ผมสมชนะ กังวารจิตต์ กลับมาจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS 2013 ที่กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ถือได้ว่าเป็นคนไทยท่ามกลางกรรมการท่านอื่นๆจากตัวแทนประเทศมหาอำนาจโลกอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สวีเดน, เบลเยี่ยม, กรีซ,  ญี่ปุ่น, เกาหลี และ Prompt Design จากไทยแลนด์ ด้วยประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้นั้นมากล้นจริงๆ แต่หลักๆที่ได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการตัดสินที่ยากที่สุดในชีวิตผม มันเป็นการตัดสินผลงานที่มหาหินมาก  เนื่องจากว่าผลงานที่ส่งมาจากทั่วทุกมุมโลกนั้น ล้วนแล้วแต่ดีๆด้วยกันทั้งสิ้น แต่มีเพียงดาวจรัสฟ้าท่ามกลางหมู่ดาวเท่านั้นที่ได้รางวัล ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าชิ้นงานที่ได้รับรางวัลนะครับว่า ทำไมหนอ….เค้าจึงได้ (แต่พื้นที่ในการเขียนผลงานนั้นมีจำกัด ผมจึงขอทยอยเขียนนะครับท่านผู้อ่าน^^) เริ่มกันเลย

Absolut Unique Packaging Design

absolut4millionbottles-3750858

ผลงานแรกที่ได้รางวัลนั้นเป็นผลงานของ Absolut Vodka ชื่อว่า Absolut Unique เค้าบอกว่า “พวกเขาไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงทำมัน” Mark Twain กล่าว นี้คือความจริงอย่างแน่นอน

ของบริษัท Family Business ที่อยู่เบื้องหลังความคิด แนวคิด การพัฒนาโปรเจ็คนี้ บนพื้นฐานการผลิต Absolut Vodka 4 ล้านขวดโดยแต่ละขวดไม่ซ้ำกันเลย ขอเกริ่นนิดนึงก็คือว่าแต่ละปีนั้น Abosolut Vodka ได้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในการออกสินค้ารุ่น Limited Edition ที่ผ่านมาก็เช่น Absolut Disco, Absolut Rock, Absolut Masquerade, Denim, 100, Bling-Bling, Miami, No Label และอีกมากมาย

แต่ในปี 2012 จะเป็นการกำหนดให้คำจำกัดความใหม่ของคำว่า Limited Edition แบบเดิมๆที่ทำกันมาก็คือ ทำสินค้ามาพิเศษสักรุ่นหนึ่งสั่งผลิตเหมือนๆกันโดยอาจจะกำหนดว่าผลิตกี่ชิ้นก็ว่ากันไป  แต่งานของบริษัท Family Business ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เค้าอยากให้ทุกๆขวดนั้นไม่ซ้ำกันเลยสักขวด และผลิตไม่น้อยกว่า 4 ล้านชิ้น เพื่อให้แต่ละขวดกลายเป็น Limited Edition ในตัวของมันเอง แม่เจ้า!!!!! มันไม่ง่ายเลย!!!!! มันเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก มันเป็นความท้าทายที่เป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับ Family Business และ Absolut ไม่คิดเช่นนั้น ทางออกเค้าก็แค่ทำงาน ทำงาน ทำงานให้หนักขึ้น ให้มากขึ้น ทุ่มความคิดสร้างสรรค์ และความรักลงไป แนวคิดเค้าก็คือ เข้าไปปรับในสายการผลิตให้มีความสามารถในการผลิต 4 ล้านขวดที่แตกต่างกัน ซึ่งทางบริษัท Family Business นั้นได้วางแนวทางของเครื่องจักรให้สอดคล้องกับลวดลายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พ่นสี, ปาดสี, สะบัดสี เมื่อขวดวิ่งไปในสายการผลิตขวดนั้นจะถูกเครื่องจักรสุ่มลวดลายต่างๆ จึงได้ออกมาแตกต่างกัน บ้างก็แตกต่างกันที่การพ่น การสะบัด การปาดเมื่อวางขาย ผลก็คือเกือบ 4 ล้านขวดถูกขายก่อนที่จะสิ้นสุดแคมเปญโปรโมชั่นโดยไม่ต้องลดราคาแต่อย่างใด พันธกิจที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ทำให้สำเร็จได้ ถือว่ามหัศจรรย์มากๆ ต้องยกนิ้วให้เลย

master.budweiser_perspective_12_cansANHEUSER-BUSCH BUDWEISER BOWTIE CANColin-Joliat-Budweiser-Bowtie

ผลงานชิ้นต่อมาที่ได้รางวัลคือ Anheuser-Busch InBev มหาอำนาจองค์กรผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของโลกส่งแบรนด์ Budweiser มาเข้าชิง การที่จะทำแบรนด์ให้โดดเด่นจากคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะใช้สี ใช้ชื่อแบรนด์ ใช้รูปร่างรูปทรง แต่ในโลกของเบียร์นั้นที่ขายในบรรจุภัณฑ์กระป๋องส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันทั้งโลก ซึ่งมันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสร้างความแตกต่าง หรือสร้างความโดดเด่น  แต่นี่คือสิ่งที่ทีมงานฝั่งสร้างสรรค์กับฝั่งวิศวกรรมของบริษัท Metaphase Group ที่นำเสนอการสร้าง Budweiser ให้เป็น “กษัตริย์ของเบียร์” อย่างแท้จริง โดยการสร้างกระป๋องให้มีรูปร่างเหมือนผูกโบว์ การใช้องค์ความรู้ ความท้าทายทางเทคนิคในการผลิตกระป๋องในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงMetaphase Group เท่านั้นที่จะทำได้ ซึ่งผลออกมาทำได้ค่อนข้างดีมาก มันตอบวัตถุประสงค์ได้หลายข้อ เช่น การสร้างความน่าสนใจความแตกต่าง การใช้งานตอบสนองต่อการยศาสตร์(Economic) เป้าหมายของ Budweiser  ก็คือเมื่อมันมาอยู่ในมือคุณแล้วมันจะส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้เข้าใจได้ว่า แบรนด์ได้ถูกจัดการระบบและเพิ่มมูลค่าเข้าไป เพราะด้วยรูปทรงที่แตกต่างของกระป๋องนั้นสอดคล้องกับตัวตราสัญลักษณ์อีกด้วย ไม่มีอะไรที่ดีกว่าแนวทางนี้อีกแล้วแน่นอน รับรอง!!!!

Tiger-nuts-smoky-bacon-and-sweet-chilliTT 300-185 (Sept. 2011)walkers tiger nuts packs

มาถึงชิ้นต่อมา ถ้าพูดถึงในโลกของมันฝรั่งทอดกรอบและถั่วที่ขายอยู่ในถุงนั้นมันจำเป็นที่จะต้อง “โดดเด่น” ซึ่งการแข่งขันจากแบรนด์ระดับชาติ และ House Brand นั้นช่วยผลักดันให้เกิดข้อจำกัด Walkers (ที่รู้จักกันในแบรนด์มันฝรั่งแผ่นเลย์) เป็นผู้นำตลาดใน มันฝรั่งทอดและพยายามจะทำอย่างนั้นกับตลาดถั่วเหมือนกัน เพื่อเป้าหมายบริษัท Design Bridge ได้จัดการสร้างตัวแทนของใบหน้าของเสือโคร่ง โดยมีคำว่า Tiger Nuts ซ่อนอยู่ เป็นการออกแบบที่เล่นกับการรับรู้แบบซ่อนเร้น ลวงตา ถือว่าฉลาดมาก ถือว่าสร้างสรรค์และโดนใจเลยทีเดียว

นี่ถือเป็นผลงานส่วนหนึ่งที่ได้รางวัลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก มันน่าสนใจมากๆ อย่างน้อยๆมันคงจุดพลังไฟของท่านให้ลุกติดขึ้นใหม่อีกครั้ง ผมเชื่อแหละครับว่า การทำอะไรให้ปนะสบความสำเร็จตามเป้านั้น ไม่ยากหรอกครับ เพียงแค่มีความเชื่อมั่นว่าเราจะต้องทำมันได้ ทำมันให้สำเร็จ ท่านก็จะเดินไปสู่เส้นชัยในการประสบความสำเร็จระดับประเทศ และสู่ระดับโลกในที่สุด ถึงวันนั้นท่านจะภูมิใจในความเป็นไทยผงาดในโลกจริงแบบผม ขอบคุณครับ^^

มาต่อกันภาคที่ 2 เลยครับผม

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลก(บรรจุภัณฑ์) ภาค2

ถ้าหลายๆท่านยังงงว่าผมพูดเรื่องอะไรนั้น ก็คือว่ายังงี้ครับ ขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆ คือผม สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design ได้มีโอกาสไปตัดสินรางวัลบรรจุภัณฑ์ของโลกอย่าง PENTAWARDS ประเทศสเปนมาครับ ผมเลยจึงอยากมาเล่าประสบการณ์ดีๆ แรงบันดาลใจผ่านผลงานดีๆ ให้ท่านได้รับทราบกันครับ

มาที่ผลงานกันเลยดีกว่าครับ…!!!!

Strong-Packaging-Design-Idea

ผลงานที่ได้รางวัลต่อจากครั้งที่แล้วอันนี้น่าสนใจมาก ชื่อแบรนด์ว่า Strong ซึ่งทำอาหารเสริมต่อสุขภาพหรือเค้าเรียกกันว่า Nutriention Supplements บริษัทที่ดูแลก็คือ Pearlfisher จากประเทศอังกฤษ เค้าได้สร้างทั้งหมดของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น กลยุทธ์, การตั้งชื่อ, ตัวตนของบรรจุภัณฑ์ แม้กระทั่งวิธีการขาย เรียกได้ว่าดูและทั้งหมดกันเลยทีเดียว แบรนด์ Strong นั้นผลิตจากวัตถุดิบที่คุณภาพสูงมาก และสดใหม่ พัฒนาเพื่อให้เข้ากับคนรักสุขภาพ คนที่รักความสวยความงามในระดับลึกถึงเซลล์ คนที่ต้องการความกระชุ่มกระชวย และความเยาว์วัยเป็นต้น

Strong-illustration-Packagingstrong

โดยเป้าหมายก็คือ จะสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่างท่ามกลาง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนานาแบรนด์ในท้องตลาด ซึ่งต้องชื่นชมในตัวแนวคิดของทางบริษัท Pearlfisher ที่ว่า “Beauty from within” ก็คือความงามจากภายใน ซึ่งเค้าใช้วิธีการเปรียบเปรยด้านอารมณ์โดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวแทนการสื่อสาร ผ่านสัตว์ปีกทั้งหลาย เช่น นก, นกฮูก, ม้าเปกาซัส เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะมีสิ่งที่อ้างถึงสรรพคุณของอาหารเสริมแบบเปรียบเปรยได้ อาทิ นกฮูก-สมอง, ม้าเปกาซัส-ความแข็งแรง โปรตีน, นกขมิ้น-ความกระจ่าง เป็นต้น Dan Dittmar หนึ่งในกรรมการได้ให้ความเห็นกับงานนี้ไว้ว่า “เป็นงานที่สร้างเอกลักษณ์และความโดดเด่นในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ลักษณะเช่นนี้แหละคืองานที่พร้อมที่ก้าวไป”

บรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานที่ได้รางวัลต่อมา อันนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผลงานจาก Studio Kluif ก็คือ

JEROHnimus ภาษาไทยอ่านว่า จีโรนีมัส เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ เช่น หมอน, จาน, แจกัน และของตกแต่งบ้าน เค้าได้แรงบันดาลใจจากผลงานของจิตรกรชาวดัตช์ Hieronymus Bosch (คศ. 1450-1516) ซึ่งงานของเขาคนนี้เป็นที่รู้จักกันในรูปแบบงานแปลกๆ ดูลึกลับ, เซอร์เรียล(เหนือความเป็นจริง) ซึ่ง Studio Kluif ก็ได้นำแรงบันดาลใจจากจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่นี้ในการสร้าง Serie ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในบรรยากาศที่โดดเด่นสไตล์ภาพวาดของ Hieronymus Bosch ผลงานออกมาน่าสนใจมากมันคือสไตล์ที่เด่นชัดในรูปแบบแนวทางความร่วมสมัยผ่านรูปภาพที่งดงาม เป็นการเชื่อมกันระหว่างความมั่งคั่งในอดีตผสานกับความสดใสของอนาคต Gerard Caron หนึ่งในกรรมการกล่าวว่า “มันเตะตามาก นี่แหละคือภารกิจของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งพิเศษอย่าง ศิลปะ กวี และความขำขัน ที่นำมารวมกันได้กลมกล่อม”

ออกแบบบรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานสุดท้ายที่ได้รางวัลคือผลงาน THE BALVENIE 50 เป็นวิสกี้ครบรอบ 50 ปี โจทย์ที่ได้รับของทางบริษัท Here Design ประเทศอังกฤษ คือต้องการสร้างบรรจุภัณฑ์พิเศษ และไอพิเศษที่ว่านี้คือมอลต์อายุกว่า 50 ปี ซึ่งออกมาเพื่อเฉลิมฉลองการทำงานของปรมาจารย์แห่ง Balvenie Malt ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญวิสกี้ทั่วโลกถึงความสามารถของเขาเขาผู้นั้นชื่อว่า David Stewewart ตัวเขาเองเขาได้อุทิศตัวของเขาทั้งหมดในชีวิตในการกลั่นมอลต์ แน่นอนที่สุดเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา วันที่เด็กฝึกงานคนนี้อายุเพียง 17 ปี ได้เข้าร่วมโรงกลั่นกับทาง Balvenie ด้วยความมานะทำให้เขามีผลงานอันเลื่องชื่อก็คือการเปิดตัวถังมอลต์ที่หายากที่สุดของ Balvenie ในปี 1962 ถือเป็นอีกหนึ่งที่สร้างชื่อก็ว่าได้ มันสามารถกลั่นได้ทั้งหมดแค่ 88 ขวด สนนราคาอยู่ที่ £ 20,000 ต่อขวด ก็ประมาณ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง

11326-Balvenie50_0140

จากการอุทิศตนของ David Stewewart นั้นทำให้เขาได้ร่วมมือกับ Sam Chinnery นักทำเฟอร์นิเจอร์ทำตู้มือฉมังชาวสก็อตแลนด์ สร้างกล่องพิเศษที่เป็นสัญลักษณ์ 50 ปี ซึ่งมีไม้ 49 ชั้นต่างสายพันธุ์ เช่น ไม้วอลล์นัท ไม้โอ๊ค ไม้แอช เป็นต้น นำมาวางซ้อนกันอย่างงดงามทำให้เกิดผิวสัมผัส และลายไม้ด้านข้างของกล่องที่ดูแปลกต่างและมีระดับ และมีหนึ่งชั้นที่ทำจากทองเหลืองสลักเรื่องราวปิดไว้

Balvenie-Golden-1-e1357663025238 BV50_Prototype2_Visuals_v1.1

ตัวขวดแก้ววิสกี้นั้นใช้งาน Handcraft ด้วยกรรมวิธีการการเป่ามือด้วยความพิถีพิถัน และติดป้ายกับวันผลิตวิสกี้ หมายเลข Limited Number และลายเซ็นของ David Stewewart ด้านใต้ของแต่ละขวด ทำให้ THE BALVENIE 50 จึงเป็นงาน Limited Edition ที่ทรงพลังมากๆ

maxresdefault

 

Isabella Dahlborg หนึ่งในกรรมการบอกว่า “49 ชั้นนั้น มันพูดทุกๆอย่างด้วยตัวมันเอง ทั้งไอเดีย, ทั้งคุณภาพ, ทั้งการครบรอบ ถือเป็นวิสกี้ที่ยอดเยี่ยมมากๆ จนฉันอยากจะดมมันแล้วล่ะสิ”

3 งานยอดเยี่ยมของโลกนี้ผ่านหลายด่านกว่าจะได้รางวัล มันไม่ง่ายครับที่เราจะเป็นหนึ่งในวงการบรรจุภัณฑ์โลก ซึ่งจากการที่ผมได้ตัดสินพบว่ามีงานดีๆอีกหลายงานที่ควรได้ แต่ แต่นะครับขอย้ำ เหตุที่ผมและกรรมการท่านอื่นๆไม่เลือกเพราะ มันดี แต่ไม่ดีที่สุด เราต้องการงานที่ดีที่สุดเท่านั้น เหมือนกับลูกค้าเราก็เหมือนกัน เขาต้องการสินค้าที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพียงแค่ท่านพัฒนาสินค้า ลบจุดอ่อน จุดบกพร่อง เสริมจุดแกร่ง แต่ที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ เติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปเท่านี้สินค้าท่านก็จะยืนท่ามกลางคู่แข่งได้อย่างไม่กลัวใครแล้วครับ แล้วยังไงผมก็ไม่ทิ้งท่านแน่นอนครับ^^

เครดิต : SMEs Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us