Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทึ่ง!!! น้ำดื่ม C2 Water น้ำดื่มที่คว้ารางวัลมากที่สุดในโลก

น้ำดื่มซีทรู คือ น้ำดื่มที่ไร้ฉลากเจ้าแรกในประเทศไทย ที่ได้รางวัลระดับโลกมากถึง 11 รางวัล ออกแบบโดย Prompt Design

กรรมการระดับโลกพูดถึงผลงานนี้ว่าอย่างไรบ้าง???

“A stunning, tactile, eco design. This is a very effective piece of packaging design for ‘no label’ bottled water driven by deep consumer insight. The clever design details and wonderful execution make this a standout entry in this category. Well done.”

“น่าทึ่งมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่มีฉลาก ซึ่งล้วนวิเคราะห์มาจากข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดและยอดเยี่ยม จึงทำให้รายการนี้โดดเด่นในหมวดหมู่ ยอดเยี่ยมมาก”

วิธีคิด และคำอธิบายผลงาน :
หลังจากที่พวกเราเก็บข้อมูลในมุม Consumer Insight ของผู้บริโภคมาแล้วพบว่า การทำขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฉลากนั้น จะเกิดปัญหาทั้งหมดอยู่ 2 อย่าง ก็คือ 1. ตำแหน่งรายละเอียดข้อมูลทางโภชนาการและส่วนผสมต่างๆตามกฎหมาย และรายการบาร์โค้ดที่จะต้องใช้ในระบบพวกห้างต่างๆ 2. ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ดีไซน์ที่ไม่มีฉลากนั้นดูเสมือนว่า มันเป็นมันเป็นเพียงการลดต้นทุนและปลอมตัวมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม มันดูไม่คุ้มค่ากับเค้าเลย

พอเราเข้าใจถึง Consumer Insight แล้วเราจึงมาใช้ดีไซน์ในการแก้ปมปัญหาของทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.เรานำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นตามกฎหมายมาใส่บนตัวขวดด้วยวิธีการปั๊มนูน Emboss และเรานำบาร์โค้ด มาสกรีนลงบนฝาขวด 2. เราเจตนาที่จะสร้างลวดลายให้สวยงามเป็น Collection ต่างๆ และเล่าเรื่องถึงผลกระทบที่ได้จากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาสัตว์ต่างๆ ที่มีความสุขท่ามกลางธรรมชาติที่ดีของพวกเขา ทั้งบนบก, ในทะเล, บนท้องฟ้า และในหิมะ เช่น กวางที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์, หมีขาวที่อยู่ในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ มาเล่าเรื่องผ่านลวดลายปั๊มนูนบนขวดน้ำที่น่าสนใจมากๆ

ชื่อของแบรนด์น้ำดื่ม C2 มีที่มาจาก See Through หรือ Circular Economy + 2gether สะท้อนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการของแบรนด์นี้


แบรนด์น้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label ถูกตีพิมพ์ในนิตรสารดังของประเทศอังกฤษ อย่าง ECO PLASTIC IN PACKAGING : October 2022 และ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือดีไซน์ของอิตาลี BEST IN PACKAGING 2021


รวมถึงน้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label จะไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ MODA (Museum of Design Atlanta) USA ซึ่งนิทรรศการที่จะไปจัดแสดงนั้นเกี่ยวกับ “food packaging design”,”การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร” จัดที่ MODA Museum of Design Atlanta (Atlanta, USA) ซึ่งนิทรรศการนี้ Curate โดย Elisabetta Pisu และ Amina Pereno นักวิจัยที่ POLITECNICO OF TURIN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคดิจิทัล นิทรรศการที่ Atlanta นี้ จะเป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การค้นพบวัสดุที่เป็นจุดเริ่มต้น รวมถึงจุดเปลี่ยนในการปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ไปสู่อนาคต (ทั้งบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ, ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหาร)

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ยกระดับกัญชาทำยังไง?

มูลค่าของตลาดกัญชานั้น ตลาดมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ ในอีกห้าปีข้างหน้า แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าควรต้องมีการออกแบบอย่างระมัดระวังมาก เพราะเพื่อให้แน่ใจว่าการสื่อสารออกมานั้นจะไม่ได้รับผลกระทบในทางเชิงลบของกัญชา

ในฐานะนักประวัติศาสตร์และนักมนุษย์วิทยาทั่วโลกจะยืนยันได้ว่ามนุษย์ที่ใช้กัญชาไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ประวัติความเป็นมาของพืชสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงเวลานับพันปีที่ผ่านมายังได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางสำหรับคุณสมบัติทางโภชนาการและคุณสมบัติทางยา แต่ในอีกมุมหนึ่งกัญชาเองมีคุณสมบัติทางจิตที่หลอนประสาท

ด้วยเหตุนี้โรงงานกัญชาได้เป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองมานานหลายศตวรรษ แต่ความพยายามในการฟื้นฟูชื่อเสียงของกัญชาได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เพิ่มขึ้นที่กำลังมองหากฎหมายให้ถูกต้องสำหรับกัญชาเพื่อคุณสมบัติของยา และถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกัญชาก็คือ cannabidiol (CBD)

CBD มันเป็นวิธีการรักษาที่สามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่นความวิตกกังวล, สิว, อาการชัก และวัยหมดประจำเดือน ที่ได้มาจากโรงงานสารสกัดกัญชาได้รับการตอบรับทั่วโลกด้วยมูลค่าของตลาด CBD อังกฤษที่ตั้งมูลค่าไว้ถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ในปี 2568

ในโลกปัจจุบันในหลากหลายประเทศ ยังมีอยู่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. กลุ่มคนที่เปิดรับเรื่องคุณสมบัติของกัญชา กับ 2. คือกลุ่มคนที่ปฏิเสธเรื่องกัญชา และมองว่า มันคือ ยาเสพติด มันคือ บ้อง หรือ ท่อกัญชา

ทางออกของวงการนี้คือ

Case Study ที่ 1 คือ

ต้องทำให้“ ดึงดูดสายตา แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาพ”

Seed Change เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้แพทย์และผู้ป่วย โดยใช้กัญชาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาแบบองค์รวม โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานทางการแพทย์ และนำวิธีการตามงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์มาใช้ เริ่มต้นคือ สร้างชื่อใหม่เป็น ‘Seed Change’ เพื่อเป็นตัวแทนของกระบวนการคิดของแบรนด์ ว่าจากยาเสพติดที่มีผลเชิงลบ มาเป็นเพื่อทางเลือกในการรักษาเชิงบวก แคมเปญนี้ และกลยุทธ์ของแบรนด์ การวางตำแหน่งและข้อเสนอการออกแบบตัวตนหลักประกันและเว็บไซต์เริ่มต้น

แนวทางการออกแบบนั้นมีความกล้า และการคิดบวก – ยอมรับในเจตนาของแนวคิดเรื่องยาเสพติดของพวกเรา สื่อสารออกมาในตัวตนที่สะอาดตา น่าเชื่อถือ  สีสันทันสมัย ผลลัพธ์ที่ได้คือ เป็นการสื่อสารที่น่าสนใจ และทรงพลังมาก ผู้คนให้ความเชื่อถือทั้งกลุ่มคนที่เชื่อในตัวกัญชาเองอยู่แล้ว และกลุ่มคนที่ปฏิเสธกัญชา

Case Study ที่ 2 คือ

ต้องทำให้ “พรีเมี่ยม หรูหรา และยังสุขภาพอยู่”

สตูดิโอออกแบบของแคนาดา McKinley Burkart ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ The Botanist ได้แรงบันดาลใจโรงเรือนกระจกสมัยศตวรรษที่ 19 ตกแต่งด้วยผลงานไม้ที่ผสมผสานความเป็นวิทยาศาสตร์ในโลกของธรรมชาติ ออกแบบมาอย่างหรูหรา มันทำให้ผู้คนรู้สึกสบายใจในสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ความยากของการทำงานในเส้นทางนี้คือ ต้องทำให้ถูกกฎหมายทุกประการ “เราไม่สามารถแสดงภาพของโรงงานกัญชาได้” ผลลัพธ์ก็คือร้านนี้ จะมีแผนขยายในปี 2563 อีกด้วย และกำลังจะเปิดพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าหรู มีอุปกรณ์หรู และประสบการณ์หรูๆอีกมาก

ถือได้ว่า เป็นการสร้างวัฒนธรรมการค้าขายกัญชาอีกทางนึง โดยให้วิถีชีวิตของคนที่เข้ามานั้นเป็นคนที่มีความรู้ มีไลฟ์สไตล์ และมีระดับ เสมอดั่งการดื่มไวน์

ดังนั้นสรุปการสื่อสารของสินค้ากัญชานั้น ต้องมีการทำการบ้าน เพื่อจะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่ง อย่างที่ยก Case Study แล้วว่า ทางออกคือไม่ควรสื่อสารในภาพลักษณ์เดิมๆ แต่ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับตลาดต่างๆที่เราสนใจ

Filed under: Other, , , , , , , , , , , , , , , , , ,

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

รายการ PERSPECTIVE ชวนคุยไอเดียมันส์ๆ กับ คุณ สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

ตัวเต็มรายการ PERSPECTIVE พบกับมุมมองของ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน 3 ปี มาร่วมศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เขาใช้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้เขายังแบ่งปัน 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปี 2020 ติดตาม เปอร์และแชมป์ ได้เลยครับ

This week on PERSPECTIVE, meet Somchana Kangwarnjit, Prompt Design a packaging designer who had won multiple world-class awards for 3 years in a row. Delve into the details on the strategy he uses that meets the needs of the consumers. He also shares with us the 7 most popular product trends of 2020. Follow Per and Champ to survey the market to keep yourself updated.

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

ผม สมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design บริษัทออกแบบของไทยดีกรีรางวัลระดับโลก กว่า 60 รางวัล เมื่อปลายปีที่ผ่านมาผมได้ไปบรรยายในงานสัมมนา “SME NEXT TREND 2020” ของนิตยสาร SME THAILAND ในหัวข้อ “Thai Packaging Trend 2020” เกี่ยวกับเทรนด์บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 7 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและสินค้าของท่านได้

หลักการในการที่จะกำหนดเทรนด์ของผมเองนั้น มาจากประสบการณ์บวกกับการทดลองนำเทรนด์ต่างๆที่ได้ประมาณการณ์ไว้มาทดลองพิสูจน์ แล้ววัดผลดูว่ามันเป็นไปได้กับประเทศไทยๆอย่างเราๆกันหรือไม่ ผลปรากฎว่าได้ตรงตามที่คาดการณ์ไว้

มาเริ่มกันเลยครับ

  1. Mass Customization Packaging การทำความแตกต่างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอุตสาหกรรม เป็นเทรนด์ที่มี การนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น โค้ก ที่ทำแคมเปญพิมพ์ชื่อคนต่างๆ ติดอยู่ที่ฉลากกระป๋อง สำหรับในไทยเองแม้ไม่ใช่ Global Brand ก็สามารถทำได้ เช่น น้ำดื่ม Sprinkle ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ฉีดขวดสี เปลี่ยนจากขวดน้ำใสในตลาดน้ำดื่มธรรมดาทั่วไปที่ปกติจะเน้นโทนสีฟ้ามาใช้เป็นชุดสีต่างๆ ด้วยการไล่โทนและสร้าง Theme ขึ้นมาจากเรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนจากขวดน้ำใสๆ ธรรมดา มาสร้างสรรค์เป็นขวดน้ำที่น่าสะสม จากการสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ แถมขายในราคาเท่ากัน จึงไม่ยากที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคสนใจ และหยิบขึ้นมาทดลองได้ จากที่ไม่เคยติด Top 3 ในตลาด ยอดขายสามารถพุ่งกระฉูดขายดีได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเราสามารถพลิกแพลงจากในกระบวนการผลิตได้ ยกตัวอย่าง เช่น การฉีดสีขวดน้ำอาจมีขั้นต่ำในการทำครั้งละจำนวนมากๆ เช่น 1.5 แสนใบต่อ 1 เฉดสี ดังนั้น แทนที่จะทำหลากหลายสี เราสามารถสร้างธีมขึ้นมา แล้วเล่นเป็นทีละชุดสีก่อนก็ได้ เช่น โทนสีชมพูของดอกไม้ ได้แก่ กุหลาบ ทิวลิป คาร์เนชั่น เท่านี้ก็สามารถสร้างเรื่องราวและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
  1. Be Simple, Bold and Clear ปัจจุบันสินค้าในตลาดโดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ มีการใช้เฉดสีฉูดฉาด และ ภาพประกอบมากมาย เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า จนบางครั้งเมื่อนำมาวางเรียงอยู่ด้วยกันอาจสร้างความสับสนผสมปนเปกันไปหมด จนไม่สามารถมองหาจุดเด่นของสินค้าได้ ความเรียบง่าย น้อยแต่มาก สไตล์มินิมอล จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าออกจากแบรนด์อื่นๆ ได้ ยกตัวอย่าง “ไร่ไม่จน” แบรนด์น้ำอ้อยพรีเมียม ที่สามารถออกแบบแบรนด์และแพ็กเกจจิ้งได้แตกต่าง ด้วยตัวฉลากที่เรียบง่าย สีสันไม่ฉูดฉาด แถมยังออกแบบดีไซน์กระป๋องให้เหมือนกับปล้องอ้อยที่สามารถนำมาต่อกันให้ยาวเป็นลำต้นอ้อยขึ้นมาได้ สร้างความน่าสนใจ และสะดุดตาต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย จากที่ขายเรื่อยๆ ไม่เคยส่งออก การเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ครั้งนี้กลับกลายเป็นทำให้คว้ารางวัลระดับโลกมาได้มากมายกว่า 10 รางวัล ทั้งยังได้รับเชิญไปออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศ และมียอดการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามาอีกด้วย
  1. Culture Story การบอกเล่าคุณค่าที่มาของตัวสินค้า นับเป็นอีกวิธีที่น่านำมาใช้สำหรับแบรนด์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งนี่เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ SME สามารถต่อกรกับยักษ์ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดเดียวกัน แต่สามารถแยกออกมาเล่นในตลาดพรีเมียมที่มีขนาดเล็กกว่า แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยทำให้สินค้าขายได้ราคาและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องหาความแตกต่างให้ได้ เช่น แบรนด์ข้าว Healthy Food Healthy Life แทนที่จะแข่งขันอยู่ในตลาดแมส ก็อาจหันมาเล่นในตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อทำข้าวคุณภาพดีที่ใช้กระบวนการแตกต่างจากระบบอุตสาหกรรม โดยหันมาใช้วิธีแบบดั้งเดิมทั้งหมด เช่น ใช้ควายไถนา ใช้มือเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมที่เคยกินมา ซึ่งเมื่อสามารถสร้างความแตกต่างในกระบวนการผลิตและตัวสินค้าได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ก็ควรฉีกออกมาจากตลาด และต้องถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าที่เกิดขึ้นของแบรนด์ออกมาให้ผู้บริโภคได้รับรู้ด้วย
  1. Packaged Planet การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างหันมาทำกันมาก ขึ้น ซึ่งนี่เป็นโอกาสให้ SME สามารถนำมาใช้ทำตลาด และประยุกต์ใช้กับแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย เนื่องจากมีการโหมสร้างกระแสของแบรนด์ใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และเรื่องนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาเป็นกลยุทธ์ในทางธุรกิจกันมากขึ้น แต่ในแต่ละตลาดก็ยังมีช่องว่างอยู่ เช่น แบรนด์น้ำตาลมิตรผลที่ทำแคมเปญเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่น้ำตาลมาเป็นถุงกระดาษ เป็นต้น ซึ่งจากที่ขายราคาปกติ ก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นได้ แม้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยส่วนหนึ่งที่ได้ทำก็สร้างการจดจำและรับรู้ให้กับผู้บริโภคได้แล้วว่าหากพูดถึงแบรนด์น้ำตาลไทยที่ใช้ถุงกระดาษมาเป็นหีบห่อ ก็ต้องนึกถึงแบรนด์มิตรผลก่อน ดังนั้น ต้องหาช่องว่างที่ยังไม่มีใครทำให้เจอ ถ้าทำได้ ก็ตะโกนออกไปดังๆ แบรนด์ของเราจึงจะเป็นแบรนด์แรกที่อยู่ในภาพจำนี้ของลูกค้า
  1. New Experience จากสินค้าธรรมดา หากใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่าง สามารถสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่ลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบกล่องในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของแบรนด์ Diamond Grains กราโนล่าสายเฮลตี้ที่ออกแบบรูปแบบกล่องใส่สินค้า ซึ่งหากลองนำมาพับต่อกันจะสามารถเปลี่ยนจากกล่องธรรมดาให้กลายเป็นต้นคริสต์มาสใช้ประดับตกแต่งได้ จากตอนแรกที่คิดจะทำออกมาพิเศษเพียง 10,000 ใบ ผลปรากฏสามารถขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้หมดภายในวันเดียว ทำให้ต้องมีการพรีออร์เดอร์ และผลิตออกมาเพิ่มถึงกว่า 30,000-40,000 ใบเลยทีเดียว
  1. Collaboration กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน คือ การจับมือร่วมกันเพื่อสร้างแคมเปญหรือทำ กิจกรรมบางอย่างร่วมกันระหว่างแบรนด์ โดยไม่จำเป็นต้องไปจับมือร่วมกับแบรนด์ที่ทำสินค้าประเภทเดียวกันหรืออยู่ในตลาดเดียวกันเท่านั้น แต่สามารถจับคู่ระหว่างแบรนด์ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เพื่อสร้างความว้าว! ความสนุก สร้างสีสันให้เกิดขึ้นในตลาด โดยวิธีดังกล่าวนี้นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นน่าสนใจให้กับลูกค้าแล้ว ตัวแบรนด์เองจะกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมยังอาจได้กลุ่มลูกค้าของแบรนด์บัดดี้ที่ทำงานร่วมกันมาเพิ่มอีกด้วย เรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนลูกค้าซึ่งกันและกันที่น่าสนใจอีกวิธี และน่าจะเป็นที่นิยมไปต่อได้ในอีกระยะหนึ่ง
PurraXDesigner.jpg
  1. Smart Packaging วิธีการสุดท้าย บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งเป็นวิธีที่เริ่มมีการนำมาใช้กันมากสำหรับแบรนด์ใน ตลาดต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยอาจยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก เนื่องจากความไม่พร้อมของประชากรที่อาจยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนได้ทั่วถึงในทุกกลุ่ม เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับบรรจุภัณฑ์ได้ จึงอาจยังไม่เหมาะหากจะนำมาใช้สร้างตลาดในตอนนี้ แต่นับเป็นอีกวิธีที่หากทำได้จะสร้างความสนุก สร้างลูกเล่น และดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอีกเทรนด์ที่มาแน่นอน เพียงแต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย ณ ตอนนี้เท่านั้นเอง

ทั้งหมดนี้คือ 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ที่ท่านสามารถนำไปประยุกต์เป็นกลยุทธ์ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และการรับรู้ได้อย่างไม่ยาก ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะรู้ว่าเทรนด์มันมีประโยชน์ อย่างที่ผมทดลองนำไปใช้แล้วจริงๆ

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , ,

Co-Branding โคแบรนด์ดิ้ง มิใช่โคบาล

ยุทธวิธี Co-Branding มันหมายความว่าอย่างไรล่ะเนี่ย..!!!! มันคือคาวบอย โคบาล รึป่าว..???

ไม่ใช่ครับผม มันคือ โค-แบรนด์ Co-branding หรือ Dual Branding จริงๆก็คือ ความร่วมมือกันจับมือกันระหว่างสองแบรนด์ องค์กร บริษัท หรืออาจจะมากกว่า 2 แบรนด์ก็ได้ โดยใช้จุดแข็ง หรือความชำนาญของแต่ละแบรนด์มาผนึกกำลังกันสร้างสินค้าบริการให้อยู่ภายใต้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน เช่น บริษัท A เชี่ยวชาญด้านไอที และบริษัท B ชำนาญด้านการตลาด มีฐานลูกค้ารองรับ ได้ร่วมมือกัน ใช้ศักยภาพของทั้ง 2 บริษัท สร้างสรรค์สินค้าและบริการ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้แบรนด์ร่วมกัน พูดอาจเข้าใจยากเอาเป็นว่าตัวอย่าง

Co Branding Packaging

เช่น Apple และ Nike ที่เคยร่วมกันทำ Nike + ipod sport kit มันคือนวัตกรรมใหม่ของอุปกรณ์เสริมเพื่อการวิ่ง พูดง่ายๆก็คือ เอาอุปกรณ์นี้ไปติดที่กับรองเท้าไนกี้รุ่นพลัส และเอามาเชื่อมต่อกับ iPod เพื่อรายงานการวิ่งประมาณนั้นครับ ซึ่งการจับมือครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จในการเลือกจับคู่แบรนด์ได้เหมาะสม ทั้งในแง่ของ แบรนด์ที่มีการพัฒนาด้านนวัฒกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอและยังมีฐานลูกค้าสูงทำให้ศักยภาพของทั้งสองแบรนด์ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ออกมาได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี

cobranding-nike_ipod_sportkit

อย่างไรก็ดีลักษณะของการทำ Co-Branding มีหลายรูปแบบมาก

1. Ingredient Co-branding การใช้ส่วนประกอบของแบรนด์นึง ในการร่วมผลิตสินค้ากับอีกแบรนด์หนึ่ง และใช้ตราสินค้าร่วมกัน เช่น Dell computer กับ Intel processors คอมยี่ห้อ Dell แต่ชิพประมวลผลของ Intel เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการนำส่วนประกอบของแบรนด์อื่นๆ มาผสมกับแบรนด์เราเอง เพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น
Dell-Intel-co-branding
2. Joint Venture Co-branding การร่วมมือกันระหว่างบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัท หรือมากกว่านั้น โดยกำหนดกลยุทธ์ร่วมกัน และมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน เช่น การวางแผนการตลาดร่วมกันของสายการบินไทย กับซิตี้แบงค์ เพื่อให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตรเครดิตสะสมคะแนนแลกไมล์ในการใช้บริการสายการบินไทย เป็นต้น

Citibank-Cebu-Pacific-Card-Visa-Platinum
3. Same –company Co-branding คือ ภายในบริษัทเดียวกัน ที่มีผลิตภัณฑ์หลายๆ ตัว ต้องการที่จะทำรายการส่งเสริมการขายร่วมกัน เช่น สินค้าในเครือ P&G จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายให้กับห้างสรรพสินค้า ทำรายการซื้อสินค้าในเครือ P&G ครบตามจำนวนจะได้รับของสมนาคุณ หรือ เห็นชัดๆอย่างมหกรรมลดราคาของ Unilever ไชโย SALE เป็นต้น

Unilever
4. Multiple Sponsor Co-branding คือ การใช้ความร่วมมือกันจากหลายๆ แบรนด์เพื่อสร้างเครือข่าย และผนึกกำลังช่วยส่งเสริมกันระหว่างแบรนด์ โดยอาศัยความชำนาญที่แตกต่างกันได้มาพัฒนา เช่น การจับมือกัน 3ฝ่าย ระหว่าง Jet Airway + VISA + ICICI Bank เป็นต้น

VISA-Jet-Airway-ICIC

จากตัวอย่างและรูปแบบทั้งหมดข้างต้นนั้น ผมนำมาย่อยให้ท่านได้เห็นเป็นกลยุทธ์วิธีในการทำ Co-brand เป็น 4 ประการ เพื่อท่านจะได้เลือกใช้ได้อย่างง่ายดาย
1.Reaching in เน้นการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาด โดยการเลือกหุ้นส่วนที่ช่วยเพิ่มศักยภาพต่อแก่นของแบรนด์ตัวเองให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น ตัวอย่างข้างต้น ก็คือ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ Dell เลือกร่วมมือกับ Intel ในการร่วมผลิตด้วย เนื่องจากลูกค้ามีความเชื่อและมั่นใจในประสิทธิภาพของ ระบบประมวลผลของ Intel จึงเป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าของแบรนด์สินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัทขนมขบเคี้ยวชื่อดังค่าย Frito-Lay ได้จับมือกับน้ำอัดลมเปิดตัว ชีโตสรสเมาเทนดิว (Mountain Dew Cheetos) และชีโตสรถเป๊ปซี่ เป็นสแน็กที่น่าสนใจไม่น้อยและสามารถกอบโกยยอดขายได้อย่างง่ายดาย

เมาเทนดิว-ขนม-บรรจุภัณฑ์เป๊ปซี่-ชีโตส-บรรจุภัณฑ์-COBRANDING

2.Reaching out เน้นการเข้าถึงช่องทางการตลาดใหม่ โดยเลือกหุ้นส่วนที่นอกจากเพิ่มศักยภาพของแบรนด์แล้ว ยังต้องเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ด้วย ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกร่วมมือกับแบรนด์สินค้า และผู้ให้บริการอื่นๆ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านค้าได้สะดวกและครบถ้วนมากที่สุด One-stop service นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพราะมีการให้บริการที่หลากหลายภายในร้านเดียว นอกจากนี้ ยังมีกรณีของ McDonald’s McFlurry กับ Kitkat รวมมือกันพัฒนาสินค้าในรสชาติใหม่ และยังสามารถปรับช่วงเวลาในการซื้อสินค้าของทั้งสองประเภทได้อย่างลงตัว เนื่องจากเดิม Kitkat เป็นของว่างทานเล่น ต่างจาก McDonald’s ที่ไว้ทานเป็นมื้ออาหาร เมื่อทั้งสองมารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นับว่าลงตัวและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้อย่างดี หรือแม้แต่ Adidas จับมือกับยาง Good Year ออกรองเท้ารุ่นพิเศษที่ใช้ยางจากล้อรถ Good Year เป็นต้น

Goodyear-Adidas-อาดิดาส

3.Reaching up เน้นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) และทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น (Brand Value) ตัวอย่างเช่น การให้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ค้าออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตมักจะประสบปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการชำระเงินสินค้า ดังนั้น การร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำอย่าง Paypal ในด้านการชำระสินค้าก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ตัวเอง ซึ่งมีผลต่อลูกค้าได้เชื่อมั่นในสินค้าและบริการ และเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ตัวเองมากขึ้น

Payment_logo-Verify

4.Reaching beyond เน้นการพัฒนาต่อยอด โดยเลือกหุ้นส่วนที่มีความแข็งแกร่งด้านภาพลักษณ์ และมีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น Credit card ร่วมมือกับ MasterCard และ Visa สร้างเครือข่ายขยายตลาดสินค้าและการบริการไปยังสถาบันการศึกษา หน่วยงานการกุศลต่างๆ ผู้ให้บริการด้านรถยนต์ ปั้มน้ำมัน สายการบิน ที่พัก และร้านค้าต่างๆ โดยผู้ใช้บริการบัตรเครดิตสามารถใช้ Reward card ในการรับสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก

การทำ Co-brand ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจ แต่การทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ขึ้นกับแต่ละแบรนด์ที่ร่วมมือกันว่าจะสามารถช่วยเพิ่มคุณค่าของแบรนด์ให้ต่อกันได้มากน้อยเพียงใด โดยอาจจะประเมินจากศักยภาพของกลุ่มลูกค้าหลังจากที่ได้ทำการ Co-branding แล้วว่ามีผลตอบรับเป็นอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นกับทัศนคติ มุมมองที่ลูกค้ามองเข้ามาต่อการรวมแบรนด์ใหม่ ด้วยว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม การทำ co-brand ก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เพราะถ้าเกิดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งได้รับผลกระทบ ก็จะส่งผลไปยังอีกแบรนด์เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการต้องประเมินถึงข้อดีและข้อเสียของการรวมแบรนด์ว่าคุ้มค่ากว่าการสร้างแบรนด์เดียวหรือไม่ ขอบคุณครับผม^^

credit : SMEs Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , ,

Eco-Packaging (บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม)

มีงานๆหนึ่งที่ชื่องานว่า Green Solution ซึ่งมีการบรรยายในหัวข้อ Eco Packaging ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและทุกๆควรต้องตระหนัก มันเรียกง่ายๆว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร มันตรงตัวอยู่แล้วครับ คือบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

eco-packaging

ทำไมต้องเพื่อสิ่งแวดล้อม….???

 

คืองี้ครับ ในอดีตตัวบรรจุภัณฑ์เองนั้นหน้าที่พิ้นฐานคือปกป้องสินค้า แต่พอเวลาผ่านไปบรรจุภัณฑ์เป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้แทนที่จะช่วยปกป้องสินค้าแต่กลับเป็นมลภาวะต่อโลกเองซะงั้น ผลการวิจัยพบว่า ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์นั้นมีมากมายขนาดว่า ภูเขากองขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือนั้น มีขนาดใหญ่กว่าประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 เท่า แม่เจ้า…มันเยอะจริงๆ นะครับขอบอก และยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละวัน วัวนับร้อย หรือสัตว์นับร้อยในอินเดียล้มตาย เพราะกินถุงพลาสติกที่ถูกทิ้ง อีกทั้งทั่วทั้งโลกทุกๆ 1 นาที มีการใช้ถุงพลาสติกไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ใบ และหากนำถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีมาเรียงต่อกัน จะเท่ากับระยะทางจากโลกไปกลับดวงจันทร์ถึง 7 รอบ นี่คือโลกของเราหรือเนี่ย มันเต็มไปด้วยขยะมากมายจริงๆ
“Living in the Angkor Hell”. Anlong Pi, Siem Reap. Cambodia. 2010-2013Photography: ©Omar Havana img_1592

แต่เดี๋ยว ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า สำหรับเมืองไทย โดยมากการทำอะไรเพื่อโลกนั้นจะต้องมีราคาแพงกว่าปกติเสมอๆ เช่น กล่องโฟม อาจจะใบละ 3บาท ใช้ไบโอชานอ้อยอาจจะอยู่ที่ 5-8 บาท เป็นต้น ฉะนั้นน้อยคนที่จะใช้ได้ แต่ไม่เป็นไร ผมจะประมวลหัวข้อสำคัญๆเพื่อให้ท่านตระหนักว่าในตัวบรรจุภัณฑ์ของท่านั้น ท่านจะช่วยโลกได้อย่างไรบ้าง

1. Materials ง่ายที่สุดคือการเปลี่ยนวัสดุ ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Coca-Cola ในต่างประเทศนั้นทยอยปรับใช้นวัตกรรมใหม่อย่าง PlantBottle ซึ่งก็คือ ขวดพลาสติก PET (polyethylene terephthalate) บรรจุเครื่องดื่มชนิดแรกที่สามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะขวด PlantBottle มีองค์ประกอบบางส่วนที่ได้จากพืช 30% ซึ่งตรงนี้ทาง Coca-Cola ได้ทอลองใช้ขวด PlantBottle ไปกว่า 14,000 ล้านขวดใน 24 ประเทศ เทียบเท่ากับลดปริมาณการใช้น้ำมันถึง 300,000 บาเรล ในอนาคตเป้าหมายขวด PlantBottle จะแทนขวดพลาสติกทั้งหมดภายในปี 2563

Print plantbottle2

 

มีอีกนวัตกรรมนึงของศาสตราจารย์ David Edwards ซึ่งคิดค้น “WikiCell” ขึ้นมาโดยได้แรงบันดาลใจจากเซลล์ธรรมชาติในผลไม้อย่างองุ่น ส้ม หรือมะพร้าว ที่มีเปลือกนอกห่อหุ้มเนื้อและของเหลวภายในมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ หากลองนึกถึงผลส้ม จะเห็นว่าเปลือกส้มนั้นทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนและย่อยสลายได้ในตัวเอง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องบรรจุใส่ในกล่องหรือถุงต่างหาก นอกจากนั้นเปลือกของมันยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย นวัตกรรมนี้ถูกจัดให้เป็น 32 นวัตกรรมเปลี่ยนโลกของนิตยสาร The New York Times เลยทีเดียว แต่สุดท้ายก็ต้องมีการพัฒนาอีกมาก
wikicell - outer shell.jpg David_Edwards_Wikicells Wiki-Cell-3-thumb-620x388-41873 wikicells-with-hand

2. Transport ก็เป็นวิธีหนึ่งที่หันหลังกลับไปมอง Logistic ของตนเองว่าในมุมบรรจุภัณฑ์จะช่วยปรับปรุงอะไรได้บ้าง เช่น บรรจุภัณฑ์ของสีทาบ้าน Dutch Boy จากเดิมที่เป็นกระป๋องเหล็กทรงกลม ก็ถูกปรับให้เป็นกระป๋องพลาสติกทรงเหลี่ยม ซึ่งข้อดีคือ ลดพื้นที่ว่าง ประหยัดพื้นที่ และเพิ่มพื้นที่รับแรงเมื่อกระป๋องเรียงต่อกันใน Pallet อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถุง Puma ที่จากกล่องเปลี่ยนมาเป็นผ้า ทำให้ลดพื้นที่ในการขนส่งได้
DutchBoyWhiteLead1Dutch Boy Twist & Pour

3. Use การใช้งาน ซึ่งไอเดียของมันคือสามารถนำมาใช้งานในอีกได้ เช่น ถุง Shopping Bag ของแบรนด์กางเกงยีนส์ Lee ซึ่งสามารถนำมาตัดต่อ ประยุกต์เป็นของอื่นๆได้, งานไอเดีย Re-Pack ซึ่งเป็นกล่องทั่วๆไป ที่มีไอเดียในการใช้ด้านในกล่องซ้ำอีกรอบหนึ่งก็ได้, หรืออาจะเป็นกล่อง eBay ที่ผลิตมาพิเศษ 100,000 ใบ โดยจัดการแจกคนที่ใช้การซื้อขายออนไลน์ แต่ที่เป็นไอเดียสำคัญคือ เขาออกแบบให้มีพื้นที่เขียนถึงคนข้างใน 6 ช่อง เพื่อที่ว่าพอคนส่งพัสดุเรียบร้อยแล้ว คนรับต่อก็สามารถไปใช้ Pack ของต่อๆกันได้ทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากร
lee-bag re-pack-packaging14949299457_09195245c6_oebay_box1

4. Disposal การจัดการขยะ หมายถึงอะไร ก็หมายถึงว่า ต้องมีการบ่งบอกถึงก็จัดการขยะ เช่น การแยกขยะตามวัสดุที่ใช้ทำตัวมันมาด้วยสี ด้วยภาพ เช่นทำสีถังขยะ

5. Manufacture ก็คือไปศึกษาถึงโรงงานผิดว่าเราจะพัฒนาอย่างไรบ้างในเชิงบรรจุภัณฑ์

6. Communication ก็คือ การสื่อสาร แล้วมันเกี่ยวอะไร มันเกี่ยวตรงที่ เราต้องสื่อสารความดีที่เราได้ช่วยโลกออกไปให้คนตระหนักมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Smoke Tissue มันทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนัก ถึงมลภาวะ โดยทำเป็นโรงงานก่อสร้างที่ปล่อยมลพิษควันออกมาโดยสอดคล้องกับทิชชู่ แล้วครูจะมาอีกนะ มันก็สื่อโฆษณานี่เอง แต่เราต้องถ่ายทอดให้ถูกจุด

smoke_tissue_case3 smoke_tissue_case4 smoke_tissue_case5

นี่เป็นหัวข้อเบื้องต้นในการเตือนถึงการสร้างบรรจุภัณฑ์แบบช่วยกันดูแลโลกให้เท่าที่ท่านจะสามารถทำได้ ช่วยได้ ท่านลองพิจารณาดูได้ครับว่าสมควรหรือไม่ แต่บางทีท่านอาจจะเอาจุดรักษ์โลกเป็นจุดขายแบบ น้ำดื่มน้ำทิพย์ ก็เป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ท่านทดลองไปประยุกต์นะครับ

เครดิต : SMEs Plus

Some content on this page was disabled on May 12, 2020 as a result of a DMCA takedown notice from Omar Havana. You can learn more about the DMCA here:

https://wordpress.com/support/copyright-and-the-dmca/

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , ,

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาค1 และ 2

Pentawardออกแบบบรรจุภัณฑ์2ออกแบบบรรจุภัณฑ์1ออกแบบบรรจุภัณฑ์3

จากหนังสือ SMEs PLUS
บทความ : เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาคที่1

สวัสดีครับ ผมสมชนะ กังวารจิตต์ กลับมาจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS 2013 ที่กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ถือได้ว่าเป็นคนไทยท่ามกลางกรรมการท่านอื่นๆจากตัวแทนประเทศมหาอำนาจโลกอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สวีเดน, เบลเยี่ยม, กรีซ,  ญี่ปุ่น, เกาหลี และ Prompt Design จากไทยแลนด์ ด้วยประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้นั้นมากล้นจริงๆ แต่หลักๆที่ได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการตัดสินที่ยากที่สุดในชีวิตผม มันเป็นการตัดสินผลงานที่มหาหินมาก  เนื่องจากว่าผลงานที่ส่งมาจากทั่วทุกมุมโลกนั้น ล้วนแล้วแต่ดีๆด้วยกันทั้งสิ้น แต่มีเพียงดาวจรัสฟ้าท่ามกลางหมู่ดาวเท่านั้นที่ได้รางวัล ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าชิ้นงานที่ได้รับรางวัลนะครับว่า ทำไมหนอ….เค้าจึงได้ (แต่พื้นที่ในการเขียนผลงานนั้นมีจำกัด ผมจึงขอทยอยเขียนนะครับท่านผู้อ่าน^^) เริ่มกันเลย

Absolut Unique Packaging Design

absolut4millionbottles-3750858

ผลงานแรกที่ได้รางวัลนั้นเป็นผลงานของ Absolut Vodka ชื่อว่า Absolut Unique เค้าบอกว่า “พวกเขาไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงทำมัน” Mark Twain กล่าว นี้คือความจริงอย่างแน่นอน

ของบริษัท Family Business ที่อยู่เบื้องหลังความคิด แนวคิด การพัฒนาโปรเจ็คนี้ บนพื้นฐานการผลิต Absolut Vodka 4 ล้านขวดโดยแต่ละขวดไม่ซ้ำกันเลย ขอเกริ่นนิดนึงก็คือว่าแต่ละปีนั้น Abosolut Vodka ได้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในการออกสินค้ารุ่น Limited Edition ที่ผ่านมาก็เช่น Absolut Disco, Absolut Rock, Absolut Masquerade, Denim, 100, Bling-Bling, Miami, No Label และอีกมากมาย

แต่ในปี 2012 จะเป็นการกำหนดให้คำจำกัดความใหม่ของคำว่า Limited Edition แบบเดิมๆที่ทำกันมาก็คือ ทำสินค้ามาพิเศษสักรุ่นหนึ่งสั่งผลิตเหมือนๆกันโดยอาจจะกำหนดว่าผลิตกี่ชิ้นก็ว่ากันไป  แต่งานของบริษัท Family Business ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เค้าอยากให้ทุกๆขวดนั้นไม่ซ้ำกันเลยสักขวด และผลิตไม่น้อยกว่า 4 ล้านชิ้น เพื่อให้แต่ละขวดกลายเป็น Limited Edition ในตัวของมันเอง แม่เจ้า!!!!! มันไม่ง่ายเลย!!!!! มันเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก มันเป็นความท้าทายที่เป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับ Family Business และ Absolut ไม่คิดเช่นนั้น ทางออกเค้าก็แค่ทำงาน ทำงาน ทำงานให้หนักขึ้น ให้มากขึ้น ทุ่มความคิดสร้างสรรค์ และความรักลงไป แนวคิดเค้าก็คือ เข้าไปปรับในสายการผลิตให้มีความสามารถในการผลิต 4 ล้านขวดที่แตกต่างกัน ซึ่งทางบริษัท Family Business นั้นได้วางแนวทางของเครื่องจักรให้สอดคล้องกับลวดลายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พ่นสี, ปาดสี, สะบัดสี เมื่อขวดวิ่งไปในสายการผลิตขวดนั้นจะถูกเครื่องจักรสุ่มลวดลายต่างๆ จึงได้ออกมาแตกต่างกัน บ้างก็แตกต่างกันที่การพ่น การสะบัด การปาดเมื่อวางขาย ผลก็คือเกือบ 4 ล้านขวดถูกขายก่อนที่จะสิ้นสุดแคมเปญโปรโมชั่นโดยไม่ต้องลดราคาแต่อย่างใด พันธกิจที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ทำให้สำเร็จได้ ถือว่ามหัศจรรย์มากๆ ต้องยกนิ้วให้เลย

master.budweiser_perspective_12_cansANHEUSER-BUSCH BUDWEISER BOWTIE CANColin-Joliat-Budweiser-Bowtie

ผลงานชิ้นต่อมาที่ได้รางวัลคือ Anheuser-Busch InBev มหาอำนาจองค์กรผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของโลกส่งแบรนด์ Budweiser มาเข้าชิง การที่จะทำแบรนด์ให้โดดเด่นจากคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะใช้สี ใช้ชื่อแบรนด์ ใช้รูปร่างรูปทรง แต่ในโลกของเบียร์นั้นที่ขายในบรรจุภัณฑ์กระป๋องส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันทั้งโลก ซึ่งมันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสร้างความแตกต่าง หรือสร้างความโดดเด่น  แต่นี่คือสิ่งที่ทีมงานฝั่งสร้างสรรค์กับฝั่งวิศวกรรมของบริษัท Metaphase Group ที่นำเสนอการสร้าง Budweiser ให้เป็น “กษัตริย์ของเบียร์” อย่างแท้จริง โดยการสร้างกระป๋องให้มีรูปร่างเหมือนผูกโบว์ การใช้องค์ความรู้ ความท้าทายทางเทคนิคในการผลิตกระป๋องในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงMetaphase Group เท่านั้นที่จะทำได้ ซึ่งผลออกมาทำได้ค่อนข้างดีมาก มันตอบวัตถุประสงค์ได้หลายข้อ เช่น การสร้างความน่าสนใจความแตกต่าง การใช้งานตอบสนองต่อการยศาสตร์(Economic) เป้าหมายของ Budweiser  ก็คือเมื่อมันมาอยู่ในมือคุณแล้วมันจะส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้เข้าใจได้ว่า แบรนด์ได้ถูกจัดการระบบและเพิ่มมูลค่าเข้าไป เพราะด้วยรูปทรงที่แตกต่างของกระป๋องนั้นสอดคล้องกับตัวตราสัญลักษณ์อีกด้วย ไม่มีอะไรที่ดีกว่าแนวทางนี้อีกแล้วแน่นอน รับรอง!!!!

Tiger-nuts-smoky-bacon-and-sweet-chilliTT 300-185 (Sept. 2011)walkers tiger nuts packs

มาถึงชิ้นต่อมา ถ้าพูดถึงในโลกของมันฝรั่งทอดกรอบและถั่วที่ขายอยู่ในถุงนั้นมันจำเป็นที่จะต้อง “โดดเด่น” ซึ่งการแข่งขันจากแบรนด์ระดับชาติ และ House Brand นั้นช่วยผลักดันให้เกิดข้อจำกัด Walkers (ที่รู้จักกันในแบรนด์มันฝรั่งแผ่นเลย์) เป็นผู้นำตลาดใน มันฝรั่งทอดและพยายามจะทำอย่างนั้นกับตลาดถั่วเหมือนกัน เพื่อเป้าหมายบริษัท Design Bridge ได้จัดการสร้างตัวแทนของใบหน้าของเสือโคร่ง โดยมีคำว่า Tiger Nuts ซ่อนอยู่ เป็นการออกแบบที่เล่นกับการรับรู้แบบซ่อนเร้น ลวงตา ถือว่าฉลาดมาก ถือว่าสร้างสรรค์และโดนใจเลยทีเดียว

นี่ถือเป็นผลงานส่วนหนึ่งที่ได้รางวัลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก มันน่าสนใจมากๆ อย่างน้อยๆมันคงจุดพลังไฟของท่านให้ลุกติดขึ้นใหม่อีกครั้ง ผมเชื่อแหละครับว่า การทำอะไรให้ปนะสบความสำเร็จตามเป้านั้น ไม่ยากหรอกครับ เพียงแค่มีความเชื่อมั่นว่าเราจะต้องทำมันได้ ทำมันให้สำเร็จ ท่านก็จะเดินไปสู่เส้นชัยในการประสบความสำเร็จระดับประเทศ และสู่ระดับโลกในที่สุด ถึงวันนั้นท่านจะภูมิใจในความเป็นไทยผงาดในโลกจริงแบบผม ขอบคุณครับ^^

มาต่อกันภาคที่ 2 เลยครับผม

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลก(บรรจุภัณฑ์) ภาค2

ถ้าหลายๆท่านยังงงว่าผมพูดเรื่องอะไรนั้น ก็คือว่ายังงี้ครับ ขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆ คือผม สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design ได้มีโอกาสไปตัดสินรางวัลบรรจุภัณฑ์ของโลกอย่าง PENTAWARDS ประเทศสเปนมาครับ ผมเลยจึงอยากมาเล่าประสบการณ์ดีๆ แรงบันดาลใจผ่านผลงานดีๆ ให้ท่านได้รับทราบกันครับ

มาที่ผลงานกันเลยดีกว่าครับ…!!!!

Strong-Packaging-Design-Idea

ผลงานที่ได้รางวัลต่อจากครั้งที่แล้วอันนี้น่าสนใจมาก ชื่อแบรนด์ว่า Strong ซึ่งทำอาหารเสริมต่อสุขภาพหรือเค้าเรียกกันว่า Nutriention Supplements บริษัทที่ดูแลก็คือ Pearlfisher จากประเทศอังกฤษ เค้าได้สร้างทั้งหมดของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น กลยุทธ์, การตั้งชื่อ, ตัวตนของบรรจุภัณฑ์ แม้กระทั่งวิธีการขาย เรียกได้ว่าดูและทั้งหมดกันเลยทีเดียว แบรนด์ Strong นั้นผลิตจากวัตถุดิบที่คุณภาพสูงมาก และสดใหม่ พัฒนาเพื่อให้เข้ากับคนรักสุขภาพ คนที่รักความสวยความงามในระดับลึกถึงเซลล์ คนที่ต้องการความกระชุ่มกระชวย และความเยาว์วัยเป็นต้น

Strong-illustration-Packagingstrong

โดยเป้าหมายก็คือ จะสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่างท่ามกลาง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนานาแบรนด์ในท้องตลาด ซึ่งต้องชื่นชมในตัวแนวคิดของทางบริษัท Pearlfisher ที่ว่า “Beauty from within” ก็คือความงามจากภายใน ซึ่งเค้าใช้วิธีการเปรียบเปรยด้านอารมณ์โดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวแทนการสื่อสาร ผ่านสัตว์ปีกทั้งหลาย เช่น นก, นกฮูก, ม้าเปกาซัส เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะมีสิ่งที่อ้างถึงสรรพคุณของอาหารเสริมแบบเปรียบเปรยได้ อาทิ นกฮูก-สมอง, ม้าเปกาซัส-ความแข็งแรง โปรตีน, นกขมิ้น-ความกระจ่าง เป็นต้น Dan Dittmar หนึ่งในกรรมการได้ให้ความเห็นกับงานนี้ไว้ว่า “เป็นงานที่สร้างเอกลักษณ์และความโดดเด่นในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ลักษณะเช่นนี้แหละคืองานที่พร้อมที่ก้าวไป”

บรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานที่ได้รางวัลต่อมา อันนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผลงานจาก Studio Kluif ก็คือ

JEROHnimus ภาษาไทยอ่านว่า จีโรนีมัส เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ เช่น หมอน, จาน, แจกัน และของตกแต่งบ้าน เค้าได้แรงบันดาลใจจากผลงานของจิตรกรชาวดัตช์ Hieronymus Bosch (คศ. 1450-1516) ซึ่งงานของเขาคนนี้เป็นที่รู้จักกันในรูปแบบงานแปลกๆ ดูลึกลับ, เซอร์เรียล(เหนือความเป็นจริง) ซึ่ง Studio Kluif ก็ได้นำแรงบันดาลใจจากจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่นี้ในการสร้าง Serie ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในบรรยากาศที่โดดเด่นสไตล์ภาพวาดของ Hieronymus Bosch ผลงานออกมาน่าสนใจมากมันคือสไตล์ที่เด่นชัดในรูปแบบแนวทางความร่วมสมัยผ่านรูปภาพที่งดงาม เป็นการเชื่อมกันระหว่างความมั่งคั่งในอดีตผสานกับความสดใสของอนาคต Gerard Caron หนึ่งในกรรมการกล่าวว่า “มันเตะตามาก นี่แหละคือภารกิจของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งพิเศษอย่าง ศิลปะ กวี และความขำขัน ที่นำมารวมกันได้กลมกล่อม”

ออกแบบบรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานสุดท้ายที่ได้รางวัลคือผลงาน THE BALVENIE 50 เป็นวิสกี้ครบรอบ 50 ปี โจทย์ที่ได้รับของทางบริษัท Here Design ประเทศอังกฤษ คือต้องการสร้างบรรจุภัณฑ์พิเศษ และไอพิเศษที่ว่านี้คือมอลต์อายุกว่า 50 ปี ซึ่งออกมาเพื่อเฉลิมฉลองการทำงานของปรมาจารย์แห่ง Balvenie Malt ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญวิสกี้ทั่วโลกถึงความสามารถของเขาเขาผู้นั้นชื่อว่า David Stewewart ตัวเขาเองเขาได้อุทิศตัวของเขาทั้งหมดในชีวิตในการกลั่นมอลต์ แน่นอนที่สุดเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา วันที่เด็กฝึกงานคนนี้อายุเพียง 17 ปี ได้เข้าร่วมโรงกลั่นกับทาง Balvenie ด้วยความมานะทำให้เขามีผลงานอันเลื่องชื่อก็คือการเปิดตัวถังมอลต์ที่หายากที่สุดของ Balvenie ในปี 1962 ถือเป็นอีกหนึ่งที่สร้างชื่อก็ว่าได้ มันสามารถกลั่นได้ทั้งหมดแค่ 88 ขวด สนนราคาอยู่ที่ £ 20,000 ต่อขวด ก็ประมาณ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง

11326-Balvenie50_0140

จากการอุทิศตนของ David Stewewart นั้นทำให้เขาได้ร่วมมือกับ Sam Chinnery นักทำเฟอร์นิเจอร์ทำตู้มือฉมังชาวสก็อตแลนด์ สร้างกล่องพิเศษที่เป็นสัญลักษณ์ 50 ปี ซึ่งมีไม้ 49 ชั้นต่างสายพันธุ์ เช่น ไม้วอลล์นัท ไม้โอ๊ค ไม้แอช เป็นต้น นำมาวางซ้อนกันอย่างงดงามทำให้เกิดผิวสัมผัส และลายไม้ด้านข้างของกล่องที่ดูแปลกต่างและมีระดับ และมีหนึ่งชั้นที่ทำจากทองเหลืองสลักเรื่องราวปิดไว้

Balvenie-Golden-1-e1357663025238 BV50_Prototype2_Visuals_v1.1

ตัวขวดแก้ววิสกี้นั้นใช้งาน Handcraft ด้วยกรรมวิธีการการเป่ามือด้วยความพิถีพิถัน และติดป้ายกับวันผลิตวิสกี้ หมายเลข Limited Number และลายเซ็นของ David Stewewart ด้านใต้ของแต่ละขวด ทำให้ THE BALVENIE 50 จึงเป็นงาน Limited Edition ที่ทรงพลังมากๆ

maxresdefault

 

Isabella Dahlborg หนึ่งในกรรมการบอกว่า “49 ชั้นนั้น มันพูดทุกๆอย่างด้วยตัวมันเอง ทั้งไอเดีย, ทั้งคุณภาพ, ทั้งการครบรอบ ถือเป็นวิสกี้ที่ยอดเยี่ยมมากๆ จนฉันอยากจะดมมันแล้วล่ะสิ”

3 งานยอดเยี่ยมของโลกนี้ผ่านหลายด่านกว่าจะได้รางวัล มันไม่ง่ายครับที่เราจะเป็นหนึ่งในวงการบรรจุภัณฑ์โลก ซึ่งจากการที่ผมได้ตัดสินพบว่ามีงานดีๆอีกหลายงานที่ควรได้ แต่ แต่นะครับขอย้ำ เหตุที่ผมและกรรมการท่านอื่นๆไม่เลือกเพราะ มันดี แต่ไม่ดีที่สุด เราต้องการงานที่ดีที่สุดเท่านั้น เหมือนกับลูกค้าเราก็เหมือนกัน เขาต้องการสินค้าที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพียงแค่ท่านพัฒนาสินค้า ลบจุดอ่อน จุดบกพร่อง เสริมจุดแกร่ง แต่ที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ เติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปเท่านี้สินค้าท่านก็จะยืนท่ามกลางคู่แข่งได้อย่างไม่กลัวใครแล้วครับ แล้วยังไงผมก็ไม่ทิ้งท่านแน่นอนครับ^^

เครดิต : SMEs Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us