Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ยกระดับกัญชาทำยังไง?

มูลค่าของตลาดกัญชานั้น ตลาดมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ ในอีกห้าปีข้างหน้า แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าควรต้องมีการออกแบบอย่างระมัดระวังมาก เพราะเพื่อให้แน่ใจว่าการสื่อสารออกมานั้นจะไม่ได้รับผลกระทบในทางเชิงลบของกัญชา

ในฐานะนักประวัติศาสตร์และนักมนุษย์วิทยาทั่วโลกจะยืนยันได้ว่ามนุษย์ที่ใช้กัญชาไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ประวัติความเป็นมาของพืชสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงเวลานับพันปีที่ผ่านมายังได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางสำหรับคุณสมบัติทางโภชนาการและคุณสมบัติทางยา แต่ในอีกมุมหนึ่งกัญชาเองมีคุณสมบัติทางจิตที่หลอนประสาท

ด้วยเหตุนี้โรงงานกัญชาได้เป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองมานานหลายศตวรรษ แต่ความพยายามในการฟื้นฟูชื่อเสียงของกัญชาได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เพิ่มขึ้นที่กำลังมองหากฎหมายให้ถูกต้องสำหรับกัญชาเพื่อคุณสมบัติของยา และถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกัญชาก็คือ cannabidiol (CBD)

CBD มันเป็นวิธีการรักษาที่สามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่นความวิตกกังวล, สิว, อาการชัก และวัยหมดประจำเดือน ที่ได้มาจากโรงงานสารสกัดกัญชาได้รับการตอบรับทั่วโลกด้วยมูลค่าของตลาด CBD อังกฤษที่ตั้งมูลค่าไว้ถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ในปี 2568

ในโลกปัจจุบันในหลากหลายประเทศ ยังมีอยู่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. กลุ่มคนที่เปิดรับเรื่องคุณสมบัติของกัญชา กับ 2. คือกลุ่มคนที่ปฏิเสธเรื่องกัญชา และมองว่า มันคือ ยาเสพติด มันคือ บ้อง หรือ ท่อกัญชา

ทางออกของวงการนี้คือ

Case Study ที่ 1 คือ

ต้องทำให้“ ดึงดูดสายตา แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาพ”

Seed Change เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้แพทย์และผู้ป่วย โดยใช้กัญชาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาแบบองค์รวม โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานทางการแพทย์ และนำวิธีการตามงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์มาใช้ เริ่มต้นคือ สร้างชื่อใหม่เป็น ‘Seed Change’ เพื่อเป็นตัวแทนของกระบวนการคิดของแบรนด์ ว่าจากยาเสพติดที่มีผลเชิงลบ มาเป็นเพื่อทางเลือกในการรักษาเชิงบวก แคมเปญนี้ และกลยุทธ์ของแบรนด์ การวางตำแหน่งและข้อเสนอการออกแบบตัวตนหลักประกันและเว็บไซต์เริ่มต้น

แนวทางการออกแบบนั้นมีความกล้า และการคิดบวก – ยอมรับในเจตนาของแนวคิดเรื่องยาเสพติดของพวกเรา สื่อสารออกมาในตัวตนที่สะอาดตา น่าเชื่อถือ  สีสันทันสมัย ผลลัพธ์ที่ได้คือ เป็นการสื่อสารที่น่าสนใจ และทรงพลังมาก ผู้คนให้ความเชื่อถือทั้งกลุ่มคนที่เชื่อในตัวกัญชาเองอยู่แล้ว และกลุ่มคนที่ปฏิเสธกัญชา

Case Study ที่ 2 คือ

ต้องทำให้ “พรีเมี่ยม หรูหรา และยังสุขภาพอยู่”

สตูดิโอออกแบบของแคนาดา McKinley Burkart ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ The Botanist ได้แรงบันดาลใจโรงเรือนกระจกสมัยศตวรรษที่ 19 ตกแต่งด้วยผลงานไม้ที่ผสมผสานความเป็นวิทยาศาสตร์ในโลกของธรรมชาติ ออกแบบมาอย่างหรูหรา มันทำให้ผู้คนรู้สึกสบายใจในสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ความยากของการทำงานในเส้นทางนี้คือ ต้องทำให้ถูกกฎหมายทุกประการ “เราไม่สามารถแสดงภาพของโรงงานกัญชาได้” ผลลัพธ์ก็คือร้านนี้ จะมีแผนขยายในปี 2563 อีกด้วย และกำลังจะเปิดพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าหรู มีอุปกรณ์หรู และประสบการณ์หรูๆอีกมาก

ถือได้ว่า เป็นการสร้างวัฒนธรรมการค้าขายกัญชาอีกทางนึง โดยให้วิถีชีวิตของคนที่เข้ามานั้นเป็นคนที่มีความรู้ มีไลฟ์สไตล์ และมีระดับ เสมอดั่งการดื่มไวน์

ดังนั้นสรุปการสื่อสารของสินค้ากัญชานั้น ต้องมีการทำการบ้าน เพื่อจะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่ง อย่างที่ยก Case Study แล้วว่า ทางออกคือไม่ควรสื่อสารในภาพลักษณ์เดิมๆ แต่ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับตลาดต่างๆที่เราสนใจ

Filed under: Other, , , , , , , , , , , , , , , , , ,

พี่ไทย…เป็นประธานกรรมการตัดสินงานออกแบบ Core77 Design Awards ระดับโลก

core77-design-awards-logo
core-77-award-trophy

ไม่ธรรมดาครับ น่าภูมิใจอีกแล้ว คนไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ..!!!

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์คนไทยที่ได้เป็นกรรมการตัดสินเคียงบ่าเคียงไหล่กับกรรมการระดับโลกหลากหลายสาขา อาทิเช่น ผู้ก่อตั้ง Airbnb, Designer จากรถ McLaren, นักออกแบบจาก Samsung Global, Creative Director จากหนังสือ NY Times, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จาก Airbus Group (โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของโลก) และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยของโลกทั้ง Cornell, Art Center College of Design, National Institute of Design เป็นต้น ถือได้ว่าเด็ดๆทั้งนั้น

somchana-jury-packaging-design-asia-world-core77-design-awards

Core77 Design Awards 2016 การประกวดงานดีไซน์ครั้งที่ 6 โดยเว็บไซต์ Core77 บล็อกดีไซน์ระดับโลกที่ครอบคลุมทุกสาขาของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงพื้นที่ Core77 ถูกพูดถึงในสิ่งพิมพ์ชื่อดังของอเมริกาอย่าง The New York Times และ PC Magazine และได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ และชุมชนออนไลน์ของเหล่าดีไซเนอร์และคนรักงานออกแบบอีกด้วย โดยการประกวดผลงานจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสาขาอาชีพการออกแบบทุกสาขา และความสามารถของนักออกแบบ

core77-design-awards-category

ในการประกวดครั้งนี้มีด้วยกันถึง 14 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีคณะกรรมการเฉพาะกลุ่ม โดยกรรมการเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น Hyuntaik Lim ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Samsung Global Design Europe เป็นกรรมการสาขาผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, Alexis Lloyd Creative Director ของ NY Times R&D Lab กรรมการสาขาการออกแบบ Interaction, Alex Alexiev นักออกแบบรถ McLaren, Joe Gebbia ผู้ก่อตั้ง Airbnb เป็นหัวหน้ากรรมการสาขา Service Design

และที่น่าภูมิใจสุดๆ ก็คือกรรมการจากประเทศไทย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design ได้คัดเลือกเป็น July Captain หัวหน้ากรรมการในสาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไปสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง

somchana-prompt-design-jury-design-awards-judgement-winner-packaging

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้ารอบในปีที่แล้ว ได้แก่ The Urban Post-Disaster Housing Prototype ผลงานเข้ารอบในสาขาการออกแบบสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแบบบ้านสำหรับหลังเกิดภัยพิบัติที่กลุ่มสถาปนิก Garrison Archi-tects ออกแบบให้กับสำนักงานจัดการภัยพิบัติฉุกเฉินของเมืองนิวยอร์ก เพื่อเป็นต้นแบบในการวางแผนรับมือภัยพิบัติในระยะยาว อีกหนึ่งผู้เข้ารอบในสาขานี้ คือ Museum of Future Government 2014 ผลงานของกลุ่มนักออกแบบ TELLART ที่ออกแบบให้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นการจัดแสดงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและอนาคตของรัฐบาลในรูปแบบนิทรรศการ

core77-design-awards-winner-gallery

การประกวดของ Core77 มุ่งหวังที่จะมอบโอกาสให้แก่นักออกแบบ นักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสในการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังผลงานของพวก เขา ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในลักษณะแบบไหนก็ตาม ตั้งแต่งานรับจ้างไปจนถึงโปรเจ็กต์ส่วนตัว เพื่อเปิดรับความหลากหลายในวงการดีไซน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์ วัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อม และการศึกษา

ติดตามชมคลิปวิดีโอของกระบวนการตัดสิน ของเหล่าคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน และผลงานการออกแบบหลากสาขาของผู้ชนะและผู้เข้ารอบได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ที่เว็บไซต์ http://designawards.core77.com

Cr. คิดสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Cr. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

นักออกแบบไทยระดับโลก กับความแตกต่างขั้นสุด ในงานTEDx Chiangmai 2016

TEDxChiangMai เป็นงาน TEDx ที่จัดขึ้นโดยอิสระ ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก TED หากแต่ว่า TEDxChiangMai เป็นมากกว่างานสัมมนาทั่วไป มันเป็นเวทีของ “ความคิดที่ ควรค่าแก่การเผยแพร่” จากบุคคลที่เคลื่อนไหวในแวดวงต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอแนวคิด ประสบการณ์ และการปฏิบัติจริง ภายใต้ TED = Technology, E = Entertainment, D= Design เทคโนโลยี, ความบันเทิง และ การออกแบบ

TEDxChiangMai_logo
Tedx Chiangmai Dare to 2016

TEDx ChiangMai ปี2016 มาในธีม “Dare to” กล้าที่จะ….
ซึ่งครั้งนี้มี Speaker จำนวน 22 ท่าน อาทิเช่น
คุณกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เเละอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คุณโจน จันใด ผู้บุกเบิกและก่อตั้งศูนย์พันพรรณ ชุมชนแห่งการพึ่งตนเอง
คุณสุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์ ประธานกรรมการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ BBDO Bangkok
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สจวท เจ ราช เป็นทั้งนักภาษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญหลายภาษา
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design
คุณโรส ซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ The Rainbow Room ศูนย์ความตระหนักเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ
คุณจันทน์ปาย องค์สิริวิทยา บุคลากรหลักของ WWF ประเทศไทย
คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ Startup
คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล จากธุรกิจบริษัท กล่องดินสอ จำกัด
นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ศัลยแพทย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

Somchana Packaging TEDx Prompt DesignSomchana-Prompt-Design-Packaging-TED-Talk3

Speaker หนึ่งในทีมงาน Packaging City ที่ติดตามเสมอมานั้น ก็คือ
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design ซึ่งในงานนี้หัวข้อที่คุณสมชนะ พูดถึง ชื่อว่า Recreate Packaging เนื้อหาคร่าวๆก็คือ “แกบอกถึงว่าโลกปัจจุบันที่ทุกคนพูดถึงการสร้างความแตกต่าง ซึ่งสำหรับผมความแตกต่างๆในโลกปัจจุบันมันใช้ไม่ได้แล้ว มันต้องสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุด” ในเนื้อหา 10 กว่านาทีนั้น แกมีให้ดูตาราง Differentiation Checklist ด้วย มันคือเครื่องมือไว้เตือนว่า เราสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุดแล้วรึยัง

Prompt Design Packaging Design World Thailand

Designing good packaging requires imagination, creativity, and knowledge about materials. To create packaging that stands out from the competition is not easy in a highly competitive market, but Somchana believes it is possible if one pushes oneself. He says that Thai companies often overlook the impact of packaging and should focus more on good packaging design to increase the value of their products in domestic and international markets.

Somchana Kangwarnjit Thailand Designer TEDx Talk Chiang Mai Somchana Kangwarnjit TEDx Talk Somchana Kangwarnjit Designer TEDx Talk 12804733_933056853468899_5815032402795486151_n Somchana Kangwarnjit Packaging Design manny pacquiao10271634_933061436801774_9095272322749282032_n

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Tone of voice คืออะไร

“กราบสวัสดีขอรับท่านผู้อ่าน วันนี้พูดไพเราะเพราะพริ้งเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าผมจะมานำเสนอเรื่อง “Tone of voice” หรือเรียกง่ายๆ ว่า สำเนียงหรือภาษาที่เวลาแบรนด์ต่างๆนำเสนอเรา

หลายคนบอก หา….. แบรนด์มีสำเนียงด้วยเหรอครับ คำตอบคือ ใช่แล้วครับ
TOV
แบรนด์ก็เปรียบเสมือนคนที่ต้องมีการสื่อสารในหลายๆรูปแบบ ดังนั้นสำเนียง ข้อความ และคำพูดที่แบรนด์สื่อสารออกไปก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆอย่างนึงเลยครับ

ในโลกธุรกิจที่การตลาดเติบโตและแข่งขันกันอย่างไม่หยุดยั้ง ปฎิเสธไม่ได้ว่า นอกจากกลยุทธ์ทางการตลาดที่เฉียบแหลม สิ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือ การสื่อสารเกี่ยวกับความเป็นแบรนด์ หรือองค์กร ออกไปสู่ผู้บริโภคอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และคนที่รับสาร สามารถเข้าใจและจดจำเอกลักษณ์ สำเนียงจากข้อความของแบรนด์นั้นๆได้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอยกตัวอย่าง แบรนด์ “ Philosophy” เครื่องสำอางค์สายเลือดอเมริกัน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างการใช้ Tone of voice ในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำได้อย่างชัดเจนมาก เริ่มตั้งแต่ชื่อแบรนด์ Philosophy แปลว่าปรัชญา เค้าก็นำเสนอผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ถ้อยคำที่สละสลวยผ่านตัวอักษรมาร้อยเรียงเป็นปรัชญาได้สอดคล้องกับ
ความเชื่อของแบรนด์ที่มีทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความงาม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ “hope in a jar” นำปรัชญาเกี่ยวกับความหวังมาเป็นแรงบันดาลใจให้คุณผู้หญิงลุกขึ้นมาสวยอีกครั้งด้วยครีมจาก philosophy “don’t lose hope you never know what tomorrow may bring” อย่าสูญสิ้นความหวัง คุณไม่อาจรู้ว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และ ใช้คำพูดที่เป็นแรงบันดาลใจมาเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เซรั่มย้อนวัยผิว “it’s time to try something ” ถึงเวลาแล้วที่จะลองสิ่งใหม่ๆ กับผลิตภัณฑ์ “Time in a bottle”

PhilosophyLogo
10329909_639689776123706_8238900037356974064_o 10307198_637090986383585_834696710383092211_n 10434242_648275395265144_1473600588057697396_n

ทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำได้ง่ายและสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างคู่แข่งแบรนด์อื่นได้ นอกจากนี้ Tone of voice ที่ดีมันจะส่งข้อความที่สื่อสารแนวช่วยกระตุ้นหรือโน้มน้าว ไม่เพียงแค่นั้นมันจะส่งความรู้สึกผ่านไปได้ด้วย คล้ายๆ กับคนล่ะครับ เวลาเราจะคุยกับใครสักคนแบบจริงๆจังแล้วนั้น เราจะรับรู้ได้ว่าคนๆนั้นใช้ความรู้สึกคุยกันกับเรารึเปล่า

 

ถ้าพูดถึง Tone of voice จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือ ให้พิจารณาจากแบรนด์ของคุณเองว่าต้องการให้แบรนด์ของคุณมีคุณค่าอะไรในสายตาผู้บริโภค
โดยใช้การสื่อสารถ่ายทอดเป้าหมายเหล่านั้นออกมาให้ดูมีคุณค่าและตราตรึงในใจกลุ่มเป้าหมาย คุณค่าอะไรที่คุณอยากบอกให้โลกรับรู้? เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าคุณจะได้ตัดสินใจว่าจะส่งสาร Tone of Voice ออกไปอย่างไรนี่คือจุดเริ่มต้นที่คุณจะสามารถนิยามวัตถุประสงค์หลักในการสื่อสารของแบรนด์คุณเพื่อนำไปสู่การสร้าง Tone of voice

การสร้าง Tone of voice ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายซักเท่าไหร่ ก็เหมือนกับการสร้างแบรนด์ทางการตลาดนั่นแหละครับ คุณต้องรู้ก่อนว่าแบรนด์ของคุณมีจุดยืนหรืออยากให้คนที่มองเข้ามารู้สึกอย่างไรกับแบรนด์คุณ ดังนั้น
สิ่งที่สำคัญลำดับต่อมาก็คือ การใช้ภาษาในการสื่อสารครับ ไม่ว่าจะเป็น คำศัพท์ รูปประโยค หรือสัญลักษณ์ รูปแบบตัวอักษร แม้กระทั่งการออกแบบกราฟฟิกก็สำคัญด้วยนะครับ ลองคิดเล่นๆ นะครับ เวลาคุณพิมพ์อีเมลหาลูกค้าเพื่อติดต่องานกัน ภาษาที่ใช้ก็ต้องค่อนทางเป็นไปในเชิงทางการ แต่ถ้าพูดคุยติดต่อกับเพื่อนร่วมงาน ภาษาที่ใช้ก็ไม่ใช้ทางการ เน้นการพูดคุยเป็นกันเองมากกว่า ใช่แล้วครับ การใช้ภาษาในการสร้าง Tone of voice ก็เหมือนกันครับ ต้องปรับให้เข้ากับอารมณ์และความรู้สึกของแบรนด์คุณที่คุณคิดไว้ว่าอยากให้ผู้อื่นรับรู้ไปในอารมณ์แบบไหนนะครับ ตัวอย่างที่น่าสนใจ “Innocent” แบรนด์น้ำผลไม้ชื่อดังประเทศอังกฤษ นับว่าเป็นแบรนด์ที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้ภาษาและสื่อความเป็น Tone of voice ผ่านทางผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ หรือสื่อโฆษณาต่างๆ ได้อย่างมีเอกลักษณ์ โดยเป้าหมายของแบรนด์ที่ต้องการสื่อไปยังผู้คนก็คือ ความไร้เดียงสา innocent ความแตกต่างที่โดดเด่น ความเป็นมิตร เป็นกันเอง และความมีเสน่ห์น่าสนใจ ลองมาดูตัวอย่างการใช้ Tone of voice ของ Innocent ในช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ “Big thanks from the big Knit” ชื่อแคมเปญสื่อความหมายได้ดีสื่อถึงความยิ่งใหญ่ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและแสดงความขอบคุณ “Big thanks” ไม่เป็นทางการแต่ได้ความรู้สึกจริงใจ

Dude_Logo_StraplineScreen Shot 2559-06-18 at 7.37.29 PM

ข้อความในทวิตเตอร์ ที่มีการเล่นคำ ใส่มุขตลกๆ ให้คนได้มีอารมณ์สนุกดึงดูดความสนใจให้คนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือ แม้กระทั่ง Facebook cover page ที่มีการใช้รูปประโยคง่ายๆ “Say hello to our new veg pots” แต่สามารถสื่อถึงความต้องการที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ได้อย่างมีเอกลักษณ์
twittterInnocent

FB

โดยกลยุทธ์ที่ทาง Innocent ปรับใช้ในการสร้าง Tone of voice ได้อย่างมีเอกลักษณ์ และประสบความสำเร็จ คือ
1. การใช้ภาษาที่เป็นมิตร คือ ไม่เป็นทางการมากเกินไป เข้าใจ และเข้าถึงความรู้สึกของผู้รับสาร โดยอย่างที่กล่าวข้างต้น Innocent รู้จุดยืนและความต้องการของตัวเองได้ชัดเจนมากๆ ดังนั้น แบรนด์จึงสื่อสารโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมือนกับใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ภาษาที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเข้าถึงได้ และคุ้นเคย สามารถจดจำและมึความรู้สึกร่วมไปกับภาษาที่ใช้ได้อย่างดี จึงไม่แปลกใจเลยว่า แคมเปญเพื่อการกุศลหลายๆ แคมเปญของ Innocent ประสบความสำเร็จและสร้างเอกลักษณ์และชื่อเสียงให้กับแบรนด์และผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก
2.ใช้ช่องทางการสนทนาอื่นๆ สำหรับติดต่อ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ เช่น Facebook Twitter
นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สามารถใช้ข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้อื่น มาช่วยประเมินถึง Tone of voice ที่เราต้องการสื่อไปยังผู้อื่น ว่าสามารถรับรู้และเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกไปในทิศทางที่แบรนด์ตั้งใจและวางไว้หรือไม่ ถ้าแนวโน้มไปคนละทิศทาง แสดงว่า ภาษา หรือรูปประโยคที่ใช้ อาจมีข้อผิดพลาดในการสื่อสารที่ต้องปรับปรุงใหม่ หรือปรับแนวคิดใหม่ให้สอดคล้องกับกลุ่มหรือเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี หัวใจหลักของการสร้างเอกลักษณ์ของ Tone of voice ที่สำคัญ คือ หัวใจของแบรนด์คืออะไร การเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับแบรนด์ อารมณ์ของภาษาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และมีการพัฒนาปรับปรุงภาษาให้ทันสมัย ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เพียงเท่านี้ สำเนียงหรือภาษาแบรนด์ของคุณก็จะเข้าไปอยู่ในใจผู้คนได้อย่างประสบความสำเร็จครับ

Cr. SMEs Plus Magazine, ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงทุกๆแหล่ง

Filed under: Other, , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ขอซูฮก..!!! นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทยได้ที่ 1 โลก Best of Food Category

เราคงเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ECD แห่ง Prompt Design กันมาบ้างแล้ว ทั้งบทบาทของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์รางวัลระดับโลกมากมาย ทั้งรางวัลที่หนึ่งของ The Dieline Awards และเหรียญทองของทาง PENTAWARDS มาหลายครั้ง อีกทั้งยังถูกรับเชิญไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทยในการตัดสินการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกอย่าง PENTAWARDS

แต่ครั้งนี้ไม่ธรรมดาอีกแล้วครับ ขอย้ำ คือ บริษัท Prompt Design ได้ไปคว้ารางวัล Best of the Food (Platinum) ของสมาคม PENTAWARDS (WORLDWIDE PACKAGING DESIGN AWARDS COMPETITION) ซึ่งพูดกันง่ายๆว่า เป็นผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุด ในหมวดหมู่อาหารทั้งหมดของทั้งโลกในปี 2015 เลยทีเดียว ถือว่าไม่ธรรมดามากๆ เพราะหมวดหมู่อาหารนั้นมีมากเป็นอันดับหนึ่งของหมวดหมู่ทั้งหมด นี่เป็นความมานะพยายามและอุดมการณ์ที่แน่วแน่ของทางคุณสมชนะ กังวารจิตต์ และทีมงานบริษัท Prompt Design ที่พยายามผลักดันวงการออกแบบรรจุภัณฑ์ของไทย โดยคนไทย ไปอยู่ในเวทีโลกเสมอมา

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณคือนักออกแบบไทยที่สุดยอดมากๆ

PENTAWARDS_2015_GALA_00329_Somchana_Prompt_Design_packaging

Somchana Kangwarnjit Jury Member PENTAWARDs from Thailand

PENTAWARDS_2015_GALA_00299

PENTAWARDS_Platinum_Awards_Winner_Packaging_Prompt_Design

Prompt Design Best Package Design of the Food Category of the world

 

Prompt_Design_Pentaward_Platinum

Prompt Design Platinum Award Winner

ผลงานที่ได้รับรางวัลนี้คือ JL Fruit Signature

In the city of Chantaburi (Thailand) lives a farmer who loves growing fruit. Because of the care given at each step of the fruit production, his farm products are recognized as premium grade quality.

A big company bought all the fruit from his farm. Unfortunately his farm products were mixed, packaged together and sold with lower grade fruit, much to his disappointment. This prompted the launch of JL Fruit in 2014 to enable consumers to enjoy the authentic taste of the premium grade fruit from his farm.

The packaging is made of a clear thermoform box showing the fruit contained inside, and a label displaying a beautiful close-up image of the fruit’s skin.
From a distance this design is wholly distinctive on the shelf, with a strong appetite appeal which helped its successful market launch.

PENTAWARDS PLATINUM WINNERPENTAWARDS-2015-003D-PROMPT-FRUIT-SIGNATURE-570x570 PENTAWARDS-2015-003C-PROMPT-FRUIT-SIGNATURE-570x570 PENTAWARDS-2015-003B-PROMPT-FRUIT-SIGNATURE-570x570

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Category Code คืออะไร?

วันนี้ผมมีคำถามง่ายๆ มาให้ทุกท่านลองคิดกันดูเล่นๆ นะครับ ว่าเวลาท่านไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ ท่านใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเลือกซื้อกันบ้างครับ ความต้องการ ความจำเป็นที่ต้องใช้ หรือความอยากที่จะทดลองสินค้าใหม่ๆ แล้วถ้าสินค้าที่ท่านต้องการซื้อ มีตัวเลือกมากมายหลายแบรนด์ หลายประเภทเยอะแยะไปหมด ท่านจะพิจารณาจากอะไร แน่นอนครับ ชื่อแบรนด์ที่คุ้นหูติดตาอาจจะมาก่อนอันดับแรก แต่ถ้ามีความแปลกใหม่ดีไซน์สะดุดตาวางบนเชลฟ์เด่นกว่าแบรนด์อื่นก็อาจจะถูกใช้เป็นเกณฑ์ที่ถูกเลือกได้เช่นกัน

panogram shelf display
เอาละครับ วันนี้!! ผมมีประเด็นน่าสนใจเหมาะสำหรับผู้ประกอบการทุกท่านได้นำไปประยุกต์ใช้กับการจัดวางสินค้าแบรนด์ของท่านให้ประสบความสำเร็จโดยมีหัวใจสำคัญ 3 ข้อสั้นๆครับ ข้อแรก คือ จัดวางต้องดูโดดเด่นเมื่อวางบนเชลฟ์ และสามารถดึงดูดสายตาผู้พบเห็นได้ ข้อสอง ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถกระตุ้นต่อการซื้อสินค้า สามารถอธิบายลักษณะเฉพาะ หรือจุดขายของสินค้าได้ และใช้เวลาที่เหมาะสมในการรับรู้ข้อมูลได้อย่างตรงประเด็นครบถ้วน และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย คือ ต้องสอดคล้องกับ Brand Positioning เพื่อสามารถช่วยสร้างคุณค่า และความเชื่อของแบรนด์ได้อย่างแท้จริงครับ

package design code cooking oil_01

Category-Code

โดยหลักการ 3 ข้อนี้นะครับนำมาเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของคนเราได้ คือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เมื่อต้องการเลือกซื้อสินค้าอะไรก็แล้วแต่สมองของคนเราจะรีบนำข้อมูลเก่ากลับมาใช้หรือความรู้จากประสบการณ์เดิมมาช่วยในการพิจารณา ถ้าเป็นสินค้าก็จะพยายามนึกถึง Product’s category ของหมวดหมู่สินค้านั้น ถ้าเป็น Designer จะเรียกว่า “Category code” ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากซื้อน้ำมันพืชซักขวด เราก็จะนึกถึงภาพในหัวว่า น้ำมันพืชต้องมีลักษณะบรรจุภัณฑ์อย่างไร ใส่ขวดแบบไหน ภาพกราฟิกที่เคยเห็นเป็นอย่างไร หรือสีสันที่ใช้เป็นสีอะไร ทั้งหมดล้วนมาจากประสบการณ์หรือความรู้ความทรงจำเดิมๆ ที่สามารถนึกขึ้นมาได้ ดังนั้น เราจึงมุ่งตรงไปที่เชลฟ์เลือกขวดน้ำมันพืช ซึ่งสินค้าหมวดหมู่เดียวกันความแตกต่างจะอยู่ที่ แบรนด์สินค้า ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ ข้อมูลองค์ประกอบต่างๆที่แสดงไว้ ณ จุดขาย และตำแหน่งการวาง โดยปกติเมื่อคนจะเลือกสินค้าจะใช้สัญชาตญาณ (Intuition) ก่อนแล้วจึงตามด้วยการใช้เหตุผล (Reasoning) เพราะสมองของมนุษย์ชอบความเร็ว ดังนั้น คนต้องการที่จะตัดสินใจทันทีทันใดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งนับว่าสำคัญมากนะครับในธุรกิจปัจจุบันที่ต้องเข้าใจถึงหลักการในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคหรือลูกค้า

Cognitive-DissonanceRené-Magritte-Not-to-Be-Reproduced-1937-MoMA-LR

อย่างไรก็ดี หลายๆ ครั้งที่บริษัทต่างๆ พยายามเสนอสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ หรือพัฒนาเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ ที่รวมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และจุดขายไว้ ถ้าประสบความสำเร็จก็จะกลายเป็นมาตรฐานแบบอย่างให้แบรนด์อื่นได้ทำตาม โดยจะเห็นว่าสินค้าในแต่ละหมวดหมู่จะมีแบรนด์สินค้าที่เป็นผู้นำตลาดอยู่ไม่กี่แบรนด์ ซึ่งแบรนด์อื่นก็จะพยายามทำตามเพื่อให้เป็นผู้นำบ้าง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการแข่งขันนั้น รูปแบบจุดขายในหมวดหมู่สินค้าเดียวกันบางครั้งจะมีรูปแบบคล้ายกันมาก จนบางครั้งเกิดความสับสนหยิบผิดหยิบถูกก็มีครับ ลองคิดดูนะครับว่า จำเป็นหรือไม่ ที่แบรนด์ใหม่ที่อยากจะเป็นแบรนด์ชั้นนำบ้าง จำเป็นหรือที่จะต้องทำเหมือนกับแบรนด์ชั้นนำที่มีอยู่ในตลาด คำตอบคือ ไม่จำเป็นครับ!!! วิธีการก็คือ ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้ผู้บริโภครู้ถึงคุณประโยชน์ใหม่ๆ ของสินค้าเราที่แตกต่างจากคนอื่นอย่างสิ้นเชิง เช่น เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ (New Technology) แนวปฏิบัติใหม่ (New regulations) และโครงสร้างใหม่ๆ (New Infrastructure) ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ จะสร้างการรับรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับผู้บริโภคได้รับรู้ ที่เรียกว่า “Cognitive Dissonance” คือ การไม่ลงรอยกันของการรู้คิด เป็นทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์กระตุ้นให้เราเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม สั้นๆ ง่ายๆ เลยครับ อะไรที่เราคาดหวังว่าจะเห็น กลับสิ่งที่เจอไม่เหมือนกัน เป็นเทคนิคที่ถูกออกแบบมาจะช่วยทำให้สร้างการจดจำใหม่เป็นประสบการณ์ใหม่ได้ดี ตัวอย่างเช่น ภาพวาดของ Rene Magritte ชื่อว่า “Not to be Reproduced” ที่มีรูปผู้ชายยืนมองกระจกแต่รูปสะท้อนในเงากระจกกลับไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เห็นเป็นภาพเดียวกัน แทนที่จะสะท้อนเป็นไปตามกฎทางกายภาพ ซึ่งตรงจุดนี้แหละครับ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เป็นที่จดจำได้โดยฉีกรูปแบบเดิมๆ ใส่นวัตกรรมใหม่ๆ ต่างๆลงไป และเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจและเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ แบรนด์ของเราโดยการใช้การสื่อสารถึงคุณประโยชน์เข้ามาช่วย

Dyson-Code

ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว คือ เครื่องดูดฝุ่น แบรนด์ Dyson เมื่อปี 1990 ได้ดีไซน์เครื่องดูดฝุ่นออกมาที่มีเอกลักษณ์ นับว่าประสบความสำเร็จมากในสมัยนั้น หลังจากนั้นในปี 2014 ก็มีการพัฒนาแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ชื่อรุ่น DC54 Animal cylinder นับว่าเป็นการปฎิวัติพลิกโฉมเครื่องดูดฝุ่นและเป็นผู้นำให้กับแบรนด์อื่นได้ทำตาม เห็นมั้ยละครับว่า ถ้าแบรนด์ของท่านมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนใคร ก็สามารถเป็นผู้นำและสร้าง Category Code ใหม่ให้เป็นที่จดจำและทำตามได้

Diamond-Grains-Granola-Packaging-Design

Diamond-Grains-Granola-Packaging-Design2

ถ้ายกตัวอย่างแบรนด์ไทยๆ ท่านอาจจะเห็นภาพชัดขึ้น อย่างเช่น แบรนด์กราโนล่าคลีน (Granola) เจ้าแรกอย่าง Diamond Grains ซึ่งปกติแล้วแต่เดิมแบรนด์อื่นๆของกราโนล่าที่นำเข้ามาขายในไทยนั้น จะขายแบบใส่กล่องบ้าง หรือใส่ซองบ้างก็ดี แต่ด้วยหลักคิดที่ใส่ใจผู้บริโภคและฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆของแบรนด์กราโนล่า Diamond Grains ไม่ได้มองแบบนั้น เค้าฉลาดเลือกที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ Tray แบบ Single Serve เป็นเจ้าแรก ทำให้กลายเป็นการสร้าง Category code ใหม่ขึ้น ดังนั้นจึงทำให้คู่แข่งที่ตามมาภายหลังอีกมากมายจำเป็นต้องเลือกใช้ Tray Single Serve เช่นเดียวกัน นี่ถือเป็น Case Study ที่มหัศจรรย์มากๆของ SME ไทยในเรื่อง Category Code เลยที่เดียว

package design Cooking oil_02

ถ้าสมติว่าเราจะออกแบบน้ำมันมะกอกสุกยี่ห้อนึงล่ะจะทำอย่างไร ตามมาเลยนะครับ ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะกอกนั้นเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศมากๆ จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายร้อยแบรนด์ โดยถ้าให้ลองนึกถึงภาพสินค้าน้ำมันมะกอก ทุกคนอาจจะนึกถึง สีเขียวใส ภาพผลมะกอก ใส่ขวดแก้ว เป็นต้น เพราะเป็นความทรงจำหรือประสบการณ์ที่เราพบเห็นเป็นส่วนมาก ดังนั้น ถ้าจะมีแบรนด์ใหม่อยากจะผลิตสินค้าน้ำมันมะกอกบ้างละ จะทำอย่างไรดี แน่นอนครับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์นี่แหละครับที่จะเป็นอาวุธหลักสำคัญให้สามารถแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ได้ แต่ก็ไม่พอนะครับ โครงสร้างทางบรรจุภัณฑ์ก็มีส่วนช่วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่แบรนด์ใหม่ๆ ควรจะมีคือ นวัตกรรมในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์เอง และตัวบรรจุภัณฑ์ ให้มีรูปแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์โดนใจผู้บริโภคในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยครับ

สุดท้าย นอกจากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเป็นแบรนด์ผู้นำแล้วสิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การสร้างเรื่องราวให้เกิดความเชื่อในแบรนด์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะการตัดสินใจซื้อขึ้นอยู่กับข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ เช่น สื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และ POSM Display ต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงว่าจะสามารถช่วยสร้างความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) ที่ต้องพิจารณาจากมุมมองของพฤติกรรมในการซื้อและมุมมองในเชิงจิตวิทยาของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน และสามารถนำเสนอความแตกต่างโดยใช้ “ Touchpoints” จุดสัมผัสแรกที่ลูกค้าได้พบเห็นผ่านตัวบรรจุภัณฑ์สินค้าที่จะออกแบบเพื่อสื่อสารระหว่างลูกค้าและผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการได้ตรงจุดและโดนใจผู้บริโภคได้อย่างไร

Cr. SMEs Plus Magazine, ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงทุกๆแหล่ง

Filed under: Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Eye Tracking Technology

ปัจจุบันไม่ว่าจะบริษัทยักษ์ใหญ่ แบรนด์ดังทั้งหลาย ก็คลอดสินค้าใหม่แตกไลน์ผลิตภัณฑ์มากมาย นี่ยังไม่รวมแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยของชาว SME อีกนะครับ ถ้าให้ลิสต์รายการแบรนด์และสินค้าที่ออกใหม่คิดว่าคงจะใช้เวลาถึงปีหน้าก็ไม่รู้ว่าจะครบหรือเปล่า ก็มันมากมายมหาศาลจริงๆ นี่ครับ เอาละครับ!! วันนี้ผมจะมาแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิจัยการตลาดที่น่าสนใจให้กับทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันนะครับผม เริ่มกันเลยครับ…
การวิจัยทางการตลาด (Marketing Research) เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อนำไปปรับใช้และช่วยในการวางแผน การตัดสินใจในการผลิตสินค้าและบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
การวิจัยทางการตลาด มีหลากหลายมากครับ เช่น การสัมภาษณ์ แบบตัวต่อตัว แบบกลุ่ม การแจกแบบสอบถาม ทั้งออนไลน์ออฟไลน์ เป็นต้น โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็นสองประเภท คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) หรืออาจรวมใช้ทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ได้ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยว่าต้องการข้อมูลเชิงลึกหรือละเอียดแค่ไหน

shutterstock_186692354
นอกจากนี้ การวิจัยข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Eye Tracking ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกันครับ ถึงแม้ว่า Eye Tracking ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้วิจัยข้อมูลแบบใหม่ล่าสุด เพราะมีการใช้และพัฒนามาเรื่อยๆ เป็นหลายสิบปีแล้ว มีจุดเริ่มต้นใช้ในทางทหารและทางการแพทย์จนถึงปัจจุบันที่พัฒนามาใช้สำหรับการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค การวิจัยเกี่ยวกับการซื้อสินค้าในร้านค้า การวิจัยด้านโฆษณา การวิจัยทางด้านกีฬา การวิจัยด้านการขับขี่ และการวิจัยด้านการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น Eye Tracking เป็นเครื่องมือที่วัดผลเชิงการมองเห็น ใช้บันทึกพฤติกรรมการมองของจริงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้วัดผลว่าคนส่วนใหญ่มองกันอย่างไรครับ โดยการทำงานของ Eye Tracking จะตรวจจับปฏิกิริยาตอบสนองจากสายตาของผู้ใส่เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแว่นวัดผลได้แบบ Real time โดยจะจับความสนใจที่ผู้ใส่มองไปยังจุดต่างๆ

Tobii Glasses

market shelf tropicana

แบบ Heat Map

Visualizing_Analyzing_eye movement data

Gaze Plots (การพล็อตจุดเชื่อมกัน)

ตัวอย่างเช่น วัดผลการจัดวางผลิตภัณฑ์ใหม่บน Shelf แล้ววิเคราะห์จากการเคลื่อนไหวสายตาว่ามี impact กับผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง สนใจมองหรือเพ่งเล็งจุดไหนเป็นพิเศษ ทิศทางการมอง จุดไหนที่ไม่ได้รับความสนใจเลย โดยการข้อมูลที่แสดงก็จะอยู่ในรูปแบบ Gaze Plots (การพล็อตจุดเชื่อมกัน) แบบ Heat Map (วัดจากระดับความสนใจไล่ตามสเกลสี แดงคือได้รับความสนใจมากที่สุด) Clusters แบ่งกลุ่ม และ Areas of Interest (AOI) การกำหนดพื้นที่ที่สนใจ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันนะครับคงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยเลือกการวัดผลแบบไหนที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ ทั้งด้านการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เมื่อวางบน shelf ในแต่ละสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์คู่แข่ง การวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยเพื่อนำไปปรับแก้และพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ดังนั้น Eye Tracking ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลายในบริษัท FMCG ที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการแข่งขันสูง
ตั้งแต่เริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้พื้นที่และการจัดวางสินค้าบน Shelf ที่มีค่าใช้จ่ายในการวางสินค้าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถ้าไปวางในห้างหรือซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำที่มีโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ควรจะใช้การวิจัยทางการตลาดต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม เราควรจะทำอย่างไร ให้สินค้าของเราสามารถขายได้เอง ผ่านตัวแทนขายที่เรียกว่า บรรจุภัณฑ์ (Package) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์มาช่วยออกแบบบรรจุภัณฑ์ ถ้าบรรจุภัณฑ์ใดได้รับการออกแบบที่ดีก็เปรียบเสมือนมีพลังวิเศษที่ทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าดูโดดเด่นมีออร่าเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถช่วยขับเคลื่อนแบรนด์สินค้า ถ่ายทอดและเชิญชวนไปยังผู้บริโภคดึงดูดให้มาหยิบมาจับมาเลือกซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำของแบรนด์ในที่สุด เพราะฉะนั้นการทำการวิจัยเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ก่อนที่จะออกสู่ตลาดนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการ นักการตลาดและนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรจะให้ความสำคัญเพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์และประเมินผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการได้อย่างตอบโจทย์โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
Herbal2herbal1

ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่ พีแอนด์จี หรือ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G: Procter & Gamble) จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคหลากหลายยี่ห้อ อาทิ แพนทีน โอเลย์ รีจ๊อยซ์ วิสเปอร์ เฮดแอนด์โชว์เดอร์ และอื่นๆอีกมากมาย ก็ใช้การวิจัยข้อมูลโดยใช้ Eye Tracking ช่วยประเมินผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Herbal Essences โดยให้ความเห็นว่าบางครั้งสิ่งที่ผู้บริโภคพูดกับปฏิกิริยาที่ตอบสนองออกมานั้นไม่เหมือนกัน การสัมภาษณ์หรือถามความคิดเห็นโดยตรงจากผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าที่วางบน shelf ก็เช่นกัน ผู้บริโภคมักจะตอบจากความคิดที่เกิดจากประสบการณ์หรือความทรงจำเก่าๆ มาช่วยตอบแสดงความคิดเห็น ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ใช้ข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้น P&G จึงนำ Eye Tracking มาช่วยในการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยนำผลวิจัยจาก Eye Tracking มาพัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเปลี่ยนรูปทรงและฉลากดีไซน์ใหม่ทำให้ผลิตภัณฑ์ herbal Essences ในโฉมใหม่สามารถโดดเด่นมีจุดดึงดูดสายตามากขึ้นและสามารถช่วยเพิ่มยอดขายขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การวิจัยทางการตลาดก็เปรียบเสมือนเนวิเกเตอร์ที่จะช่วยประเมินทิศทางให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการว่าควรจะไปในทิศทางใด ไปทางไหนจะถึงเป้าหมายได้อย่างปลอดภัย ไปทางไหนจะเสี่ยงและเป็นอันตราย การวิจัยทางการตลาดก็สามารถเป็นทั้งเนวิเกเตอร์และถุงลมนิรภัยให้สินค้าและบริการของท่าน ถึงที่หมายหรือเป้าหมายได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่าแก่การเดินทางมากที่สุด
Cr. Smes Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

สมชนะ กังวารจิตต์ กรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS ปี 2015

ไม่บ่อยครั้งนักที่คนไทยจะผงาดในเวทีโลก โดยเฉพาะทางด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากว่าประเทศไทยเรายังไม่ได้เห็นคุณค่าของบรรจุภัณฑ์เท่าที่ควรเหมือนอย่างประเทศที่เป็นมหาอำนาจแล้วที่พัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเหตุที่ว่าตัววัตถุดิบสินค้าการเกษตรส่งออกไปขายทั่วโลกจะมีมูลค่าต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นเหตุที่ต้องมีการพัฒนาแปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่า และนำมาสร้างแบรนด์โดยการใส่บรรจุภัณฑ์สวยงาม จึงยิ่งทำให้มีมูลค่ามากขึ้นไปอีก
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design หนึ่งในกรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกผู้ทรงคุณวุฒิคนไทยที่ไปสร้างชื่อให้โลกอย่างแท้จริง กล่าวว่า “ตัวเขาเองมี Passion ในเรื่องบรรจุภัณฑ์มาก ทำให้เขาไปเปิดตลาดในโลก และเรียนรู้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าของสินค้าผ่านบรรจุภัณฑ์ เพื่อจะมาพัฒนาผู้ประกอบการไทยแบบยั้งยืนต่อไป และคุณสมชนะยังกล่าวต่อไปอีกว่า ยิ่งประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรมากมาย ทำให้เราควรที่จะต้องให้การตระหนักเรื่องการสร้างมูลค่าผ่านการออกแบบ เข้าไปอีก”
london-home-page-packaging-prompt-designriba1
ผลงานของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นั้นได้รับการยอมรับจากวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง Packaging City ได้เสนอเรื่องราวของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ ไปบ้างแล้ว ล่าสุด ณ กรุง LONDON ประเทศอังกฤษ จะประกาศรางวัลบรรจุภัณฑ์จากสมาคม PENTAWARDS หรือ สมาคมออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกโดยมี คุณสมชนะ กังวารจิตต์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในปฐพีนี้มี 13 ท่าน คือ
1. Gérard Caron – Chairman of the Pentawards, France
2. Somchana Kangwarnjit – Prompt Design, Thailand
3. Asa Cook – Design Bridge, UK
4. Moyra Casey – After Hours, UK
5. Isabelle Dahlborg Lindström – NINE AB, Sweden
6. Dayton Henderson – Global Design for Kimberly-Clark Corporation, USA
7. Takeshi Usui – Kanagawa – Pola Art Foundation, Japan
8. Anna Lukanina – Depot WPF, Russia
9. Sarah Moffat – Turner Duckworth, USA
10. Elie Papiernik – centdegrés, France
11. Gregory Tsaknakis – Mousegraphics, Greece
12. Jamie Stone – GSK, Singapore
13. Olof ten Hoorn – Cowan, Australia
Chaired by Gérard Caron-France, the truly International Jury of the 9th Pentawards is composed by 12 highly esteemed packaging designers and brand-owners.

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us