Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทึ่ง!!! น้ำดื่ม C2 Water น้ำดื่มที่คว้ารางวัลมากที่สุดในโลก

น้ำดื่มซีทรู คือ น้ำดื่มที่ไร้ฉลากเจ้าแรกในประเทศไทย ที่ได้รางวัลระดับโลกมากถึง 11 รางวัล ออกแบบโดย Prompt Design

กรรมการระดับโลกพูดถึงผลงานนี้ว่าอย่างไรบ้าง???

“A stunning, tactile, eco design. This is a very effective piece of packaging design for ‘no label’ bottled water driven by deep consumer insight. The clever design details and wonderful execution make this a standout entry in this category. Well done.”

“น่าทึ่งมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่มีฉลาก ซึ่งล้วนวิเคราะห์มาจากข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดและยอดเยี่ยม จึงทำให้รายการนี้โดดเด่นในหมวดหมู่ ยอดเยี่ยมมาก”

วิธีคิด และคำอธิบายผลงาน :
หลังจากที่พวกเราเก็บข้อมูลในมุม Consumer Insight ของผู้บริโภคมาแล้วพบว่า การทำขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฉลากนั้น จะเกิดปัญหาทั้งหมดอยู่ 2 อย่าง ก็คือ 1. ตำแหน่งรายละเอียดข้อมูลทางโภชนาการและส่วนผสมต่างๆตามกฎหมาย และรายการบาร์โค้ดที่จะต้องใช้ในระบบพวกห้างต่างๆ 2. ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ดีไซน์ที่ไม่มีฉลากนั้นดูเสมือนว่า มันเป็นมันเป็นเพียงการลดต้นทุนและปลอมตัวมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม มันดูไม่คุ้มค่ากับเค้าเลย

พอเราเข้าใจถึง Consumer Insight แล้วเราจึงมาใช้ดีไซน์ในการแก้ปมปัญหาของทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.เรานำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นตามกฎหมายมาใส่บนตัวขวดด้วยวิธีการปั๊มนูน Emboss และเรานำบาร์โค้ด มาสกรีนลงบนฝาขวด 2. เราเจตนาที่จะสร้างลวดลายให้สวยงามเป็น Collection ต่างๆ และเล่าเรื่องถึงผลกระทบที่ได้จากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาสัตว์ต่างๆ ที่มีความสุขท่ามกลางธรรมชาติที่ดีของพวกเขา ทั้งบนบก, ในทะเล, บนท้องฟ้า และในหิมะ เช่น กวางที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์, หมีขาวที่อยู่ในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ มาเล่าเรื่องผ่านลวดลายปั๊มนูนบนขวดน้ำที่น่าสนใจมากๆ

ชื่อของแบรนด์น้ำดื่ม C2 มีที่มาจาก See Through หรือ Circular Economy + 2gether สะท้อนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการของแบรนด์นี้


แบรนด์น้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label ถูกตีพิมพ์ในนิตรสารดังของประเทศอังกฤษ อย่าง ECO PLASTIC IN PACKAGING : October 2022 และ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือดีไซน์ของอิตาลี BEST IN PACKAGING 2021


รวมถึงน้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label จะไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ MODA (Museum of Design Atlanta) USA ซึ่งนิทรรศการที่จะไปจัดแสดงนั้นเกี่ยวกับ “food packaging design”,”การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร” จัดที่ MODA Museum of Design Atlanta (Atlanta, USA) ซึ่งนิทรรศการนี้ Curate โดย Elisabetta Pisu และ Amina Pereno นักวิจัยที่ POLITECNICO OF TURIN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคดิจิทัล นิทรรศการที่ Atlanta นี้ จะเป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การค้นพบวัสดุที่เป็นจุดเริ่มต้น รวมถึงจุดเปลี่ยนในการปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ไปสู่อนาคต (ทั้งบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ, ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหาร)

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Lays เลย์ปรับ Packaging ใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

มันฝรั่งแผ่นเลย์ (Lays) ปรับโฉมใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

Frito-Lay จากบริษัท PepsiCo ได้ปรับปรุงโฉมมันฝรั่งทอด Lays ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ นับเป็นการปรับบรรจุภัณฑ์ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วในเดือนกันยายน 2562 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทย จะตามมาหลังจากนั้น

Print

แนวคิดบรรจุภัณฑ์ใหม่ มาจากเอเจนซี่นิวยอร์คมีนามว่า Vault49 ใช้แนวคิดที่ว่า  InstaWorthy เป็นการถ่ายภาพที่ต่างจากภาพถ่ายบนบรรจุภัณฑ์ตัวเก่า ภาพถ่ายใหม่นี้จะเป็นถ่ายภาพมุมบนลงล่าง หรือเรียกว่า Top View เหตุผลที่เลือกแนวคิดนี้ก็คือ จากผลวิจัยเรื่องการถ่ายรูปในยุค Social Media Era วัยรุ่นส่วนมากจะถ่ายรูปลง Instagram กัน ซึ่งรูปที่สวยและเป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพอาหารก็คือ มุมด้านบน ดังนั้นจึงเลือกใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย อีกทั้งสัดส่วนของ Ingredients บนหน้าซองใหม่ของเลย์นั้น จะเป็นการใช้สัดส่วน ingredients จริงๆ

Lays-Packaging-City-Rebrand-03.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-01.jpg

นอกจากนี้ตัวโลโก้ของ Lays เองเวลาใช้ในซอง จะให้มีขนาดเล็กลง ตัวอักษรตัว y นั้นจะม้วนหางเก็บ และเพิ่ม space ริบบิ้นแดงให้ชัด เพื่อให้การใช้งานในระดับ favicon ขนาด 16*16 พิกเซล  นั้นยังคงอ่านออกอยู่

ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้น โลโก้เลย์ ถูกขยับมาให้เข้าใกล้กับกลางซอง โดยมี Monochromatic Ring เปล่งแสงจากตรงโลโก้ออกมา กลายเป็นอีกหนึ่ง Brand identity ใหม่ของแบรนด์เลย์ที่จะใช้ต่อไป

Lays-Packaging-City-Rebrand-04.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-06.jpg

ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์นั้น ตกแต่งด้วยภาพและเส้นสายความสนุก สลับคั่นด้วยคำอธิบายรสชาติสี่คำ ตัวอย่างเช่น เลย์ตัว Classic จะใช้คำว่า “Crispy Yummy Deliciously Tasty.”

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

กาแฟดอยช้างได้รับรางวัล Thai Pack Awards 2017 รางวัลบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยม

งาน Thai Pack Awards นั้นจัดขึ้นจากสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ที่ไปสรรหาบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ตามท้องตลาด และคัดเลือกมาให้คะแนนที่ผ่านเกณฑ์ต่างๆของสมาคม โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์มาเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1. การสื่อสารกับผู้บริโภคและการโปรโมทสินค้า 2. การปกป้องสินค้าที่บรรจุ 3. ความสะดวก 4. ความเหมาะสมในภาพรวม 5. นวัตกรรม


ซึ่งได้ให้รางวัลทั้งหมด 24 รางวัล หนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเสียงฮือฮามากๆในงาน ก็คือ บรรจุภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์กาแฟดอยช้างโฉมใหม่ เพราะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์นี้ชนะรางวัล

เราต้องปูพื้นฐานของกาแฟดอยช้างก่อนคือ อะไร เป็นใคร มาจากไหน มีความแตกต่างอย่างไร ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงแบรนด์ๆนี้ก่อน


ดอยช้างเป็นกาแฟคุณภาพที่ได้ตรา GI (Geographical Indications) ก็คือ เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรืออาจอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความเชื่อมโยงระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ มันก็คือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะที่มีเฉพาะในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้า อากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มี คุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว โดยคุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะ เฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ไวน์ดีๆที่มาจากแหล่งนี้ ตำบลนี้ อำเภอนี้ ของฝรั่งเศส เป็นต้น นี่แหละคือสิ่งที่ดอยช้างได้ และยิ่งไปกว่านั้น ดอยช้างยังได้ GI ของ ยุโรป อีกด้วย ถือว่าได้ยากที่สุดก็ว่าได้ และยังได้ USDA Organic, EU Organic, Fair Trade และอีกมากมาย

มันคือเครื่องยืนยันคุณภาพอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องรสชาติ ดอยช้างยังได้ Score ของรสชาติกาแฟที่สูงมากๆอีกด้วย เลยทำให้ดอยช้างนั้น เป็นที่ต้องการมากๆของโลก รู้มั้ยครับว่า กาแฟดอยช้างมีขายมากมายหลายประเทศเลยทีเดียวนะครับ และยิ่งไปกว่านั้นกาแฟดอยช้างยังให้วิธีการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise มาก่อนใครเพื่อนอีกด้วย ก่อนที่กระแส Social Enterprise จะดัง ถือว่าเป็นกาแฟที่ทั้งรสชาติดี มีคุณภาพ และยังดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนอีกด้วย ทั้งหมดทั้งปวงนี้พูดไปก็ไม่หมดถึงคุณค่าของกาแฟไทยๆ ยี่ห้อดอยช้างนี้

พอเรารับรู้เรื่องกาแฟดอยช้างแล้ว คำถามคือว่า แล้วบรรจุภัณฑ์ใหม่ของดอยช้าง ควรหน้าตาเป็นอย่างไรดีล่ะ?

บรรจุภัณฑ์โฉมใหม่ออกแบบโดย บริษัท Prompt Design บริษัทไทยที่คว้ารางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลกมาแล้วหลากหลายเวที ทีมงาน Prompt Design ตั้งใจและตั้งคำถามว่า “จะมีมั้ยที่ดีไซน์ทำเพื่อพี่น้องเกษตรกรจริงๆ” น่าสนใจมากๆครับ โดยวิธีการดำเนินธุรกิจของแบรนด์ Doi Chaang Coffee Original คือ สนับสนุนพี่น้องเกษตรกรชาวดอยให้มีวิถีชีวิตที่ดี มีหน้าที่การงานที่มั่นคง

บนพื้นที่ดอยช้างนั้นประกอบไปด้วย พี่น้องชาวเผ่าที่เก็บกาแฟหลากกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เผ่าอาข่า, เผ่าลีซู และ เผ่าจีนฮ๊อ ซึ่งพวกเขาร่วมกันสร้างขึ้นมา แต่เมื่อกาแฟดอยช้างเป็นที่นิยมไปทั่วโลก จึงมีนักลงทุนอยากที่จะมาทำธุรกิจกาแฟบนดอยช้าง จึงชักชวนพี่น้องเกษตรกรเผ่าต่างๆ บ้างก็ถูกเงินซื้อไป บ้างก็ยังอยู่เพราะอุดมการณ์ที่แนวแน่

นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราจะใช้การออกแบบสร้างความสามัคคี และความภาคภูมิใจในความเป็นดอยช้าง โดยการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นสื่อกลางของการสมานสามัคคี ด้วยการออกแบบโดยนำใบหน้าพี่น้องเผ่าต่างๆ มาใส่บน Pouch ในสูตรและรุ่นต่างๆของกาแฟ ด้วยสีหน้าใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสของพี่น้องเกษตรกร มันแสดงถึงความสุขในการประกอบอาชีพการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ หลักการของบรรจุภัณฑ์ คือเราจะเปลี่ยนรูปหน้าผลัดวนกันไปในประมาณช่วงทุกๆ 1ปี เพื่อพี่น้องเกษตรกรจะได้ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำกาแฟคุณภาพไปขายทั่วโลก เมื่อบรรจุภัณฑ์หน้าของตนเองได้ถูกผลิตออกมาขาย

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , ,

นักออกแบบไทยระดับโลก กับความแตกต่างขั้นสุด ในงานTEDx Chiangmai 2016

TEDxChiangMai เป็นงาน TEDx ที่จัดขึ้นโดยอิสระ ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก TED หากแต่ว่า TEDxChiangMai เป็นมากกว่างานสัมมนาทั่วไป มันเป็นเวทีของ “ความคิดที่ ควรค่าแก่การเผยแพร่” จากบุคคลที่เคลื่อนไหวในแวดวงต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอแนวคิด ประสบการณ์ และการปฏิบัติจริง ภายใต้ TED = Technology, E = Entertainment, D= Design เทคโนโลยี, ความบันเทิง และ การออกแบบ

TEDxChiangMai_logo
Tedx Chiangmai Dare to 2016

TEDx ChiangMai ปี2016 มาในธีม “Dare to” กล้าที่จะ….
ซึ่งครั้งนี้มี Speaker จำนวน 22 ท่าน อาทิเช่น
คุณกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เเละอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คุณโจน จันใด ผู้บุกเบิกและก่อตั้งศูนย์พันพรรณ ชุมชนแห่งการพึ่งตนเอง
คุณสุทธิศักดิ์ สุจริตตานนท์ ประธานกรรมการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ BBDO Bangkok
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สจวท เจ ราช เป็นทั้งนักภาษาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญหลายภาษา
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design
คุณโรส ซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ The Rainbow Room ศูนย์ความตระหนักเชิงบวกเกี่ยวกับความต้องการพิเศษ
คุณจันทน์ปาย องค์สิริวิทยา บุคลากรหลักของ WWF ประเทศไทย
คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ Startup
คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล จากธุรกิจบริษัท กล่องดินสอ จำกัด
นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ศัลยแพทย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

Somchana Packaging TEDx Prompt DesignSomchana-Prompt-Design-Packaging-TED-Talk3

Speaker หนึ่งในทีมงาน Packaging City ที่ติดตามเสมอมานั้น ก็คือ
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท Prompt Design ซึ่งในงานนี้หัวข้อที่คุณสมชนะ พูดถึง ชื่อว่า Recreate Packaging เนื้อหาคร่าวๆก็คือ “แกบอกถึงว่าโลกปัจจุบันที่ทุกคนพูดถึงการสร้างความแตกต่าง ซึ่งสำหรับผมความแตกต่างๆในโลกปัจจุบันมันใช้ไม่ได้แล้ว มันต้องสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุด” ในเนื้อหา 10 กว่านาทีนั้น แกมีให้ดูตาราง Differentiation Checklist ด้วย มันคือเครื่องมือไว้เตือนว่า เราสร้างความแตกต่างแบบขั้นสุดแล้วรึยัง

Prompt Design Packaging Design World Thailand

Designing good packaging requires imagination, creativity, and knowledge about materials. To create packaging that stands out from the competition is not easy in a highly competitive market, but Somchana believes it is possible if one pushes oneself. He says that Thai companies often overlook the impact of packaging and should focus more on good packaging design to increase the value of their products in domestic and international markets.

Somchana Kangwarnjit Thailand Designer TEDx Talk Chiang Mai Somchana Kangwarnjit TEDx Talk Somchana Kangwarnjit Designer TEDx Talk 12804733_933056853468899_5815032402795486151_n Somchana Kangwarnjit Packaging Design manny pacquiao10271634_933061436801774_9095272322749282032_n

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

สมชนะ กังวารจิตต์ กรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS ปี 2015

ไม่บ่อยครั้งนักที่คนไทยจะผงาดในเวทีโลก โดยเฉพาะทางด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากว่าประเทศไทยเรายังไม่ได้เห็นคุณค่าของบรรจุภัณฑ์เท่าที่ควรเหมือนอย่างประเทศที่เป็นมหาอำนาจแล้วที่พัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยเหตุที่ว่าตัววัตถุดิบสินค้าการเกษตรส่งออกไปขายทั่วโลกจะมีมูลค่าต่ำ ฉะนั้นจึงเป็นเหตุที่ต้องมีการพัฒนาแปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่า และนำมาสร้างแบรนด์โดยการใส่บรรจุภัณฑ์สวยงาม จึงยิ่งทำให้มีมูลค่ามากขึ้นไปอีก
คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design หนึ่งในกรรมการการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกผู้ทรงคุณวุฒิคนไทยที่ไปสร้างชื่อให้โลกอย่างแท้จริง กล่าวว่า “ตัวเขาเองมี Passion ในเรื่องบรรจุภัณฑ์มาก ทำให้เขาไปเปิดตลาดในโลก และเรียนรู้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าของสินค้าผ่านบรรจุภัณฑ์ เพื่อจะมาพัฒนาผู้ประกอบการไทยแบบยั้งยืนต่อไป และคุณสมชนะยังกล่าวต่อไปอีกว่า ยิ่งประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรมากมาย ทำให้เราควรที่จะต้องให้การตระหนักเรื่องการสร้างมูลค่าผ่านการออกแบบ เข้าไปอีก”
london-home-page-packaging-prompt-designriba1
ผลงานของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นั้นได้รับการยอมรับจากวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง Packaging City ได้เสนอเรื่องราวของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ ไปบ้างแล้ว ล่าสุด ณ กรุง LONDON ประเทศอังกฤษ จะประกาศรางวัลบรรจุภัณฑ์จากสมาคม PENTAWARDS หรือ สมาคมออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกโดยมี คุณสมชนะ กังวารจิตต์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในปฐพีนี้มี 13 ท่าน คือ
1. Gérard Caron – Chairman of the Pentawards, France
2. Somchana Kangwarnjit – Prompt Design, Thailand
3. Asa Cook – Design Bridge, UK
4. Moyra Casey – After Hours, UK
5. Isabelle Dahlborg Lindström – NINE AB, Sweden
6. Dayton Henderson – Global Design for Kimberly-Clark Corporation, USA
7. Takeshi Usui – Kanagawa – Pola Art Foundation, Japan
8. Anna Lukanina – Depot WPF, Russia
9. Sarah Moffat – Turner Duckworth, USA
10. Elie Papiernik – centdegrés, France
11. Gregory Tsaknakis – Mousegraphics, Greece
12. Jamie Stone – GSK, Singapore
13. Olof ten Hoorn – Cowan, Australia
Chaired by Gérard Caron-France, the truly International Jury of the 9th Pentawards is composed by 12 highly esteemed packaging designers and brand-owners.

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Somchana Kangwarnjit from Prompt Design Thailand one of jury members in World Packaging Design Awards Competition PENTAWARDS 2015

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

สร้างแบรนด์เทรนด์ใหม่ ICONIC BRAND

iconic-brands

ปัจจุบันแบรนด์ใหญ่ๆ หลายๆแบรนด์ของโลกเริ่มขยับตัวมากขึ้น พยายามใช้วิธีการออกแบบในเชิง ICONIC กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น โค้ก, เป๊ปซี่, ไฮเนเก้น, Mcdonald’s และมีอีกหลายแบรนด์ที่ผมรู้และยังเปิดเผยไม่ได้ที่กำลังจัดระบบหน่วยการจดจำเชิง ICONIC ซึ่งวันนี้จะมาอธิบายความหมายของ ICONIC และ วิธีการสร้าง ICONIC ทำอย่างไร

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ยกระดับแบรนด์กลายไปเป็นขั้น ICONIC หรือ สัญลักษณ์ได้ แนวความคิดของการออกแบบให้กลายเป็นสัญลักษณ์นั้น พูดง่ายๆเหมือนการสร้างลายเซ็นต์ประจำตัวของแบรนด์นั่นเอง

แต่บางทีแล้วแบรนด์หลายๆแบรนด์ในอดีตนั้นมันเกิดมาด้วยความบังเอิญบ้าง เกิดมาด้วยสินค้าบ้าง เรียกง่ายๆว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่สุดท้ายมันก็โตขึ้นเรื่อยๆ มันเลยไม่มีขั้นตอนความคิดมาในอดีต ซึ่งเราในฐานะคนรุ่นใหม่ที่มาสานต่อนั้นจำเป็นต้องคิดในมุมนี้บ้าง แต่สำหรับแบรนด์หน้าใหม่นั้น เป็นโอกาสของเราที่จะตั้งต้นเพื่อที่จะจัดระบบความคิด เพื่อที่จะก้าวไปสู่ ICONIC BRAND อย่างแท้จริงในอนาคต

iconic-brand-building

อัยย่ะ ICONIC BRAND คืออะไรเหรอ…????

ICONIC BRAND ก็คือการสร้างสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง อย่างมีหลักการเพื่อที่จะทำให้ผู้ซื้อนั้นจดจำแบรนด์ของเราได้ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร M คือ Mcdonald’s, เครื่องดื่มอัดลมสีแดงคือ Coca-Cola, เลข 7 คือ เซเว่น-อีเลฟเว่น, ตัวอักษร LV บนกระเป๋า, เส้นสามเส้น คือ Adidas เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นขั้นสุดของแบรนด์แล้ว พูดง่ายๆก็คือ บางทีเราอาจจะเห็นตัวอักษร M ที่ใดสักที่หนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวกับ Mcdonald’s เลย แต่เราอาจจะนึกถึงมันก็ได้ คราวนี้แบรนด์มันแทบจะเข้าไปฝังไว้ในหน่วยความจำของเราไปโดยปริยาย นี่คือสิ่งที่นักสร้างแบรนด์ต้องการ

โอเคผมว่าทุกๆคนน่าจะพอมองเห็นภาพของ ICONIC BRAND แล้วแหละ ดังนั้นผมของอนุญาตเข้าเรื่องเทคนิคของการสร้างแบรนด์ในส่วนของดีไซน์ เพื่อที่จะให้เป็น ICONIC อย่างแท้จริง ว่าควรต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ข้อที่ 1. ต้องเรียบง่าย

ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ซื้อทุกๆคนนั้น มิได้มีระบบความจำที่แม่นยำเท่าเทียมกัน ดังนั้นการทำอะไรเรียบง่าย น้อยๆนั้น คนทุกๆคนมักจะจดจำได้ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร M Mcdonald’s, แม้แต่ฉลากแถบเฉียงๆของเหล้า Johnnies Walker, เครื่องหมายถูกของไนกี้, ผลแอปเปิ้ล ของบริษัท Apple Computer หรือแม้กระทั้งลวดลายตารางหมากรุกของกระเป๋า Louis Vuitton เป็นต้น ดังนั้นสรุปได้ว่ากราฟิกที่ควรจะต้องใช้เพื่อการเป็น ICONIC มันต้องเป็นอะไรที่ง่ายๆ เช่น เป็นเส้น เป็นรูปทรงเรขาคณิต เป็นตัวเลขตัวอักษร หรือเป็นคน,สัตว์,สิ่งของพื้นฐาน เป็นต้น

Campbells_Marlboro_Packaging_Design

ข้อที่ 2. ต้องเลือกใช้สีพื้นฐาน

สีเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างการจดจำได้ ผมเคยเขียนเรื่องของสีไปเมื่อประมาณปีที่แล้ว (ท่านหาอ่านได้จากนิตยสาร SMEs PLUS เล่มเก่าๆได้) แต่สีที่จะใช้นั้นถ้าเป็นไปได้ควรจะต้องใช้เป็นสีหลัก(แดง เหลือง น้ำเงิน) หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พออนุโลมสีรองก็ได้(ส้ม เขียว ม่วง) เช่น บรรจุภัณฑ์ Marlbolo ที่เป็นรูปตัว M แหลมๆ สีแดง, ซุป Campbells ที่เป็นแถบขาว แดง, หรือแม้แต่เบียร์ไฮเนเก้น ที่เป็นขวดเขียวตราดาวแดง เป็นต้น

packaging coke iconic historyiconic-absolut-vodka-packaging

ข้อที่ 3. ต้องสร้างทรวดทรง

อีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญมากๆที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ICONIC ได้ก็คือ ทรวดทรงองเอวของบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่างจากตลาดแต่ต้องมีความเรียบง่ายอยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างทรวดทรงองเอวก็คือ ขวด Coca-Cola, ขวด Absolut Vodka, ขวดซอส Heinz, เป็นต้น

ข้อที่ 4. ต้องกล้าที่จะต่าง

การออกแบบรรจุภัณฑ์ความยากที่สุดก็คือ การบริหารจัดการพื้นที่บนฉลาก ทั้งแบรนด์ก็ต้องการจะใหญ่ให้เห็นชัด อีกทั้งยังต้องการลวดลายเพื่อที่จะสร้าง ICONIC อีก บางทีอาจจะต้องมีรูปผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่เพื่อจะบอกว่าเป็นสินค้าอะไรอีก สิ่งเหล่านี้คือหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องบริหารจัดการพื้นที่ด้วยเหตุผลและหลักการ เพราะว่าเราก็ยังต้องสู้กับคู่แข่งอีกมากมาย ดังนั้นความแตกต่างเสมือนดั่งความท้าทายความรู้ความสามารถของนักออกแบบนั่นเอง แต่ถึงยังไงผู้ประกอบการต้องพึงเข้าใจถึงข้อนี้ด้วย

toberlone packaging design

ข้อที่ 5. ตอกย้ำจุดยืน

เป็นอีกข้อที่จะต้องเตือนสติถึงจุดยืนของการสร้าง ICONIC เสมือนดั่งแบรนด์ช็อกโกแลต Toblerone ที่คงจุดยืนในรูปทรงช็อกโกแลตรูปสามเหลี่ยมมาโดยตลอด จนทุกๆคนจดจำได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งต้องพยายามนำเสนอจุดยืนประชาสัมพันธ์ออกไปในทุกๆช่องทางที่เป็นไปได้ เพื่อตอกย้ำให้ทุกๆคนรับรูปว่าตัวตนของแบรนด์เรานั้นคืออะไร มีอะไรบ้างที่จดจำได้บ้าง ต้องทำบ่อยๆ จนเข้าไปสู่จนสามารถฉายภาพแบรนด์ของเราในใจเค้าได้ จึงถือว่าประสบความสำเร็จ

Iconic-brand-guideng

บางทีท่านอาจจะไม่สามารถใช้ได้ในทุกๆข้อ ก็ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่ถ้าใช้ได้ทุกๆข้อนั้น พลังความเป็น ICONIC มันก็จะแข็งแกร่งได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเป็นจริงนั้นอาจทำได้ยาก เจ้าของแบรนด์คงต้องพิจารณาเป็นข้อๆไป ว่าข้อไหนเหมาะสมกับแบรนด์ของเราบ้าง หรือข้อไหนจะใช้ในสื่อไหน เป็นต้น แบรนด์ของท่านจะกลายเป็นแบรนด์ที่มีหลักการและแนวทางที่ชัดเจนต่อไป ขอบคุณครับ^^

เครดิต : SMEs Plus

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , ,

แคมเปญ…ไอเดียแจ่ม version โค้ก

วันนี้ขอแนะนำแบรนด์ Coca-Cola ที่ทุกๆคนคุ้นเคย แต่จะเล่าถึงไอเดียของ โคคาโคล่า เจ๋งๆที่คุณอาจไม่เคยรู้เพราะว่า เรารับรู้แค่ในประเทศไทยประเทศเดียว แต่ผมจะไปนำไอเดียของแบรนด์ยักษ์ใหญ่แบบโค้กในต่างประเทศว่าเค้าทำอะไรบ้างมาเล่าให้ท่านๆฟังกันนะครับ

original Coco-ColaHandout Coca-Cola Photograph

เริ่มกันเลยดีกว่าครับ….!!!

ไอเดียที่ 1. ในปี 2011 ที่ผ่านมาแคมเปญหรือไอเดียนี้เริ่มในประเทศออสเตรเลีย ชื่อแคมเปญที่ว่า “Share a Coke” เริ่มช่วงประมาณตุลาคม โดยเริ่มมาจากว่าวัยรุ่น 50% ไม่ชอบรสชาติโค้ก ทางโค้กก็พยายามหา Gimmcik idea ให้วัยรุ่นหันกลับมาดื่มโค้กด้วยวิธีที่ชาญฉลาดก็คือ ใช้วิธีพิมพ์ชื่อคนที่มีการตั้งชื่อสูงสุดในออสเตรเลีย 150 ชื่อลงบนกระป๋องโค้ก เช่น Matt, Nan, Joel, Anna เป็นต้น และกระจายไปตามตู้แช่ในหัวเมืองต่างๆ โดยออกแบบให้ชื่อนั้นอยู่ตำแหน่งเดียวกันกับโค้กเลยก็ว่าได้ ถือเป็นความตั้งใจ แต่จะมี Wording เขียนกำกับไว้ข้างหน้าชื่อว่า Share a Coke with…. หลังจากออกตลาดไปพบว่าคนมีการแชร์ในโลก Social Network และมีคนพูดถึงเป็นจำนวนมาก ก่อนที่โค้กจะเปิดตัวว่านี่คือแคมเปญ Share a Coke ให้รับรู้ทั่วกันอย่างเป็นทางการ ทางคุณ Lucie Austin Marketing Manager กล่าวว่ามันเป็นการย้ำเตือนให้ลูกค้านั้นนึกถึงคนที่เคยเกี่ยวข้องในชีวิต หรือไม่ก็ลืมติดต่อกับเค้า หรือไม่ได้ติดต่อกันเสียนาน อยากที่จะนำขวดโค้กกระป๋องโค้กไปแชร์กันอย่างสนุกสนาน มันสร้างความฮือฮามากๆขนาดลูกค้าสามารถเข้า Facebook ไปเลือกเพลงประจำตัวประจำชื่อได้และแชร์ผ่านออนไลน์

coke_connect_land11skr5i.jpgcoca-cola-share-a-coke-1-2000-84478

บางคนคิดว่า อ่าว…!!! ชื่อฉันไม่โหลจะทำยังไงดีล่ะ ก็แค่ไปลงทะเบียนนัดผ่าน Facebook Fanpage ของ Coke ซึ่งจะมีกิจกรรมต่างๆที่นำชื่อของท่านไปใส่ไปตามจุดต่างๆ เพื่อเอาใจแฟนโค้กได้ทั่วถึง

ส่วนคนที่ชื่อไม่โหล ก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะโค้กคิดเผื่อไว้ให้แล้ว

ใครที่อยากจะมีชื่อตัวเอง ชื่อเพื่อน คนในครอบครัว คนรู้จัก หรือคนที่อยากรู้จัก พิมพ์ลงบนกระป๋องโค้กขนาด 200 มิลลิลิตร ก็ไปลงทะเบียนนัด ผ่านแฟนเพจของแชร์อะโค้กในเฟซบุ๊กซึ่งจะมีกิจกรรมไปชื่อบนกระป๋องให้ตามต้องการตามจุดต่างๆ ที่ประกาศไว้ เป็นการเอาใจผู้บริโภคแฟนโค้กเป็นส่วนตัวอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน

Things_we_like_coca_cola_can1

ผลที่ได้คือ 7% ในการเพิ่มขึ้นของยอดกลุ่มวัยรุ่น, ยอดขายเพิ่มขึ้น 3%, 870% ในการเพิ่ม Traffic ในเฟสบุ๊ค, กว่า 12 ล้านมีเดียที่ได้ฟรี และ 76,000 แชร์กันในเฟสบุ๊ค เพียงไม่ถึงเดือนแฟนเพจของโค้กก็มีกดไลค์ 6 แสนกว่าราย มีคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกือบ 2 หมื่นราย

ไอเดียที่ 2. โค้กสร้างแคมเปญ แบ่งปันกระป๋องโค้ก แบ่งปันความสุข (Sharing Can) เป็นอีกแคมเปญ แชร์ความสุขด้วยการแบ่งปันกระป๋องโค้ก อย่างที่เรารู้โค้กแคมเปญนี้เป็นไอเดียของ Ogilvy & Mather ประเทศสิงคโปร์และฝรั่งเศสที่ทำงานร่วมกัน สร้างแคมเปญแบ่งครึ่งกระป๋องโค้กโดยได้ออกแบบแนวคิดใหม่ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังทางความคิดสร้างสรรค์ด้วยการนำโค้กกระป๋องขนาด 330 มิลลิลิตร มาแบ่งให้เพื่อนได้ด้วยการบิดกระป๋อง เมื่อบิดกระป๋องแล้วจะได้ออกมาเป็น Coke can 2 กระป๋องเล็กเพราะตอบปัญหาเรื่องคนทานน้ำอัดลมปริมาณน้อย กับสร้างการแบ่งปันและความสัมพันธ์มิตรภาพคนรอบข้างด้วยกระป๋องเล็กๆใบนี้ได้ด้วย

coke-sharing-cancoca-cola-sharing-can-600-92051 maxresdefault

ไอเดียที่ 3. โค้กได้คิดจากแคมเปญ การแชร์กันการช่วยเหลือกันอีก ออกแคมเปญวันเพื่อนแห่งชาติมา ซึ่งเป็นวันที่ 20 July โดยลงทุนทำเครื่อง Vending Machine หรือตู้กดน้ำ แต่ทำในขนาดใหญ่มาก ให้ชื่อว่า Friendship Machine ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถจะหยอดเหรียญหรือกดน้ำได้ ต้องมีเพื่อนมาพยุงต่อกันเพื่อที่จะต่อตัวขึ้นไปกดน้ำโค้กทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์แบบใหม่เกิดขึ้นตามแคมแปร์การแชร์ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันตรงตามเป้าหมายที่คิด ผลลัพธ์ที่ได้นั้น ยอดขายโตขึ้นจาก Vending Machine ปกติถึง 1075%, ขาย 800 กระป๋องใน 9 ชั่วโมงต่อหนึ่งตู้

18996 Coca-Cola vending machine Ziggo dome oktober 2012 LR coca-cola-the-friendship-machine-2000-35490

ไอเดียที่ 4. โค้กต้อนรับ Summer ของทางประเทศโคลัมเบียฝั่งอเมริกาใต้ ด้วยการเสิร์ฟโค้กในขวดน้ำแข็ง ซึ่งเป็นขวดน้ำแข็งแท้ๆ ละลายได้จริง โดยไม่ต้องนำขวดมา Recycle ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นฝีมือของ Agency ชื่อดังอย่าง Ogilvy & Mather ที่นำมาเปิดตัวที่ชายหาย Cartagena ประเทศ Columbia โดยออกแคมเปญCoca Cola Ice Bottle  บริเวณขวดน้ำแข็งถูกพันด้วยพลาสติกลายโลโก้โค้ก ที่ทำเลียนแบบขวดโค้กของจริง และช่วยให้เป็นภาชนะป้องกันความเย็นจากขวดน้ำแข็ง เป็น Idea ที่เจ๋งมากๆ Eco-Friendly ต่อโลกต่อธรรมชาติอีกด้วย เรียกได้ว่าพลังความคิดสร้างสรรค์เหลือรับประทานจริงๆ

Coca-Cola-Ice-bottlescoca-cola-ice-bottle-hed-2013

ไอเดียที่ 5. กอดฉันหน่อย ไอเดียการทำตู้กดน้ำที่มีแนวความคิดจากแคมเปญ Open Happiness ซึ่งเป็นแก่นนั้น ทำให้ตู้กดน้ำที่เกิดจากการกอด หรืออ้อมกอดของเราที่แสนอบอุ่นถ่ายทอดไปยังตู้กดน้ำ โดยลักษณะตู้กดน้ำนั้นจะมีข้อความเขียนว่า Hug Me อยู่ พอเจ้าตัว Hug Machine นี้ออกไป ผลลัพธ์ทำให้คิวของตู้นี้ยาวเหยียดมาก, มีเดียที่ได้ในเวลา 2 อาทิตย์ เป็นจำนวน 116 ล้าน รวมถึง 1.5 ล้านเป็นวีดีโอ ถือว่าลงทุนเพื่อฟรีมีเดียได้ดีเลยทีเดียว

20120329_162738

ไอเดียสุดท้าย เป็นงานสิ่งพิมพ์โฆษณา Coca-Cola Grib ที่เชิญชวนให้รู้จักถึงสินค้าใหม่อย่าง Coca-Cola Grip ว่ามีข้อดีอย่างไร จับถนัดมือ ไม่หลุดหล่นง่าย เค้าจึงออกแบบให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ซึ่งใช้ตีนตุ๊กแก หรือ Velcro tape นั้นเป็นแผ่นโฆษณาแกนที่จะพิมพ์กระดาษ ฉะนั้นเมื่อไปติดตั้งบริเวณป้ายรถเมล์ เนื่องจากพฤติกรรมคนชอบยืนพิง ทำให้เมื่อไปยืนพิงป้าย Coca-Cola Grip ทำให้ตัวตีนตุ๊กแกนั้นดูดเสื้อผ้า ทำให้สะดุดตาหรือเอะใจว่าเกิดอะไรขึ้น พอมาอ่านป้ายก็เสมือนเฉลยว่า มันคือ Coca-Cola Grip ไม่หลุดง่าย เป็นต้น

coca-grip-velcro

ทั้งหมดสำหรับครั้งนี้พยายามให้ท่านๆเห็นว่า แบรนด์ๆหนึ่งนั้น สามารถสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นที่เป็นชิ้นเอกที่สามารถสร้างความโดดเด่นความฮือฮาได้มากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่จินตนาการว่าแบรนด์ของท่านสามารถสร้างได้แบบนี้หรือไม่ ยังไงมันถือเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านให้ความสำคัญในการสรรสร้างผลงานไม่มากก็น้อย บางทีท่านอาจจะสร้างแค่ครั้งเดียวแล้ว WoW จนกลายเป็น Talk of the town ในที่สุด

เครดิต : SMEs Plus Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , ,

Follow Us