Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

Longbeer-01

เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

ช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2019 ที่ผ่านมา มีภาพลังขนาดใหญ่ และยาวมากๆ ปรากฏภาพในโลกออนไลน์ ทำให้แฟนๆนักดื่มตัวยง เริ่มถามว่าใกล้ๆบ้านของพวกเขามีขายมั้ย?

มันคือแพคเกจจิ้งแพ็คเบียร์ 99 กระป๋องที่ขนาดยาวมาก (ซึ่งต้องมีอย่างน้อยสองคนที่จะช่วยยก) แบรนด์ Pabst Blue Ribbon (PBR) ซึ่งเป็นเบียร์ American Lager ชื่อดัง ที่เก่าแก่มากสมัยปี 1844

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us