Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทึ่ง!!! น้ำดื่ม C2 Water น้ำดื่มที่คว้ารางวัลมากที่สุดในโลก

น้ำดื่มซีทรู คือ น้ำดื่มที่ไร้ฉลากเจ้าแรกในประเทศไทย ที่ได้รางวัลระดับโลกมากถึง 11 รางวัล ออกแบบโดย Prompt Design

กรรมการระดับโลกพูดถึงผลงานนี้ว่าอย่างไรบ้าง???

“A stunning, tactile, eco design. This is a very effective piece of packaging design for ‘no label’ bottled water driven by deep consumer insight. The clever design details and wonderful execution make this a standout entry in this category. Well done.”

“น่าทึ่งมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่มีฉลาก ซึ่งล้วนวิเคราะห์มาจากข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดและยอดเยี่ยม จึงทำให้รายการนี้โดดเด่นในหมวดหมู่ ยอดเยี่ยมมาก”

วิธีคิด และคำอธิบายผลงาน :
หลังจากที่พวกเราเก็บข้อมูลในมุม Consumer Insight ของผู้บริโภคมาแล้วพบว่า การทำขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฉลากนั้น จะเกิดปัญหาทั้งหมดอยู่ 2 อย่าง ก็คือ 1. ตำแหน่งรายละเอียดข้อมูลทางโภชนาการและส่วนผสมต่างๆตามกฎหมาย และรายการบาร์โค้ดที่จะต้องใช้ในระบบพวกห้างต่างๆ 2. ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ดีไซน์ที่ไม่มีฉลากนั้นดูเสมือนว่า มันเป็นมันเป็นเพียงการลดต้นทุนและปลอมตัวมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม มันดูไม่คุ้มค่ากับเค้าเลย

พอเราเข้าใจถึง Consumer Insight แล้วเราจึงมาใช้ดีไซน์ในการแก้ปมปัญหาของทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.เรานำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นตามกฎหมายมาใส่บนตัวขวดด้วยวิธีการปั๊มนูน Emboss และเรานำบาร์โค้ด มาสกรีนลงบนฝาขวด 2. เราเจตนาที่จะสร้างลวดลายให้สวยงามเป็น Collection ต่างๆ และเล่าเรื่องถึงผลกระทบที่ได้จากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาสัตว์ต่างๆ ที่มีความสุขท่ามกลางธรรมชาติที่ดีของพวกเขา ทั้งบนบก, ในทะเล, บนท้องฟ้า และในหิมะ เช่น กวางที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์, หมีขาวที่อยู่ในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ มาเล่าเรื่องผ่านลวดลายปั๊มนูนบนขวดน้ำที่น่าสนใจมากๆ

ชื่อของแบรนด์น้ำดื่ม C2 มีที่มาจาก See Through หรือ Circular Economy + 2gether สะท้อนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการของแบรนด์นี้


แบรนด์น้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label ถูกตีพิมพ์ในนิตรสารดังของประเทศอังกฤษ อย่าง ECO PLASTIC IN PACKAGING : October 2022 และ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือดีไซน์ของอิตาลี BEST IN PACKAGING 2021


รวมถึงน้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label จะไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ MODA (Museum of Design Atlanta) USA ซึ่งนิทรรศการที่จะไปจัดแสดงนั้นเกี่ยวกับ “food packaging design”,”การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร” จัดที่ MODA Museum of Design Atlanta (Atlanta, USA) ซึ่งนิทรรศการนี้ Curate โดย Elisabetta Pisu และ Amina Pereno นักวิจัยที่ POLITECNICO OF TURIN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคดิจิทัล นิทรรศการที่ Atlanta นี้ จะเป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การค้นพบวัสดุที่เป็นจุดเริ่มต้น รวมถึงจุดเปลี่ยนในการปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ไปสู่อนาคต (ทั้งบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ, ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหาร)

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

รายการ PERSPECTIVE ชวนคุยไอเดียมันส์ๆ กับ คุณ สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

ตัวเต็มรายการ PERSPECTIVE พบกับมุมมองของ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน 3 ปี มาร่วมศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เขาใช้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้เขายังแบ่งปัน 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปี 2020 ติดตาม เปอร์และแชมป์ ได้เลยครับ

This week on PERSPECTIVE, meet Somchana Kangwarnjit, Prompt Design a packaging designer who had won multiple world-class awards for 3 years in a row. Delve into the details on the strategy he uses that meets the needs of the consumers. He also shares with us the 7 most popular product trends of 2020. Follow Per and Champ to survey the market to keep yourself updated.

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

Somchana-Kangwarnjit-Dieline-Award-Winner-Packaging-Design

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลระดับโลก

Prompt Design บริษัทออกแบบแบรนด์อันดับ 4 ของโลกจากไทย คว้า 3 รางวัลจาก “Dieline Awards 2020” ด้วยอุดมการณ์ของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ “เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย! ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์”

กว่า 1,400 ผลงาน จาก 21 ประเทศทั่วโลก Prompt Design ได้รางวัลอันดับ 1 ถึง 2 รางวัล และอันดับ 3 อีก 1 รางวัล จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวทุ่งกุลาอินทรีย์ โดยหน้าบนเป็นวัสดุที่ผลิตจากแกลบ ปั๊มลายเป็นรูปเมล็ดข้าว ภายในเป็นกระสอบ สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์นี้แปลงร่างไปเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชูสวย ๆ ได้ด้วย

รางวัลที่ 1 อีกผลงานเป็นขวดน้ำแร่ของดอยช้าง ในชื่องาน 4 Life ที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกันของสัตว์ต่างๆ กับน้ำในธรรมชาติผ่านเส้นกราฟิกที่สื่อสารได้อย่างชาญฉลาด ส่วนผลงานที่ได้รางวัลที่ 3 เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งจากฟาร์ม Supha Bee Farm ผู้ผลิตน้ำผึ้งแค่ 1 ใน 2 รายในไทย ที่มีฟาร์มเลี้ยงผึ้งเป็นของตัวเอง เพาะพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งเอง สื่อสารโดยใช้กระดาษรังผึ้งมาเจาะช่อง เน้นความเป็นฟาร์มผึ้งอย่างชัดเจน


คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้ง Prompt Design กล่าวว่า “ผมแค่เสียดายในทุกๆครั้งที่ประกาศงานประกวดออกแบบ แล้วมีแต่ชื่อของประเทศอื่น ๆ ตอนนั้นผมได้แต่บ่นว่า อะไรวะ, ทำไมวะ ทำไมคนไทยจะทำแบบนั้นไม่ได้ หลังจากนั้นเลยไม่บ่น เสียเวลา เลยทำมันซะเลย …ผมก็เลยทำ และต่อสู้มาร่วมมากกว่า 20 ปี เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นี่คืออุดมการณ์ของผม”
Prompt Design เป็นบริษัทออกแบบสัญชาติไทย ที่ดังอยู่ในเวทีการออกแบบโลก คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแล้วมากมายรวม 74 รางวัล จากหลากหลายสมาคม อาทิ Dieline ของอเมริกา, Pentawards ของยุโรป, Red Dot ของเยอรมนี, IF Design Award ของเยอรมนี, Good Design Awards ทั้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย, Core 77 ของอเมริกา, World Brand Design Society ของอังกฤษ, Marking Awards ของจีน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนกระทั่งทางสมาคม World Brand Design Society จัดอันดับให้บริษัท Prompt Design เป็นบริษัทในอันดับ 4 ของโลกในปี 2019-2020

Cr.Room Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

Packaging Trend 2020 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ 2563

ผม สมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design บริษัทออกแบบของไทยดีกรีรางวัลระดับโลก กว่า 60 รางวัล เมื่อปลายปีที่ผ่านมาผมได้ไปบรรยายในงานสัมมนา “SME NEXT TREND 2020” ของนิตยสาร SME THAILAND ในหัวข้อ “Thai Packaging Trend 2020” เกี่ยวกับเทรนด์บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 7 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและสินค้าของท่านได้

หลักการในการที่จะกำหนดเทรนด์ของผมเองนั้น มาจากประสบการณ์บวกกับการทดลองนำเทรนด์ต่างๆที่ได้ประมาณการณ์ไว้มาทดลองพิสูจน์ แล้ววัดผลดูว่ามันเป็นไปได้กับประเทศไทยๆอย่างเราๆกันหรือไม่ ผลปรากฎว่าได้ตรงตามที่คาดการณ์ไว้

มาเริ่มกันเลยครับ

  1. Mass Customization Packaging การทำความแตกต่างให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอุตสาหกรรม เป็นเทรนด์ที่มี การนำมาใช้นานแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น โค้ก ที่ทำแคมเปญพิมพ์ชื่อคนต่างๆ ติดอยู่ที่ฉลากกระป๋อง สำหรับในไทยเองแม้ไม่ใช่ Global Brand ก็สามารถทำได้ เช่น น้ำดื่ม Sprinkle ที่ได้สร้างปรากฏการณ์ฉีดขวดสี เปลี่ยนจากขวดน้ำใสในตลาดน้ำดื่มธรรมดาทั่วไปที่ปกติจะเน้นโทนสีฟ้ามาใช้เป็นชุดสีต่างๆ ด้วยการไล่โทนและสร้าง Theme ขึ้นมาจากเรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนจากขวดน้ำใสๆ ธรรมดา มาสร้างสรรค์เป็นขวดน้ำที่น่าสะสม จากการสร้างความแตกต่างที่น่าสนใจ แถมขายในราคาเท่ากัน จึงไม่ยากที่จะเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคสนใจ และหยิบขึ้นมาทดลองได้ จากที่ไม่เคยติด Top 3 ในตลาด ยอดขายสามารถพุ่งกระฉูดขายดีได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเราสามารถพลิกแพลงจากในกระบวนการผลิตได้ ยกตัวอย่าง เช่น การฉีดสีขวดน้ำอาจมีขั้นต่ำในการทำครั้งละจำนวนมากๆ เช่น 1.5 แสนใบต่อ 1 เฉดสี ดังนั้น แทนที่จะทำหลากหลายสี เราสามารถสร้างธีมขึ้นมา แล้วเล่นเป็นทีละชุดสีก่อนก็ได้ เช่น โทนสีชมพูของดอกไม้ ได้แก่ กุหลาบ ทิวลิป คาร์เนชั่น เท่านี้ก็สามารถสร้างเรื่องราวและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
  1. Be Simple, Bold and Clear ปัจจุบันสินค้าในตลาดโดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ มีการใช้เฉดสีฉูดฉาด และ ภาพประกอบมากมาย เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า จนบางครั้งเมื่อนำมาวางเรียงอยู่ด้วยกันอาจสร้างความสับสนผสมปนเปกันไปหมด จนไม่สามารถมองหาจุดเด่นของสินค้าได้ ความเรียบง่าย น้อยแต่มาก สไตล์มินิมอล จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าออกจากแบรนด์อื่นๆ ได้ ยกตัวอย่าง “ไร่ไม่จน” แบรนด์น้ำอ้อยพรีเมียม ที่สามารถออกแบบแบรนด์และแพ็กเกจจิ้งได้แตกต่าง ด้วยตัวฉลากที่เรียบง่าย สีสันไม่ฉูดฉาด แถมยังออกแบบดีไซน์กระป๋องให้เหมือนกับปล้องอ้อยที่สามารถนำมาต่อกันให้ยาวเป็นลำต้นอ้อยขึ้นมาได้ สร้างความน่าสนใจ และสะดุดตาต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย จากที่ขายเรื่อยๆ ไม่เคยส่งออก การเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ครั้งนี้กลับกลายเป็นทำให้คว้ารางวัลระดับโลกมาได้มากมายกว่า 10 รางวัล ทั้งยังได้รับเชิญไปออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศ และมียอดการสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศเข้ามาอีกด้วย
  1. Culture Story การบอกเล่าคุณค่าที่มาของตัวสินค้า นับเป็นอีกวิธีที่น่านำมาใช้สำหรับแบรนด์ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งนี่เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ SME สามารถต่อกรกับยักษ์ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแข่งขันในตลาดเดียวกัน แต่สามารถแยกออกมาเล่นในตลาดพรีเมียมที่มีขนาดเล็กกว่า แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยทำให้สินค้าขายได้ราคาและสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องหาความแตกต่างให้ได้ เช่น แบรนด์ข้าว Healthy Food Healthy Life แทนที่จะแข่งขันอยู่ในตลาดแมส ก็อาจหันมาเล่นในตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อทำข้าวคุณภาพดีที่ใช้กระบวนการแตกต่างจากระบบอุตสาหกรรม โดยหันมาใช้วิธีแบบดั้งเดิมทั้งหมด เช่น ใช้ควายไถนา ใช้มือเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฯลฯ เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมที่เคยกินมา ซึ่งเมื่อสามารถสร้างความแตกต่างในกระบวนการผลิตและตัวสินค้าได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ก็ควรฉีกออกมาจากตลาด และต้องถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าที่เกิดขึ้นของแบรนด์ออกมาให้ผู้บริโภคได้รับรู้ด้วย
  1. Packaged Planet การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างหันมาทำกันมาก ขึ้น ซึ่งนี่เป็นโอกาสให้ SME สามารถนำมาใช้ทำตลาด และประยุกต์ใช้กับแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย เนื่องจากมีการโหมสร้างกระแสของแบรนด์ใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และเรื่องนี้ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เรื่องของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาเป็นกลยุทธ์ในทางธุรกิจกันมากขึ้น แต่ในแต่ละตลาดก็ยังมีช่องว่างอยู่ เช่น แบรนด์น้ำตาลมิตรผลที่ทำแคมเปญเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่น้ำตาลมาเป็นถุงกระดาษ เป็นต้น ซึ่งจากที่ขายราคาปกติ ก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นได้ แม้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยส่วนหนึ่งที่ได้ทำก็สร้างการจดจำและรับรู้ให้กับผู้บริโภคได้แล้วว่าหากพูดถึงแบรนด์น้ำตาลไทยที่ใช้ถุงกระดาษมาเป็นหีบห่อ ก็ต้องนึกถึงแบรนด์มิตรผลก่อน ดังนั้น ต้องหาช่องว่างที่ยังไม่มีใครทำให้เจอ ถ้าทำได้ ก็ตะโกนออกไปดังๆ แบรนด์ของเราจึงจะเป็นแบรนด์แรกที่อยู่ในภาพจำนี้ของลูกค้า
  1. New Experience จากสินค้าธรรมดา หากใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่าง สามารถสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่ลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การออกแบบกล่องในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของแบรนด์ Diamond Grains กราโนล่าสายเฮลตี้ที่ออกแบบรูปแบบกล่องใส่สินค้า ซึ่งหากลองนำมาพับต่อกันจะสามารถเปลี่ยนจากกล่องธรรมดาให้กลายเป็นต้นคริสต์มาสใช้ประดับตกแต่งได้ จากตอนแรกที่คิดจะทำออกมาพิเศษเพียง 10,000 ใบ ผลปรากฏสามารถขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้หมดภายในวันเดียว ทำให้ต้องมีการพรีออร์เดอร์ และผลิตออกมาเพิ่มถึงกว่า 30,000-40,000 ใบเลยทีเดียว
  1. Collaboration กลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน คือ การจับมือร่วมกันเพื่อสร้างแคมเปญหรือทำ กิจกรรมบางอย่างร่วมกันระหว่างแบรนด์ โดยไม่จำเป็นต้องไปจับมือร่วมกับแบรนด์ที่ทำสินค้าประเภทเดียวกันหรืออยู่ในตลาดเดียวกันเท่านั้น แต่สามารถจับคู่ระหว่างแบรนด์ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เพื่อสร้างความว้าว! ความสนุก สร้างสีสันให้เกิดขึ้นในตลาด โดยวิธีดังกล่าวนี้นอกจากจะสร้างความตื่นเต้นน่าสนใจให้กับลูกค้าแล้ว ตัวแบรนด์เองจะกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมยังอาจได้กลุ่มลูกค้าของแบรนด์บัดดี้ที่ทำงานร่วมกันมาเพิ่มอีกด้วย เรียกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนลูกค้าซึ่งกันและกันที่น่าสนใจอีกวิธี และน่าจะเป็นที่นิยมไปต่อได้ในอีกระยะหนึ่ง
PurraXDesigner.jpg
  1. Smart Packaging วิธีการสุดท้าย บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งเป็นวิธีที่เริ่มมีการนำมาใช้กันมากสำหรับแบรนด์ใน ตลาดต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยอาจยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก เนื่องจากความไม่พร้อมของประชากรที่อาจยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนได้ทั่วถึงในทุกกลุ่ม เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับบรรจุภัณฑ์ได้ จึงอาจยังไม่เหมาะหากจะนำมาใช้สร้างตลาดในตอนนี้ แต่นับเป็นอีกวิธีที่หากทำได้จะสร้างความสนุก สร้างลูกเล่น และดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอีกเทรนด์ที่มาแน่นอน เพียงแต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย ณ ตอนนี้เท่านั้นเอง

ทั้งหมดนี้คือ 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ที่ท่านสามารถนำไปประยุกต์เป็นกลยุทธ์ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นยอดขาย และการรับรู้ได้อย่างไม่ยาก ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะรู้ว่าเทรนด์มันมีประโยชน์ อย่างที่ผมทดลองนำไปใช้แล้วจริงๆ

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , ,

Lays เลย์ปรับ Packaging ใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

มันฝรั่งแผ่นเลย์ (Lays) ปรับโฉมใหม่ในรอบกว่า ทศวรรษ!!

Frito-Lay จากบริษัท PepsiCo ได้ปรับปรุงโฉมมันฝรั่งทอด Lays ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ นับเป็นการปรับบรรจุภัณฑ์ครั้งแรกในรอบ 12 ปี เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วในเดือนกันยายน 2562 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทย จะตามมาหลังจากนั้น

Print

แนวคิดบรรจุภัณฑ์ใหม่ มาจากเอเจนซี่นิวยอร์คมีนามว่า Vault49 ใช้แนวคิดที่ว่า  InstaWorthy เป็นการถ่ายภาพที่ต่างจากภาพถ่ายบนบรรจุภัณฑ์ตัวเก่า ภาพถ่ายใหม่นี้จะเป็นถ่ายภาพมุมบนลงล่าง หรือเรียกว่า Top View เหตุผลที่เลือกแนวคิดนี้ก็คือ จากผลวิจัยเรื่องการถ่ายรูปในยุค Social Media Era วัยรุ่นส่วนมากจะถ่ายรูปลง Instagram กัน ซึ่งรูปที่สวยและเป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพอาหารก็คือ มุมด้านบน ดังนั้นจึงเลือกใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย อีกทั้งสัดส่วนของ Ingredients บนหน้าซองใหม่ของเลย์นั้น จะเป็นการใช้สัดส่วน ingredients จริงๆ

Lays-Packaging-City-Rebrand-03.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-01.jpg

นอกจากนี้ตัวโลโก้ของ Lays เองเวลาใช้ในซอง จะให้มีขนาดเล็กลง ตัวอักษรตัว y นั้นจะม้วนหางเก็บ และเพิ่ม space ริบบิ้นแดงให้ชัด เพื่อให้การใช้งานในระดับ favicon ขนาด 16*16 พิกเซล  นั้นยังคงอ่านออกอยู่

ส่วนบรรจุภัณฑ์นั้น โลโก้เลย์ ถูกขยับมาให้เข้าใกล้กับกลางซอง โดยมี Monochromatic Ring เปล่งแสงจากตรงโลโก้ออกมา กลายเป็นอีกหนึ่ง Brand identity ใหม่ของแบรนด์เลย์ที่จะใช้ต่อไป

Lays-Packaging-City-Rebrand-04.jpg
Lays-Packaging-City-Rebrand-06.jpg

ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์นั้น ตกแต่งด้วยภาพและเส้นสายความสนุก สลับคั่นด้วยคำอธิบายรสชาติสี่คำ ตัวอย่างเช่น เลย์ตัว Classic จะใช้คำว่า “Crispy Yummy Deliciously Tasty.”

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

กาแฟดอยช้างได้รับรางวัล Thai Pack Awards 2017 รางวัลบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยม

งาน Thai Pack Awards นั้นจัดขึ้นจากสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ที่ไปสรรหาบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ตามท้องตลาด และคัดเลือกมาให้คะแนนที่ผ่านเกณฑ์ต่างๆของสมาคม โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์มาเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1. การสื่อสารกับผู้บริโภคและการโปรโมทสินค้า 2. การปกป้องสินค้าที่บรรจุ 3. ความสะดวก 4. ความเหมาะสมในภาพรวม 5. นวัตกรรม


ซึ่งได้ให้รางวัลทั้งหมด 24 รางวัล หนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเสียงฮือฮามากๆในงาน ก็คือ บรรจุภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์กาแฟดอยช้างโฉมใหม่ เพราะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่บรรจุภัณฑ์นี้ชนะรางวัล

เราต้องปูพื้นฐานของกาแฟดอยช้างก่อนคือ อะไร เป็นใคร มาจากไหน มีความแตกต่างอย่างไร ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงแบรนด์ๆนี้ก่อน


ดอยช้างเป็นกาแฟคุณภาพที่ได้ตรา GI (Geographical Indications) ก็คือ เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรืออาจอธิบายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความเชื่อมโยงระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ มันก็คือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะที่มีเฉพาะในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้า อากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มี คุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว โดยคุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะ เฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ไวน์ดีๆที่มาจากแหล่งนี้ ตำบลนี้ อำเภอนี้ ของฝรั่งเศส เป็นต้น นี่แหละคือสิ่งที่ดอยช้างได้ และยิ่งไปกว่านั้น ดอยช้างยังได้ GI ของ ยุโรป อีกด้วย ถือว่าได้ยากที่สุดก็ว่าได้ และยังได้ USDA Organic, EU Organic, Fair Trade และอีกมากมาย

มันคือเครื่องยืนยันคุณภาพอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องรสชาติ ดอยช้างยังได้ Score ของรสชาติกาแฟที่สูงมากๆอีกด้วย เลยทำให้ดอยช้างนั้น เป็นที่ต้องการมากๆของโลก รู้มั้ยครับว่า กาแฟดอยช้างมีขายมากมายหลายประเทศเลยทีเดียวนะครับ และยิ่งไปกว่านั้นกาแฟดอยช้างยังให้วิธีการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise มาก่อนใครเพื่อนอีกด้วย ก่อนที่กระแส Social Enterprise จะดัง ถือว่าเป็นกาแฟที่ทั้งรสชาติดี มีคุณภาพ และยังดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนอีกด้วย ทั้งหมดทั้งปวงนี้พูดไปก็ไม่หมดถึงคุณค่าของกาแฟไทยๆ ยี่ห้อดอยช้างนี้

พอเรารับรู้เรื่องกาแฟดอยช้างแล้ว คำถามคือว่า แล้วบรรจุภัณฑ์ใหม่ของดอยช้าง ควรหน้าตาเป็นอย่างไรดีล่ะ?

บรรจุภัณฑ์โฉมใหม่ออกแบบโดย บริษัท Prompt Design บริษัทไทยที่คว้ารางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลกมาแล้วหลากหลายเวที ทีมงาน Prompt Design ตั้งใจและตั้งคำถามว่า “จะมีมั้ยที่ดีไซน์ทำเพื่อพี่น้องเกษตรกรจริงๆ” น่าสนใจมากๆครับ โดยวิธีการดำเนินธุรกิจของแบรนด์ Doi Chaang Coffee Original คือ สนับสนุนพี่น้องเกษตรกรชาวดอยให้มีวิถีชีวิตที่ดี มีหน้าที่การงานที่มั่นคง

บนพื้นที่ดอยช้างนั้นประกอบไปด้วย พี่น้องชาวเผ่าที่เก็บกาแฟหลากกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เผ่าอาข่า, เผ่าลีซู และ เผ่าจีนฮ๊อ ซึ่งพวกเขาร่วมกันสร้างขึ้นมา แต่เมื่อกาแฟดอยช้างเป็นที่นิยมไปทั่วโลก จึงมีนักลงทุนอยากที่จะมาทำธุรกิจกาแฟบนดอยช้าง จึงชักชวนพี่น้องเกษตรกรเผ่าต่างๆ บ้างก็ถูกเงินซื้อไป บ้างก็ยังอยู่เพราะอุดมการณ์ที่แนวแน่

นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราจะใช้การออกแบบสร้างความสามัคคี และความภาคภูมิใจในความเป็นดอยช้าง โดยการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นสื่อกลางของการสมานสามัคคี ด้วยการออกแบบโดยนำใบหน้าพี่น้องเผ่าต่างๆ มาใส่บน Pouch ในสูตรและรุ่นต่างๆของกาแฟ ด้วยสีหน้าใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสของพี่น้องเกษตรกร มันแสดงถึงความสุขในการประกอบอาชีพการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ หลักการของบรรจุภัณฑ์ คือเราจะเปลี่ยนรูปหน้าผลัดวนกันไปในประมาณช่วงทุกๆ 1ปี เพื่อพี่น้องเกษตรกรจะได้ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำกาแฟคุณภาพไปขายทั่วโลก เมื่อบรรจุภัณฑ์หน้าของตนเองได้ถูกผลิตออกมาขาย

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , ,

พี่ไทย…เป็นประธานกรรมการตัดสินงานออกแบบ Core77 Design Awards ระดับโลก

core77-design-awards-logo
core-77-award-trophy

ไม่ธรรมดาครับ น่าภูมิใจอีกแล้ว คนไทยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ..!!!

คุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์คนไทยที่ได้เป็นกรรมการตัดสินเคียงบ่าเคียงไหล่กับกรรมการระดับโลกหลากหลายสาขา อาทิเช่น ผู้ก่อตั้ง Airbnb, Designer จากรถ McLaren, นักออกแบบจาก Samsung Global, Creative Director จากหนังสือ NY Times, หัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์จาก Airbus Group (โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของโลก) และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยของโลกทั้ง Cornell, Art Center College of Design, National Institute of Design เป็นต้น ถือได้ว่าเด็ดๆทั้งนั้น

somchana-jury-packaging-design-asia-world-core77-design-awards

Core77 Design Awards 2016 การประกวดงานดีไซน์ครั้งที่ 6 โดยเว็บไซต์ Core77 บล็อกดีไซน์ระดับโลกที่ครอบคลุมทุกสาขาของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงพื้นที่ Core77 ถูกพูดถึงในสิ่งพิมพ์ชื่อดังของอเมริกาอย่าง The New York Times และ PC Magazine และได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ และชุมชนออนไลน์ของเหล่าดีไซเนอร์และคนรักงานออกแบบอีกด้วย โดยการประกวดผลงานจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสาขาอาชีพการออกแบบทุกสาขา และความสามารถของนักออกแบบ

core77-design-awards-category

ในการประกวดครั้งนี้มีด้วยกันถึง 14 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีคณะกรรมการเฉพาะกลุ่ม โดยกรรมการเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งมาจากหลากหลายประเทศ เช่น Hyuntaik Lim ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Samsung Global Design Europe เป็นกรรมการสาขาผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค, Alexis Lloyd Creative Director ของ NY Times R&D Lab กรรมการสาขาการออกแบบ Interaction, Alex Alexiev นักออกแบบรถ McLaren, Joe Gebbia ผู้ก่อตั้ง Airbnb เป็นหัวหน้ากรรมการสาขา Service Design

และที่น่าภูมิใจสุดๆ ก็คือกรรมการจากประเทศไทย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Prompt Design ได้คัดเลือกเป็น July Captain หัวหน้ากรรมการในสาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไปสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง

somchana-prompt-design-jury-design-awards-judgement-winner-packaging

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้ารอบในปีที่แล้ว ได้แก่ The Urban Post-Disaster Housing Prototype ผลงานเข้ารอบในสาขาการออกแบบสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นแบบบ้านสำหรับหลังเกิดภัยพิบัติที่กลุ่มสถาปนิก Garrison Archi-tects ออกแบบให้กับสำนักงานจัดการภัยพิบัติฉุกเฉินของเมืองนิวยอร์ก เพื่อเป็นต้นแบบในการวางแผนรับมือภัยพิบัติในระยะยาว อีกหนึ่งผู้เข้ารอบในสาขานี้ คือ Museum of Future Government 2014 ผลงานของกลุ่มนักออกแบบ TELLART ที่ออกแบบให้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นการจัดแสดงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและอนาคตของรัฐบาลในรูปแบบนิทรรศการ

core77-design-awards-winner-gallery

การประกวดของ Core77 มุ่งหวังที่จะมอบโอกาสให้แก่นักออกแบบ นักวิจัย และนักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสในการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่อยู่เบื้องหลังผลงานของพวก เขา ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในลักษณะแบบไหนก็ตาม ตั้งแต่งานรับจ้างไปจนถึงโปรเจ็กต์ส่วนตัว เพื่อเปิดรับความหลากหลายในวงการดีไซน์ ทั้งในเชิงพาณิชย์ วัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อม และการศึกษา

ติดตามชมคลิปวิดีโอของกระบวนการตัดสิน ของเหล่าคณะกรรมการในการคัดเลือกผลงาน และผลงานการออกแบบหลากสาขาของผู้ชนะและผู้เข้ารอบได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ที่เว็บไซต์ http://designawards.core77.com

Cr. คิดสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Cr. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us