Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทึ่ง!!! น้ำดื่ม C2 Water น้ำดื่มที่คว้ารางวัลมากที่สุดในโลก

น้ำดื่มซีทรู คือ น้ำดื่มที่ไร้ฉลากเจ้าแรกในประเทศไทย ที่ได้รางวัลระดับโลกมากถึง 11 รางวัล ออกแบบโดย Prompt Design

กรรมการระดับโลกพูดถึงผลงานนี้ว่าอย่างไรบ้าง???

“A stunning, tactile, eco design. This is a very effective piece of packaging design for ‘no label’ bottled water driven by deep consumer insight. The clever design details and wonderful execution make this a standout entry in this category. Well done.”

“น่าทึ่งมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นี่เป็นผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่มีฉลาก ซึ่งล้วนวิเคราะห์มาจากข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เป็นการออกแบบที่ชาญฉลาดและยอดเยี่ยม จึงทำให้รายการนี้โดดเด่นในหมวดหมู่ ยอดเยี่ยมมาก”

วิธีคิด และคำอธิบายผลงาน :
หลังจากที่พวกเราเก็บข้อมูลในมุม Consumer Insight ของผู้บริโภคมาแล้วพบว่า การทำขวดน้ำดื่มที่ไม่มีฉลากนั้น จะเกิดปัญหาทั้งหมดอยู่ 2 อย่าง ก็คือ 1. ตำแหน่งรายละเอียดข้อมูลทางโภชนาการและส่วนผสมต่างๆตามกฎหมาย และรายการบาร์โค้ดที่จะต้องใช้ในระบบพวกห้างต่างๆ 2. ผู้บริโภคเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ดีไซน์ที่ไม่มีฉลากนั้นดูเสมือนว่า มันเป็นมันเป็นเพียงการลดต้นทุนและปลอมตัวมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม มันดูไม่คุ้มค่ากับเค้าเลย

พอเราเข้าใจถึง Consumer Insight แล้วเราจึงมาใช้ดีไซน์ในการแก้ปมปัญหาของทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.เรานำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นตามกฎหมายมาใส่บนตัวขวดด้วยวิธีการปั๊มนูน Emboss และเรานำบาร์โค้ด มาสกรีนลงบนฝาขวด 2. เราเจตนาที่จะสร้างลวดลายให้สวยงามเป็น Collection ต่างๆ และเล่าเรื่องถึงผลกระทบที่ได้จากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนำเอาสัตว์ต่างๆ ที่มีความสุขท่ามกลางธรรมชาติที่ดีของพวกเขา ทั้งบนบก, ในทะเล, บนท้องฟ้า และในหิมะ เช่น กวางที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์, หมีขาวที่อยู่ในพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ มาเล่าเรื่องผ่านลวดลายปั๊มนูนบนขวดน้ำที่น่าสนใจมากๆ

ชื่อของแบรนด์น้ำดื่ม C2 มีที่มาจาก See Through หรือ Circular Economy + 2gether สะท้อนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการของแบรนด์นี้


แบรนด์น้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label ถูกตีพิมพ์ในนิตรสารดังของประเทศอังกฤษ อย่าง ECO PLASTIC IN PACKAGING : October 2022 และ ถูกตีพิมพ์ในหนังสือดีไซน์ของอิตาลี BEST IN PACKAGING 2021


รวมถึงน้ำดื่มซีทรู C2 Water No Label จะไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ MODA (Museum of Design Atlanta) USA ซึ่งนิทรรศการที่จะไปจัดแสดงนั้นเกี่ยวกับ “food packaging design”,”การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร” จัดที่ MODA Museum of Design Atlanta (Atlanta, USA) ซึ่งนิทรรศการนี้ Curate โดย Elisabetta Pisu และ Amina Pereno นักวิจัยที่ POLITECNICO OF TURIN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในยุคดิจิทัล นิทรรศการที่ Atlanta นี้ จะเป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การค้นพบวัสดุที่เป็นจุดเริ่มต้น รวมถึงจุดเปลี่ยนในการปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ไปสู่อนาคต (ทั้งบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ, ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของอาหาร)

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ถอดรหัสความสำเร็จของข้าวศรีแสงดาว ข้าวรางวัลระดับโลก

วันนี้ครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักอ่านทุกท่าน ผมมาสัมภาษณ์เพื่อถอดรหัสความสำเร็จของแบรนด์ข้าวศรีแสงดาวให้ทุกๆท่านได้อ่านกันอย่างหมดเปลือก

โดยวิธีการอ่านนั้นจะเป็น บทความของน้องสิน สินสมุทร ศรีแสงปาง และผมสมชนะ จะเป็นคนถาม

สมชนะ : Brand Purpose ของศรีแสงดาวเป็นอย่างไร?

สินสมุทร : สานต่อProject ข้าว Gi กับคุณแม่

ในช่วงแรกที่ทำข้าว GI ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของสินค้าชุมชน และความยิ่งใหญ่อะไรของมัน รู้แต่ว่าแม่ต้องการช่วยงานนโยบายของภาครัฐให้สำเร็จ และช่วยซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงขึ้นจากราคาปรกติ ในระหว่างนี้ผมมีโอกาสใกล้ชิดชาวนามากขึ้น ได้พูดคุย ได้รู้ปัญหาต่างๆ ของชาวนา  และชาวนาจะชอบผมมากเวลาผมลงไปหาพวกเขาถึงในหมู่บ้าน อาเสี่ยมาให้ต่อรองถึงในหมู่บ้าน ประเด็นหลักที่เกษตรกรเจอผมคือคือเรื่องราคา ดังนั้นวิธีการแก้คือ ผมศึกษาวิธีการทำนาหยอดเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และให้ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้น

สมชนะ : ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่านาหยอดของศรีแสงดาวมันดียังไง?

สินสมุทร : ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด นำร่องเกษตรกร หยอดข้าวฟรี!

ถ่ายทอดการทำนาหยอดจากโรงสีศรีแสงดาว สู่แปลงนาของเกษตรกรบริเวณรอบโรงสีศรีแสงดาว ครั้งแรกเราหยอดข้าวให้ฟรี แต่ไม่มีใครกล้าทำด้วย เพราะเกษตรกรกลัวเรื่องเมล็ดพันธ์ที่น้อยลง กลัวความห่าง กลัวไม่ได้ข้าว  ในปีแรกขอเกษตรกรหยอดข้าวให้ฟรีถึง 3 ครั้งถูกปฎิเสธกลับมาทุกครั้ง และครั้งสุดท้ายลงไปเองถึงบ้านเกษตรกร คุยกันอยู่นานเกษตรกรเห็นถึงความตั้งใจ โดยขอว่า 1 แปลงถ้าพี่ๆให้ผมหยอด ผมก็จะหยอดให้  สรุปได้ เกษตรใจเพชรมา 20 คนบนพื้นที่ 300 ไร่  ในช่วงแรกที่ส่งเสริมผมคุยกับเกษตรกรเยอะมาก  ฟังซ้ำหลายๆคน จับประเด็นได้ก็ปัญหาเดิมๆ เรื่องเดิมๆ ประสบการณ์การทำงานบริหารโรงสีในเรื่องการผลิตช่วยได้มาก  เป็นเรื่องเดียวกันผลิตเหมือนกัน การทำนาจึงไม่ใช่เรื่องยาก มีหลักคิดแบบเป็นระบบ มีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีเครื่องจักรช่วยทุ่นแรง แต่ความยากคือ การเปิดใจของเกษตรกร ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่  เมื่อเก็บเกี่ยวสรุปผลคือ นาหว่านเดิมใช้เมล็ดพันธุ์ 35 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ นาหยอดที่ลงไปส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ 6  กิโลกรัมต่อไร่ แต่สามาถทำผลผลิตได้มากถึง 550-690 กิโลกรัมต่อไร่  สิ่งที่มหัศจรรย์ในปีนี้คือราคาข้าวตก แต่เกษตรกรที่ร่วมโครงการกับเราพอขายข้าวได้เงินเยอะที่สุดในชีวิตที่เคยได้รับ จึงมั่นใจมากมาถูกทาง 

การเดินทางของข้าวศรีแสงดาว เกิดจากความผิดหวัง

ชาวต่างชาติ ติดต่อเข้ามาซื้อข้าว Gi คุย Project กันอยู่เป็นปี แต่สุดท้ายเขาไม่ซื้อเพราะ เขาต้องการนำข้าว Gi ออกไปบรรจุนอกพื้นที่ ซึ่งผิดระเบียบข้าว Gi เมื่อพิจารณดูแล้ว ข้าว Gi  ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าไทยชนิดแรกของไทย ที่สามารถไปจดทะเบียนไกลถึงสหภาพยุโรปได้สำเร็จ  ถ้าคนพื้นที่ไม่ผลักดันออกมาไป  ความยิ่งใหญ่ ความภูมิใจของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเด่นของพื้นทีเราก็ไร้ความหมาย

ศรีแสงดาว Gi ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้  Project

เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำนาหยอด เพื่อให้มีรายได้มากขึ้นจากการทำนา จุดเริ่มต้นโครงการศรีแสงดาวเริ่มจากความตั้งใจเท่านี้  เท่านี้จริงๆ อยากให้เกษตรกรมีรายได้มาขึ้นจากการทำนา ด้วยการทำนาหยอด กิจกรรมหลักคืองานส่งเสริม   ไม่มีแผนธุรกิจใดๆ เพราะทีมส่งเสริมก็มีไม่ลงไปดูแลเองทั้งหมด เวลาหายไปในส่วนนี้ 70 % ของชีวิต เป้าหมายเดียวที่คิดออกตอนนั้นคือต้องพาเกษตรกรทำนาหยอดให้สำเร็จ   ความรู้สึกคือเหนื่อยมาก แต่ก็มีความสุขมากเช่นกัน รู้ว่าสามารถพาเกษตรกรทำนาหยอดสำเร็จ

สมชนะ : ดูเหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี มีทั้ง GI ทั้งปลูกแบบนาหยอด แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ การสื่อสารสิ่งที่ดีงามนั้นออกไป ช่วยเล่าวิธีการให้ฟังหน่อย?

สินสมุทร : การถ่ายทอด Brand Purpose สู่งานดีไซน์

ผมไปเจออาจารย์แชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ผู้มีประสบการณ์ในระดับโลก เขาเข้าใจจุดเด่นในข้าวของผมดี เข้าใจตัวตนผมดี และถ่ายทอดเรื่องราวออกมาด้วยจิตวิญญาณ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการเดินทางของข้าวศรีแสงดาว หากอาจารย์แชมป์ ไม่เข้ามาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวตรงนี้ ผมอาจจะหมดกำลังใจในการส่งเสริมการทำนาหยอดก็ได้

อาจารย์สามารถมองเห็นอนาคตของข้าวศรีแสงดาว และยังมองเห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผนวกกับจุดยืนที่มีอยู่ในวงการข้าวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็คือเรื่อง Sustainability หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ โรงสีของผมทำเรื่องแบบนี้อยู่แล้วด้วย แต่ไม่เคยพูดออกมา ผมทำเรื่องนี้กับอาจารย์อยู่เกือบ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีใครเข้าใจเรื่องนี้กันมากนัก ไม่มีใครให้ความมั่นใจได้เลย มีแต่อาจารย์แชมป์คนเดียว

หลังจากนั้นผลงานออกสู่ตลาดชาวต่างชาติให้การยอมรับในวงกว้างได้รางวัลระดับโลกมากถึง 15 รางวัล และทำให้โลกได้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไทย และรู้จักข้าวศรีแสงดาว ทำให้ผมส่งออกแบรนด์ศรีแสงดาวไปต่างประเทศแล้วด้วย ผมภูมิใจมากที่ข้าวแบรนด์คนไทยได้มีโอกาสไปสร้างชื่อในเวทีโลก

จากที่น้องสิน สินสมุทร ได้เล่ามาข้างต้น ผมมาขมวดให้ได้ดังนี้ครับ พร้อมตาราง

ในเชิง Product Differentiation นั้น ถือว่ามีความต่างพอสมควร เวลาเอามาใส่ bullet ในตาราง Creating Product Differentiation จะมองเห็นว่าในเชิง Story นั้นถือว่ามาได้เต็มทุกช่องทั้งเรื่องช่องการ Build เรื่อง Social Value ส่วนช่องต่อมาเรื่อง Design ก็ถือว่าตอบโจทย์ทุกๆช่องเหมือนกัน ส่วนในแง่ Usability ตรงนี้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรถือเป็นปกติของการทานข้าว หุงข้าว ทั่วๆไป ต่อมาในมุมของ Quality ตรงนี้เองด้าน Functional ใส่ Bullet เพราะมีการ Certified จาก GI ของสหภาพยุโรป และตราอื่นๆอีกมากมาย ส่วนตรง Process ถือว่าต่าง เพราะในการทำนาหยอดนั้นในแง่ Functional และ Social นั้นมาเต็มอยู่แล้ว

สรุปเพื่อนๆพี่ๆน้องจะเห็นภาพเลยครับว่าส่วนของต้นทางคือ Product นั้นต่างแล้วหรือไม่ เพื่อนๆลองไปหยอด bullet ใส่ในช่องต่างๆ ลองเล่นดูนะครับ จะได้ตอบได้ว่าสินค้าเราต่างแล้วหรือไม่ ส่วนหลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆพี่ๆน้องจะสร้างความแตกต่างในแง่ของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ให้ไปอ่านบทความ แตกต่างศาสตร์ได้ครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

ยกระดับกัญชาทำยังไง?

มูลค่าของตลาดกัญชานั้น ตลาดมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ ในอีกห้าปีข้างหน้า แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าควรต้องมีการออกแบบอย่างระมัดระวังมาก เพราะเพื่อให้แน่ใจว่าการสื่อสารออกมานั้นจะไม่ได้รับผลกระทบในทางเชิงลบของกัญชา

ในฐานะนักประวัติศาสตร์และนักมนุษย์วิทยาทั่วโลกจะยืนยันได้ว่ามนุษย์ที่ใช้กัญชาไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ประวัติความเป็นมาของพืชสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงเวลานับพันปีที่ผ่านมายังได้รับการปลูกฝังอย่างกว้างขวางสำหรับคุณสมบัติทางโภชนาการและคุณสมบัติทางยา แต่ในอีกมุมหนึ่งกัญชาเองมีคุณสมบัติทางจิตที่หลอนประสาท

ด้วยเหตุนี้โรงงานกัญชาได้เป็นประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองมานานหลายศตวรรษ แต่ความพยายามในการฟื้นฟูชื่อเสียงของกัญชาได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เพิ่มขึ้นที่กำลังมองหากฎหมายให้ถูกต้องสำหรับกัญชาเพื่อคุณสมบัติของยา และถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกัญชาก็คือ cannabidiol (CBD)

CBD มันเป็นวิธีการรักษาที่สามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่นความวิตกกังวล, สิว, อาการชัก และวัยหมดประจำเดือน ที่ได้มาจากโรงงานสารสกัดกัญชาได้รับการตอบรับทั่วโลกด้วยมูลค่าของตลาด CBD อังกฤษที่ตั้งมูลค่าไว้ถึงเกือบ 1 พันล้านปอนด์ในปี 2568

ในโลกปัจจุบันในหลากหลายประเทศ ยังมีอยู่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. กลุ่มคนที่เปิดรับเรื่องคุณสมบัติของกัญชา กับ 2. คือกลุ่มคนที่ปฏิเสธเรื่องกัญชา และมองว่า มันคือ ยาเสพติด มันคือ บ้อง หรือ ท่อกัญชา

ทางออกของวงการนี้คือ

Case Study ที่ 1 คือ

ต้องทำให้“ ดึงดูดสายตา แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาพ”

Seed Change เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้แพทย์และผู้ป่วย โดยใช้กัญชาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาแบบองค์รวม โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานทางการแพทย์ และนำวิธีการตามงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์มาใช้ เริ่มต้นคือ สร้างชื่อใหม่เป็น ‘Seed Change’ เพื่อเป็นตัวแทนของกระบวนการคิดของแบรนด์ ว่าจากยาเสพติดที่มีผลเชิงลบ มาเป็นเพื่อทางเลือกในการรักษาเชิงบวก แคมเปญนี้ และกลยุทธ์ของแบรนด์ การวางตำแหน่งและข้อเสนอการออกแบบตัวตนหลักประกันและเว็บไซต์เริ่มต้น

แนวทางการออกแบบนั้นมีความกล้า และการคิดบวก – ยอมรับในเจตนาของแนวคิดเรื่องยาเสพติดของพวกเรา สื่อสารออกมาในตัวตนที่สะอาดตา น่าเชื่อถือ  สีสันทันสมัย ผลลัพธ์ที่ได้คือ เป็นการสื่อสารที่น่าสนใจ และทรงพลังมาก ผู้คนให้ความเชื่อถือทั้งกลุ่มคนที่เชื่อในตัวกัญชาเองอยู่แล้ว และกลุ่มคนที่ปฏิเสธกัญชา

Case Study ที่ 2 คือ

ต้องทำให้ “พรีเมี่ยม หรูหรา และยังสุขภาพอยู่”

สตูดิโอออกแบบของแคนาดา McKinley Burkart ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ The Botanist ได้แรงบันดาลใจโรงเรือนกระจกสมัยศตวรรษที่ 19 ตกแต่งด้วยผลงานไม้ที่ผสมผสานความเป็นวิทยาศาสตร์ในโลกของธรรมชาติ ออกแบบมาอย่างหรูหรา มันทำให้ผู้คนรู้สึกสบายใจในสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ความยากของการทำงานในเส้นทางนี้คือ ต้องทำให้ถูกกฎหมายทุกประการ “เราไม่สามารถแสดงภาพของโรงงานกัญชาได้” ผลลัพธ์ก็คือร้านนี้ จะมีแผนขยายในปี 2563 อีกด้วย และกำลังจะเปิดพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าหรู มีอุปกรณ์หรู และประสบการณ์หรูๆอีกมาก

ถือได้ว่า เป็นการสร้างวัฒนธรรมการค้าขายกัญชาอีกทางนึง โดยให้วิถีชีวิตของคนที่เข้ามานั้นเป็นคนที่มีความรู้ มีไลฟ์สไตล์ และมีระดับ เสมอดั่งการดื่มไวน์

ดังนั้นสรุปการสื่อสารของสินค้ากัญชานั้น ต้องมีการทำการบ้าน เพื่อจะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่ง อย่างที่ยก Case Study แล้วว่า ทางออกคือไม่ควรสื่อสารในภาพลักษณ์เดิมๆ แต่ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับตลาดต่างๆที่เราสนใจ

Filed under: Other, , , , , , , , , , , , , , , , , ,

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

รายการ PERSPECTIVE ชวนคุยไอเดียมันส์ๆ กับ คุณ สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

ตัวเต็มรายการ PERSPECTIVE พบกับมุมมองของ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน 3 ปี มาร่วมศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เขาใช้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้เขายังแบ่งปัน 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปี 2020 ติดตาม เปอร์และแชมป์ ได้เลยครับ

This week on PERSPECTIVE, meet Somchana Kangwarnjit, Prompt Design a packaging designer who had won multiple world-class awards for 3 years in a row. Delve into the details on the strategy he uses that meets the needs of the consumers. He also shares with us the 7 most popular product trends of 2020. Follow Per and Champ to survey the market to keep yourself updated.

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

กราฟิก จุด จุด จุด เริ่มตอนไหน..???

ลายจุดเริ่มต้นขึ้นปี 1926 เมื่อ Miss America ว้าว..!!!
ถูกถ่ายภาพในชุดว่ายน้ำลายจุด ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน ในปี 1928 Disney ได้เปิดตัวการ์ตูน Minnie Mouse ที่สวมชุดลายจุดสีแดงและโบว์ที่เข้าชุดกัน แต่ไม่ sexy เหมือน Miss America น้า 5555 ตลอดช่วงทศวรรษ 1930 ชุดเดรสลายจุดก็ปรากฏขึ้นที่ร้านค้า มีการทำผืนลายผ้าและโบว์ขึ้นมาอย่างแพร่หลาย ในปี 1940 Frank Sinatra ก็ดั้น…มาแต่งเพลงบัลลาด ที่มีชื่อว่า “Polka Dots และ Moonbeams” อีก โดยในเนื้อหาของเพลงได้บันทึกไว้ถึงความนิยมของลายจุดในประเทศอเมริกา หลังจากนั้นหนังสือหัวดังของโลกอย่าง Los Angeles Times ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของวงการแฟชั่นกับลวดลาย Polka Dot ในช่วงเวลาเดียวกัน

หลังจากนั้นเกือบๆ 10 ปี ลายจุดก็มีการยกระดับขึ้นมาอีก ไม่น่าเลย 5555 เมื่อ Christian Dior เปิดตัว Collection “New Look” ในชุดประเภท Hourglass Dresses ลายจุดหลายสไตล์ มีให้เลือกเพียบ ผลปรากฏว่าขายดีมาก หลังจากนั้นดาราHollywood หญิง ก็เรียกได้ว่าเป็นหัวหน้าแก๊งค์ลายนี้เลย เช่น แม่นาง Elizabeth Taylor, Katharine Hepburn และ Marilyn Monroe

ปี 1951 แม่นางแห่งวงการอย่าง Marilyn Monroe ผู้โด่งดังมาก ก็ถ่ายแบบในชุดบิกินนี่ลาย Polka Dot โอย..แม่เจ้า สุดๆของสุดๆ หลังจากนั้น Brain Hyland ก็แต่งเพลงที่ทุกๆคนคุ้นหูกันอย่าง Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ขณะนั้นเองนิตยสาร Vogue ก็นำ Polka dot กลับมาตีพิมพ์ด้วยเหตุนี้เองมันจึงกลับมาโด่งดังในยุค 60 อีกครั้ง

แล้ว Yayoi Kusama เกี่ยวอะไร…?

Yayoi Kusama หรือที่เรียกกันว่า ป้าลายจุด เมื่อตอน Kusama อายุ 10 ขวบ เธอก็ทำงานประเภทนี้เหมือนกัน แต่เธอวาดภาพแม่ของเธอที่เต็มไปด้วยลายจุดทั้งบนตัว, ใบหน้า และฉากหลัง เธอให้ความหมายและเหตุผลจุดเหล่านั้นว่ามันคือความหมายของความไม่มีที่สิ้นสุดของจักรวาล (Infinity Dot) ติสท์ไปอีก….และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของอาการของหล่อนที่ไม่สามารถแยกภาพจริงกับภาพเสมือน แต่เธอก็ยังหมกมุ่นอยู่กับลายจุดเสมอมา ในช่วงปี 1967-1969 ผลจากที่เธอทำงานหนักเป็นอย่างมาก ทำให้งานเธอถูกไปจัดแสดงที่ Museum ที่ New York หลังจากช่วงทศวรรษที่ 70 เธอตัดสินใจเช็กอินตัวเองเข้าโรงพยาบาล Seiwa ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวช ซึ่งถึงแม้ว่าเธอจะป่วย แต่ผลงานของเธอก็ยังคงเป็นที่กล่าวถึงในวงการแฟชั่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และทำมันให้เธอได้ไปร่วมออกแบบให้กับแฟชั่นแบรนด์เนมอีกมากมาย

หลายคนอยากรู้ว่า คำว่า “polka” นั้นมาจากไหน..?

Polka เดิมนั้น เป็นการเต้นรำแบบเช็ก และแนวเพลงเต้นรำที่คุ้นเคยทั่วยุโรปและอเมริกา มันเกิดขึ้นในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ใน Bohemia ส่วนตอนนี้ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเช็กไปแล้ว เพราะ Polka ยังคงเป็นแนวดนตรีพื้นบ้านที่นิยมในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา

จะปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าจะพูดถึง Dot คงต้องพูดถึงยุค Pointillism

ลัทธิ Pointillism เป็นลัทธิที่ใช้จุดแบบละเอียดมากๆ มากแบบสุดๆ เพราะเทคนิคนี้เวลาจุดอยู่บริเวณใกล้ๆกัน เมื่อมองระยะไกลมันทำให้สายตาผู้ชม เกิดการผสมสีเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้ามองระยะใกล้ก็จะได้ความรู้สึกไปอีกแบบ

Georges Seurat นี้เป็นศิลปินฝรั่งเศสชื่อดังมากแห่งยุค Pointillism เค้าได้แรงบันดาลได้จาก Claude Monet ศิลปินตำนานเจ้าพ่อลัทธิ Impressionism เค้ามาดัดแปลงและค้นหาวิธีใหม่ๆ จนได้มาเป็นจุดเล็กๆๆมากๆ จนประกอบออกมาเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวได้ขนาดใหญ่ Georges Seurat จึงถือว่าเค้าเป็นบุคคลสำคัญแห่งยุค Neo-Impressionism เลย ผลงานอันโดดเด่นของเค้าก็คือ A Sunday on La Grande Jatte อีกคนนึงแห่งยุค Neo-Impressionism และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Paul Signac ซึ่งเป็นเพื่อนเค้าที่ร่วมกันผลักดันลัทธิ Pointillism เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการใช้ Dot นั้นมีวิวัฒนาการมาอย่าวยาวนานมากๆ และมันก็ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังในการสานต่องานต่อไปในอนาคต

มาต่อที่เรื่องเส้นกันเลยฮะ

Line หรือ เส้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบทั้งหมดของการออกแบบ มันเป็นสถานที่เริ่มต้นสำหรับการสร้างงานศิลปะ มันเป็นจุดเริ่มต้นของ Basic วิชาเรียนต่างๆของ Class วาดรูป แทบจะทุกๆ Class ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นการวาดภาพ หรือแม้กระทั่งงานประติมากรรม การออกแบบส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยเส้น

แล้วแท้ที่จริงเส้น มันคืออะไรกันแน่?

ครูคณิตศาสตร์ จะบอกว่าบรรทัดนั้นประกอบไปด้วยมิติความยาวเพียงด้านเดียว แต่ในโลกแห่งความจริงของการสร้างงานศิลปะ มันไม่เป็นเช่นนั้น เส้นมันคือ เส้นทางของจุด ผ่านพื้นที่ และยังมีความยาว ความหนา และความบาง อีกด้วย

ประเภทของเส้น มีดังนี้

1. เส้นแนวตั้ง: ตั้งตรงขึ้นและลงและตั้งฉากกับเส้นแนวนอน

2. เส้นแนวนอน: เป็นเส้นตรงขึ้นและลงและตั้งฉากกับเส้นแนวตั้ง

3. เส้นทแยงมุม: เป็นเส้นที่เรียงกันทุกทิศทางยกเว้นแนวตั้งหรือแนวนอน

4. เส้น Zigzag ไปมา: เป็นชุดของเส้นทแยงมุมวิ่งเข้าด้วยกันตั้งแต่ต้นจนจบ

5. เส้นโค้ง: เป็นเส้นที่โค้งงอในองศาเท่าใดก็ได้ พวกมันมาต่อเข้าด้วยกันเป็นคลื่นเบา ๆ หรือจะพันเกลียวก็ได้

รูปแบบของเส้น

เส้นมีหลากหลายรูปแบบ

มีทั้งยาว-สั้น, หนา-บาง, เรียบ-หยาบ, ต่อเนื่อง-เส้นปะ, เปลี่ยนทิศทาง, เส้นโค้ง, สานเส้น หรือจะรวมเทคนิคใดๆ ข้างต้นก็ได้

วิธีการต่างๆ ที่ศิลปินใช้เส้น

ใช้เพื่อร่างชิ้นงานสถานที่ หรือ ภาพวาดอีกมากมาย

ใช้เพื่อบ่งบอกอารมณ์ต่างๆ เช่น ความสงบ, ความโกรธ, ความเงียบ เป็นต้น

ใช้เพื่อนำสายตาผู้ชมให้เข้าสู่งานศิลปะ

ใช้เพื่อสร้างความสว่างหรือความมืด ตัวอย่าง เส้นที่วางชิดกันจะปรากฏสีเข้มกว่าเส้นที่อยู่ไกลกัน

ใช้เพื่อสร้างพื้นผิว ความหยาบหรือเรียบ

ตัวอย่างที่ใช้เส้นสาย รูปทรง

ตัวอย่างที่ 1

ศิลปะ OP Art ย่อมาจาก Optical Art (ปี1965-1970) เป็นศิลปะที่เน้นทฤษฎีการมองเห็นเพื่อให้เกิดการลวงตา รูปแบบจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบทางเรขาคณิตที่สร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหว หรือสั่น งานแนวนี้ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในสีดำ และขาว ในยุคหลังๆจะเปลี่ยนเป็นสีสันต่างๆที่ตัดกัน เหลื่อมกัน และยังใช้ช่องว่างทั้งบวกและลบเพื่อสร้างภาพลวงตาตามที่เค้าต้องการ

Op Art สามารถนิยามได้ว่า เป็นทั้งศิลปะนามธรรมหรือรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย เส้น และ รูปทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างภาพหลอกตาในประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่นเมื่อดูรูปภาพของ Op Art แบบ High Degree นั้นอาจทำให้ตาตรวจจับความรู้สึกของการเคลื่อนไหว (เช่นบวม, แปรปรวน, กระพริบ, การสั่นสะเทือน) บนพื้นผิวของภาพวาด หรือถ้าแบบ Standard Degree นั้น ด้วยรูปแบบรูปร่างรูปทรง และสี หลอกและเล่าเรื่องภาพเหล่านั้น เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระหรืออารมณ์ ตามที่ศิลปินต้องการ

ทำไม Op Art ถึงดังในช่วงนั้น

กระแสความเคลื่อนไหวที่สร้างชื่อกระฉ่อนให้แก่ อ็อพ อาร์ต คือ นิทรรศการ The Responsive Eye จัดโดย MOMA ในนิวยอร์ค เมื่อปี 1965 ทำให้กระแสความนิยมสไตล์นี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ว่าสไตล์ OP Art นั้นจะไม่ได้นานมาก แต่ปัจจุบัน งานสไตล์ Op Art นั้นแทบจะเรียกได้ว่านำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวงการแฟชั่น เช่น Hermes Chanel Coach Nike, วงการขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงานประติมากรรม เป็นต้น

ถ้าถามว่าใครคือตัวพ่อตัวแม่ของศิลปะออปอาร์ต ต้องยกให้ Victor Vasarely และ Bridget Riley

ตัวอย่างที่ 2

Peter Saville – ศิลปินชื่อดัง Iconic Record Covers

นับตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาทำงานให้กับ Factory Records ในช่วงปลายปี 1970 Peter Saville เป็นบุคคลสำคัญในการออกแบบกราฟิกและวัฒนธรรมสไตล์ Saville ช่วยในการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยการทำปกอัลบั้มเพลง ด้วยสไตล์ที่โดดเด่น และสง่างาม ถือเป็น Iconic ของช่วงเวลา ปี 1976-1980 เลยก็ว่าได้ ผลงานของเขารวมถึงปก Pleasures Unknown Pleasures  ที่เป็นเอกลักษณ์ของชิ้นหนึ่งมากๆ มันเป็นภาพของเส้นกราฟิกดีไซน์อันเรียบง่าย แต่เท่ห์มากๆ เค้าได้แรงบันดาลใจมาจากลายเส้นกราฟิกไดอะแกรมของคลื่นวิทยุ pulsar CP 1919 ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานวิทยุในกาแล็กซีของจักรวาล ต่อมาทาง Joy Division ได้มีการนำภาพกราฟิกของ Peter Saville มาออกแบบในคอลเลคชั่นนี้ ซึ่งในคอลเลคชั่น ประกอบไปด้วย เสื้อยืด T-shirt ,เสื้อแขนยาว,เสื้อเชิ้ตลาย ,เสื้อฮู๊ด และขวดน้ำ และอีกมากมาย

พูดง่ายๆว่า กราฟิก ภาพประกอบ แนว เส้นสายนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันมีมาตั้งแต่ ช่วงแถวๆ ปี1965 นานมากจริงๆ
แต่ความน่าสนใจคือ มันยังสามารถสร้างงาน และ Cross งานไปในวงการต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น วงการ Fashion, วงการ Product, วงการ packaging, วงการ architect และอีกมากมายจริงๆ เรียกได้ว่าแทบจะทุกยุคทุกสมัยทุกสาขา

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , ,

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

Somchana-Kangwarnjit-Dieline-Award-Winner-Packaging-Design

“นักออกแบบไทยเจ๋ง!” คว้า 3 รางวัลระดับโลก

Prompt Design บริษัทออกแบบแบรนด์อันดับ 4 ของโลกจากไทย คว้า 3 รางวัลจาก “Dieline Awards 2020” ด้วยอุดมการณ์ของคุณสมชนะ กังวารจิตต์ “เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย! ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์”

กว่า 1,400 ผลงาน จาก 21 ประเทศทั่วโลก Prompt Design ได้รางวัลอันดับ 1 ถึง 2 รางวัล และอันดับ 3 อีก 1 รางวัล จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับข้าวทุ่งกุลาอินทรีย์ โดยหน้าบนเป็นวัสดุที่ผลิตจากแกลบ ปั๊มลายเป็นรูปเมล็ดข้าว ภายในเป็นกระสอบ สะท้อนถึงความเป็นธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์นี้แปลงร่างไปเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชูสวย ๆ ได้ด้วย

รางวัลที่ 1 อีกผลงานเป็นขวดน้ำแร่ของดอยช้าง ในชื่องาน 4 Life ที่สะท้อนถึงการอยู่รวมกันของสัตว์ต่างๆ กับน้ำในธรรมชาติผ่านเส้นกราฟิกที่สื่อสารได้อย่างชาญฉลาด ส่วนผลงานที่ได้รางวัลที่ 3 เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งจากฟาร์ม Supha Bee Farm ผู้ผลิตน้ำผึ้งแค่ 1 ใน 2 รายในไทย ที่มีฟาร์มเลี้ยงผึ้งเป็นของตัวเอง เพาะพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งเอง สื่อสารโดยใช้กระดาษรังผึ้งมาเจาะช่อง เน้นความเป็นฟาร์มผึ้งอย่างชัดเจน


คุณสมชนะ กังวารจิตต์ ผู้ก่อตั้ง Prompt Design กล่าวว่า “ผมแค่เสียดายในทุกๆครั้งที่ประกาศงานประกวดออกแบบ แล้วมีแต่ชื่อของประเทศอื่น ๆ ตอนนั้นผมได้แต่บ่นว่า อะไรวะ, ทำไมวะ ทำไมคนไทยจะทำแบบนั้นไม่ได้ หลังจากนั้นเลยไม่บ่น เสียเวลา เลยทำมันซะเลย …ผมก็เลยทำ และต่อสู้มาร่วมมากกว่า 20 ปี เพราะ ผมรักประเทศนี้ อย่างน้อย ๆ ให้คนบนโลกได้เห็นชื่อว่า ประเทศไทย ไทยแลนด์ เว้ย ในวงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นี่คืออุดมการณ์ของผม”
Prompt Design เป็นบริษัทออกแบบสัญชาติไทย ที่ดังอยู่ในเวทีการออกแบบโลก คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแล้วมากมายรวม 74 รางวัล จากหลากหลายสมาคม อาทิ Dieline ของอเมริกา, Pentawards ของยุโรป, Red Dot ของเยอรมนี, IF Design Award ของเยอรมนี, Good Design Awards ทั้งของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย, Core 77 ของอเมริกา, World Brand Design Society ของอังกฤษ, Marking Awards ของจีน และอื่น ๆ อีกมากมาย จนกระทั่งทางสมาคม World Brand Design Society จัดอันดับให้บริษัท Prompt Design เป็นบริษัทในอันดับ 4 ของโลกในปี 2019-2020

Cr.Room Magazine

Filed under: Idea Packaging, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Packaging เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

Longbeer-01

เบียร์แพ็ค 99 กระป๋อง ยังถือว่าน้อยไป…!!!!!

ช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2019 ที่ผ่านมา มีภาพลังขนาดใหญ่ และยาวมากๆ ปรากฏภาพในโลกออนไลน์ ทำให้แฟนๆนักดื่มตัวยง เริ่มถามว่าใกล้ๆบ้านของพวกเขามีขายมั้ย?

มันคือแพคเกจจิ้งแพ็คเบียร์ 99 กระป๋องที่ขนาดยาวมาก (ซึ่งต้องมีอย่างน้อยสองคนที่จะช่วยยก) แบรนด์ Pabst Blue Ribbon (PBR) ซึ่งเป็นเบียร์ American Lager ชื่อดัง ที่เก่าแก่มากสมัยปี 1844

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , , , ,

4 ทริคง่ายๆ ทำยังไงให้บรรจุภัณฑ์ Delivery แตกต่าง!

Print

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ไม่ปกติเอาซะเลย ในเชิงธุรกิจสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคนั้น โดนผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะช่องทางที่ตนเองจัดจำหน่ายนั้นถูกปิดให้บริการ หลากหลายแบรนด์เบนเข็มมาหาช่องทางขายออนไลน์มากขึ้น เพียงเพื่อจะพาตัวเองและทีมงานให้อยู่รอด เลยหาช่องทางใหม่ๆกันจ้าล่ะหวั่น ทำให้ช่องทางออนไลน์นั้นจะมีอิทธิพลมากนับจากนี้ไป อนาคตต่อจากนี้การตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าจะเปลี่ยนไป

ในด้านบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พวกเราเลยอยากจะแบ่งปันด้วยว่า บรรจุภัณฑ์มันจะสามารถเสริมพลังตรงนี้ได้อย่างไร กับประสบการณ์การเปิดกล่อง (Unboxing Experience) ด้วยทริค 4 วิธีง่ายๆ

Unboxing-Experience-02
Unboxing-Experience-03
  1. Aesthetic

ปัจจุบันสินค้าขายในออนไลน์นั้นมีคู้แข่งขันมากมาย แต่ความสวยงามและความแตกต่างก็ยังคงเรื่องสำคัญ การส่งกล่องไปรษณีย์ที่มีรูปแบบเดิมๆอาจจะไม่เพียงพอต่อความแตกต่าง ดังนั้นการออกแบบไม่ว่าจะใช้สี ลวดลายกราฟิกภาพวาดต่างๆจะช่วยแบรนด์คุณได้ เพราะ เมื่อลูกค้าได้รับ เค้าจะประทับใจเพราะกล่องของแบรนด์เรา เพราะมีเอกลักษณ์สวยงาม และถ่ายรูปลงในสื่อ Social Media ทั้งหมดแสดงถึงความตั้งใจของเจ้าของแบรนด์พยายามในทุกส่วนของแบรนด์เรา

Unboxing-Experience-04
Unboxing-Experience-05
  1. Witty Message

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแนว Delivery และ E-commerce นั้น คือการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคแบบ 1 ต่อ 1 ดังนั้น การเพิ่มข้อความลงไป ไม่ว่าจะเป็น Brand Story, Brand Message หรือข้อความอื่นๆนั้น ถือเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่เราจะส่งสารต่างๆ ไปยังผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุด มันทำให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงแนวคิด, วิสัยทัศน์, ภารกิจของแบรนด์ หรือแม้กระทั้งวิธีการใช้งาน และคำอธิบายตัวสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Dollar Shave Club เป็นแบรนด์มีดโกนหนวดออนไลน์ ราคา 1 ดอลลาร์ฯ  ชื่อดังสัญชาติอเมริกัน เค้าโดดเด่นเรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์ เรียบ สวยงาม ไม่เหมือนของราคาถูกๆ ที่สำคัญด้านในยังบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านข้อความต่างๆ และแผ่นพับเอกสารด้านใน

Unboxing-Experience-06
  1. Make it Personal

การสื่อสารไปในเชิงรายบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความพิเศษของแบรนด์ที่มีมอบให้ เช่น ใส่กระดาษข้อความในบรรจุภัณฑ์ให้มีชื่อของผู้ซื้อ และประยุกต์ให้มีความพิเศษยิ่งขึ้น โดยการ ใส่สารคำขอบคุณจากใจของเจ้าของกิจการไปด้วย ลูกค้าก็จะยิ่งประทับใจมากขึ้น

Unboxing-Experience-07
  1. Environmental Concern

หลายคนอาจคิดว่าบรรจุภัณฑ์แบบ Delivery และ E-commerce นั้นจะเป็นการพูดเรื่องความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย ซึ่งตรงนี้เป็นหนทางที่ ถ้าแบรนด์เราคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆด้วยจะดีมาก เช่น การนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ, การลดใช้วัสดุ หรือแม้กระทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ในเชิง Upcycling เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นการทำให้แบรนด์ไปอยู่ในใจลูกค้า และยังมองในภาพวงกว้างเรื่องการใช้ทรัพยากรอีกด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น Tricks ของ Unboxing Experience ที่ควรต้องคำนึงถึงเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และส่งสารในแง่มุมต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง

ที่มา : Prompt Design

Filed under: Idea Packaging, Packaging Strategy, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us