Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

Case Study วิเคราะห์ N-joy ปลาแผ่น จากค่ายสิงห์

ค่ายเบียร์สิงห์ฉีกตลาดแนวใหม่หันมารุกตลาด Snack ส่งปลาแผ่นทอดกรอบ “เอ็นจอย(N-joy)” ลงเซเว่นอีเลฟเว่นเพื่อให้เข้ากับเทรนด์ Healthy Snack

หวังสู้กับเบนโตะ และฟิชโช แต่ความยากอยู่ที่ 2 เจ้านี้ ถนัดการทำ sea snack มานานแล้ว แต่ทางเบียร์สิงห์ฯ จะถนัดสินค้าในรูปแบบของน้ำ  ความมันส์จึงบังเกิดขึ้น..!!!

N-joy นั้นเป็นปลาแผ่นทอดกรอบปรุงรสไร้น้ำมัน ไร้ผงชูรส และโคเลสเตอรอลต่ำ มีทั้งหมด 3 รส คือ Original, Hot&Spicy และWasabi โดยชู benefit ว่าได้ Chef ไทยที่ดังระดับโลกจากประเทศอเมริกาอย่างคุณ Tommy Tang (ทอมมี่ แทงค์) ที่เคยปรุงอาหารให้เหล่าดาราระดับ Hollywood มาแล้ว มาเป็นตัวการันตีถึงคุณภาพความอร่อยชั้นเลิศ อะไรจะขนาดน้าน..!!!

เราได้ทดลองวิเคราะห์วิธีทำการตลาดของ เอ็นจอย(N-joy) นั้นพบว่า เริ่มต้นใช้วิธีการควบคุมคุณภาพในการผลิต โดยจ้างผู้ผลิตในเครือเอสทีซี กรุ๊ป มาผลิตให้ โดยใช้ชื่อสิงห์นั้นการันตีคุณภาพ จากนั้นยังใช้ Celebrity Marketing การทำตลาดโดยใช้ คุณ Tommy Tang (ทอมมี่ แทงค์) ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาเป็นผู้รับรองผลิตภัณฑ์ และจับช่องการการจำหน่ายหลักในตอนแรกที่ 7-11 เนื่องจากมีจำนวนสาขามาก และทางสิงห์ฯ ยังเน้นไปที่การกิจกรรม Below the Line เป็นหลัก และมี Poster Media, Banner, Product Sampling เพื่อสร้างการรับรู้ ซึ่งอาจจะมีการจัดโปรโมชั่นอื่นๆ

ซึ่งสิ่งต่างๆทั้งหลายนี้อาจจะต้องใช้งบประมาณมากระตุ้น Need ในการซื้อหลายล้านบาท ทั้งๆสิ่งที่ควรจะเป็นคือ เบื้องต้นสินค้ามันควรจะขายได้ด้วยตัวมันเองซึ่งทางทีมงานเราสอบถามร้าน 7-11 หลายสาขาแล้วพบว่าสินค้าตัวนี้ขายไม่ค่อยดี เราจึงมาวิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาที่ตัวสินค้าและตัวเสื้อผ้าที่ห่อหุ้มมันอยู่ (Packaging) ว่าทำไม ทำไม และทำไม….?

ทางเราจึงทดลองชิม เอ็นจอย(N-joy) ปรากฎว่ารสชาติปลาและ Flavor โอเค เพียงแต่ในถุงนั้นมีปลาค่อนข้างน้อย ส่วนมากจะมีแต่ลม ซึ่งแก้ไขได้โดยปรับ Sizing บรรจุภัณฑ์ หรือปรับขนาดสินค้า

ส่วนบรรจุภัณฑ์ (Packaging) นั้นชื่อ N-joy มีความหมายในแง่บวกดู Friendly และยังบอก Emotional Benefit ของสินค้า แต่ส่วนกราฟฟิกโดยรวมนั้นมีรูปแบบค่อนข้างคล้ายกันมันฝรั่งเลย์จนเกินไป (อาจจะเป็นความตั้งใจก็ได้) แต่จากการสอบถามผู้ที่เคยพบเห็นว่า เห็นปลาแผ่นเอ็นจอยรึยัง ทุกคนจะตอบด้วยคำตอบคล้ายๆกันว่า ซองที่คล้ายๆเลย์ใช่มั้ย? มันอาจจะมองได้ 2 มุม ว่า 1.คนจดจำได้เพราะคล้ายกับยี่ห้อดัง 2.คนมองว่าเป็นของเลียนแบบ

เนื่องจากหน้าตาของ Packaging เปรียบเสมือนปราการด่านแรกต่อผู้บริโภค ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดในการออกแบบ Packaging นั้น เราควรจะสร้างอัตลักษณ์ หรือ Identity เพื่อให้อยู่ในการจดจำของผู้บริโภค ด้วยข้อเสียของ Packaging ที่คล้ายเลย์นี้ แทนที่บรรจุภัณฑ์จะช่วยส่งเสริมการขาย แต่กลับทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งสับสนและรู้สึก Negative กับสินค้า หรือหากเป็นความไม่ตั้งใจของทีมออกแบบก็น่าจะเป็นการพลาดที่ไม่ได้ทำ Competitor Analysis ในสินค้าทางตรงและทางอ้อม ว่าหน้าตาบรรจุภัณฑ์นั้นโดดเด่นหรือไปคล้ายคู่แข่งรึเปล่า

ด้วยเหตุนี้เองทางทีมการตลาดอาจต้องทำงานหนักหน่อย เพื่อดันให้ “เอ็นจอย(N-joy)” นั้นประสบความสำเร็จ

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , ,

Cool Packaging Shopping Bag..!!!

ถุง…ใครคิดว่าไม่สำคัญ!!!

ถุง คือบรรจุภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดชิ้นหนึ่งของนักการตลาดและนักออกแบบเลยทีเดียว วิธีก็คือจะใช้ลูกค้าที่มาซื้อของนั้นเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเค้าเรียกการโฆษณาประเภทนี้ว่า Walking Advertising ส่วนลูกค้าที่โฆษณาให้เรานั้นจะเรียกว่า Silent Salesman ในต่างประเทศนั้นจะนิยมใช้วิธีนี้ในการโฆษณาเพราะประหยัด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องออกแบบถุงออกมาให้มีไอเดียเก๋ๆที่ช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการ

แต่สำหรับ Columm นี้ทีมงาน Packaging City จะรวบรวมถุงไอเดียเก๋ๆ

าไว้เป็นแนวทางว่า

“เพียงแค่ถุง..มันยังทำอะไรได้มากกว่าการถลุง

 

Filed under: Idea Packaging, , , , , , , , , , , , ,

Follow Us