Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

Packaging สาหร่ายเถ้าแก่น้อย หนึ่งในความสำเร็จที่ไม่ควรมองข้าม

เรื่องราวของเถ้าแก่น้อย ที่ปัจจุบันกลายเป็นเถ้าแก่ใหญ่ นั้นคุณๆท่านๆสามารถหาข้อมูลได้จากหลายๆทาง

young-en17

แต่วันนี้ทาง Packaging City นั้นจะมาผ่าเสี้ยวหนึ่งที่ทำให้เถ้าแก่น้อยนั้นประสบความสำเร็จจนทุกวันนี้ก็คือ บรรจุภัณฑ์ (Packaging) นั่นเอง

เหตุใดทำไมบรรจุภัณฑ์จึงมีผลขนาดนั้นเชียวรึ….? คำตอบคือใช่  มันมีส่วนอย่างมากเกินกว่าที่คุณคิดเลยก็ว่าได้

             ถ้าค้นคว้าความเป็นมาเป็นไปของคุณต๊อบ “อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์” นั้นช่วงแรกที่เค้าคิดจะทำสินค้าสาหร่ายนั้น ตัวเค้าเองได้ส่งสินค้าไปจำหน่ายตามร้านโชว์ห่วยในหลายๆที่ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่เค้าใช้นั้นเป็นแค่เพียงถุงพลาสติกใสๆ ติดแบรนด์เถ้าแก่น้อยแค่นั้นเอง อาจพูดได้ว่า บรรจุภัณฑ์ของ OTOP นั้นสวยกว่าเยอะ ซึ่งหลังจากนั้นยอดขายของสาหร่ายของคุณต๊อบเรียกได้ว่าขายไม่ค่อยดี แต่หลังจากนั้นเค้าจึงคิดจะใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” นั้นคือคิดจะเข้า 7- eleven ที่มีสาขาร่วม 4,000 สาขา แต่การที่จะขาย 7- eleven นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมาตรฐานในการวางจำหน่ายของ 7- eleven นั้นสูงมาก ทำให้คุณต๊อบต้องมีการคิดโดยรอบคอบและปรับเปลี่ยนทัศนคติหลายๆอย่าง เดิมที Packaging ของเถ้าแก่น้อยดูไม่น่าซื้อ แต่ภายหลังจากการค้นหาข้อมูลทางคุณต๊อบได้เปลี่ยนทัศนคติใหม่ ซึ่งก็รู้ว่าจริงๆ แล้วการทำ Packaging ให้สวยเทียบเท่าแบรนด์ขนมชั้นนำนั้นไม่ได้ลงทุนสูงอย่างที่คิด มันมีทางเลือกมากมายหลากหลาย ด้วยเหตุนี้เองคุณต๊อบจึงได้การเปลี่ยนแปลง Packaging ให้ดูน่าซื้อมากขึ้น ทำให้ 7- eleven นั้นไม่รีรอที่จะนำสาหร่ายเถ้าแก่น้อยไปจำหน่าย รวมทั้งคุณต๊อบเองเรียกได้ว่าเป็น First mover ของตลาด Snack สาหร่ายอย่างจริงจัง ทำให้คุณต๊อบหรือเถ้าแก่น้อยนั้นประสบความสำเร็จและเป็นเบอร์หนึ่งในวงการสาหร่ายไปโดยปริยาย นับได้ว่าน่าชื่นชมกับยอดคนไทยคนนี้เป็นอย่างมาก

Packaging City จะมาผ่ากลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ความสำเร็จของเถ้าแก่น้อยออกมาเป็นข้อๆให้เข้าใจได้ง่าย ว่าทำไมถึงออกแบบได้ดี

 

taokaenoi

Communication

1. Naming : การตั้งชื่อ “เถ้าแก่น้อย” ถือว่าทำได้ยอดเยี่ยม เพราะไม่มีชื่อนี้ในตลาดไทยและตลาดโลก อีกทั้งชื่อเถ้าแก่ กับคำว่าน้อย นั้น contrast กัน ทำให้ดูใหม่ น่าสนใจ จดจำได้ง่ายเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย การตั้งชื่อจะคล้ายๆกับแบรนด์ โก๋แก่ เป็นต้น

2. Brand : ตัวโลโก้เถ้าแก่น้อยนั้น ไม่เพียงแต่เป็น Mascot เฉยๆ ยังมีการสื่อสารด้าน Emotion ของรสชาติสินค้า ทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์นี้มากขึ้น

อีกทั้งเถ้าแก่น้อยเป็น Brand ใหม่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งก็คือ Logo ต้องมีขนาดใหญ่ๆ ซึ่งถือว่าทำได้ดี

3. Product : Packshot (รูปของสินค้า) นั้นถ่ายภาพได้ค่อนข้างน่ากินและเข้าใจง่าย

4. Color : มีการให้สีไปตาม Flavour ของสินค้า

5. Copy : ทำได้ดี มีการบ่งบอกคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ 3 ประการ 1. สาหร่ายเราเป็นของญี่ปุ่น 2. สาหร่ายเราเป็นของแท้ของจริง และ 3. อร่อยได้ง่ายๆได้คุณค่าอีกต่างหาก

6. Other : มีการเว้นให้เห็น Foil บริเวณด้านข้าง โดยการทำเป็นเส้นหยักๆ ให้ให้ดูแตกต่างและน่าสนใจ อีกทั้งด้านหลังบรรจุภัณฑ์โดยรวมก็ทำได้ดี ไม่ละเลยจุดเล็กๆ

Function

1. เลือกใช้ซอง Metalize ซึ่งถูกต้องแล้ว เพราะซอง Metalize นั้นช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ได้ดี

2. มีการใช้ Ziplock เพื่อการเก็บรักษาขณะแกะซองสินค้าแล้วทานไม่หมด


ลองมาดูเพื่อนบ้านของเถ้าแก่น้อยกัน

competitor_taokaenoi

 

              จะเห็นได้ว่าคู่แข่งเจ้าอื่นๆก็ลงมาเล่นชิ้นเค้กที่แสนจะหอมหวานของตลาดสาหร่ายกันเยอะ อีกทั้งยังมีการใช้กลยุทธ์ Me too Strategies ทั้งในเรื่องของ

1. Naming เช่น เถ้าแก่น้อย –> เถ้าแก่เนี้ย (เป็นแม่), ตี๋เล็ก(เป็นน้องชาย), โชกุเนะ (เป็นเถ้าแก่น้อยแบบญี่ปุ่น), ซีลีโกะกับทาเบรุ (จะออกแนวญี่ปุ่นๆ) เป็นต้น

2. Packaging ซึ่งจะเห็นว่าแบรนด์คู่แข่งทุกแบรนด์จะต้องมีตัว Mascot เหมือนเถ้าแก่น้อยกันหมด อีกทั้งเรื่องสีสันภาพรวมของบรรจุภัณฑ์ ก็ยังทำเหมือนกันอีก Original(สีเขียว) ต้มยำ(สีแดงๆส้มๆ) เป็นต้น

ทำให้ตลาดสาหร่ายนั้นมีความแตกต่างกันด้าน Packaging น้อยมาก ทำให้คู่แข่งนั้น ไม่อาจฉีกหนีจากรูปแบบของซองเถ้าแก่น้อยได้เลย

นี่ถือเป็น Case Study ของ First-Mover Advantage ที่ถือได้ว่ามีอิทธิพลเป็นอย่างมากในวงการสาหร่าย ทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่ๆที่เข้ามาเลยถอดแม่แบบออกมาเลย ดังนั้นการที่จะเป็นผู้แข่งขันอย่างจริงจังนั้นต้องสร้างความแตกต่างจากตลาดเพื่อเป็นจุดเปลี่ยนให้ได้

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , ,

Packaging = Brand Image

               นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์ที่มีหน้าที่หลักในการเก็บสินค้าแล้ว ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีกหลายหลากของบรรจุภัณฑ์ซึ่ง ณ เวลานี้หน้าที่ที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น การใช้บรรจุภัณฑ์ในการสร้างภาพลักษณ์ หรือ Brand Image ให้กับบริษัทนั้นเองครับ สินค้าที่มีการต่อสู้กันอย่างมากในเรื่องบรรจุภัณฑ์คงหนีไม่พ้นกลุ่มสินค้า FMCG(Fast Moving Consumer Goods) ที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทมีความโดดเด่นดึงผู้ซื้ออย่างเราๆ ให้หันมามอง (จากงาน วิจัยหลายแห่งพบว่า บรรจุภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ตมีเวลาน้อยกว่า 3 วินาทีในการดึงความสนใจจากผู้บริโภค)

Packaging_Image

               งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งด้านรูปแบบ วัสดุ รวมทั้งกรรมวิธีการผลิต ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่หลังในการรักษาสินค้าภายใน ได้อย่างดียิ่งแล้ว ยังได้ทำหน้าที่หลักในการสร้างแบรนด์เนมให้กับผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี บทความจาก Design Council จากประเทศอังกฤษในเรื่องบรรจุภัณฑ์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า

               งานออกแบบบรรจุภํณฑ์ที่ดีนั้นมิใช่มีหน้าที่จบลงหลังจากผู้ซื้อหยิบสินค้าออกจากชั้นวางขาย แต่ Life Cycleของบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์เริ่มต้นด้วยหน้าที่หลักในการห่อหุ้มสินค้า จากนั้นมันก็ได้เดินทาง ไปทำหน้าที่ Salesmanบนชั้นวางสินค้า ตามมาด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคหลังจากซื้อกลับบ้าน และท้ายสุดที่ขาดไม่ได้ก็คือการนำกลับมาใช้อีกครั้งในรูปแบบ Recycle-After use

               หน้าที่หลักและสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็คือการทำให้บรรจุภัณฑ์ของเรา นั้นมีความเด่น และดึงดูดความสนใจ (Visual Equities) ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่กลุ่มนักออกแบบมักนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ของเราโดดเด่น แปลกใหม่ จดจำได้ ซึ่งเคล็ดลับของการสร้าง Visual Equities มีดังนี้นะครับ

               เริ่มจากรูปทรง (Shape) การสร้างรูปทรงที่สอดคล้องกับสินค้าจะมีส่วนสำคัญที่ช่วย ผลักดันให้คุณค่าของสินค้าภายในดีขึ้น ตัวอย่างเช่นขวดน้ำแร่ Perrier ที่ออกแบบโดยใช้รูปทรง ของหยดน้ำมาเป็นรูปแบบ ของขวด ซึ่งถือเป็นการออกแบบที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ที่บ่งบอกถึงน้ำแร่ที่บรรจุอยู่ภายใน

perrier_packaging

นอกจากรูปทรงแล้ว อีกสิ่งที่จำเป็นต้องนำมาใช้ก็คือ สี (Color) โดยสีนั้นจะมีส่วนสำคัญอย่างสูงในการทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์เนมของเราได้เป็นอย่างดี เช่น สีเหลืองได้อยู่คู่กับแบรนด์เนมของชาลิปตันมานานแสนนาน

ถัดจากสีก็เห็นจะเป็น เรื่องของตัวแทนสินค้าหรือ Mascot ที่ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีส่วนช่วยอธิบายภาพลักษณ์ของสินค้าแทนคำพูด เช่นภาพเสือบนกล่อง Kellogg’s Cornflake หรือจะเป็นแบรนด์ใหม่ๆอย่างเถ้าแก่น้อย ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กและกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

 

kelloggs_taokaenoi

ท้ายที่สุดก็จะเป็นรูปแบบของตัวอักษร โลโก้สินค้า ชื่อสินค้า ฯลฯ ที่ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์ รูปแบบตัวอักษรนั้นนอกจากจะทำหน้าที่ในการให้รายละเอียดของสินค้าแล้ว ยังทำหน้าที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ทางอ้อมได้ด้วย

               ทั้งหมดนี้เป็นเคล็ดที่ไม่ลับของ Visual Equities บนบรรจุภัณฑ์ เป็นข้อมูลพื้นฐานหลักที่ผู้ประกอบการควรจะเรียนรู้ลองหันกลับไปดูและพิจารณาบรรจุภัณฑ์ของท่านที่มีอยู่นะครับ ว่าองค์ประกอบที่ปรากฎช่วยส่งเสริมแบรนด์ และสินค้านั้นเป็นเพียงแค่ไม้ประดับที่ไม่มีความหมายรึเปล่า…?

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , ,

ไม้ขีดไฟ จะสว่างต่อไปจริงรึ…?

Packaging Thai Matchbox

Packaging City วันนี้จะย้อนรอยเรื่องน่ารู้ๆของไม้ขีดไฟกันหน่อยและกัน

                  ไม้ขีดไฟที่เราๆท่านๆ คุ้นเคย ณ วันนี้นั้นอาจจะมีแค่ยี่ห้อเดียวหรือสองยี่ห้อ แต่ในอดีตกาลนั้นมันมีเป็นสิบๆแบรนด์เลยก็ว่าได้

                  มาย้อนรอยไม้ขีดไฟกันสักนิดนะครับ ไม้ขีดไฟยุคแรกๆ ที่เข้ามาขายในเมืองไทยนั้นเข้ามาประมาณสมัยร.4 โดยเป็นไม้ขีดไฟจากประเทศสวีเดนบ้าง(บาทหลวงนำเข้ามา) หรือญี่ปุ่นบ้าง ซึ่งไม้ขีดไฟเหล่านี้จะมีตราสินค้าและสลากบนกล่องไม้ขีดไฟซึ่งเรียกกันว่า “หน้าไม้ขีดไฟ” Packaging Thai Matchbox02

                  ไม้ขีดไฟของญี่ปุ่นนั้นจะมีหน้าไม้ขีดไฟมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปผลไม้ รูปดอกไม้ และจะมีคำว่า “MADE IN JAPAN” บอกไว้ข้างใต้นอกจากนี้ยังมีรูปทหารยืนถือธงช้างอยู่ข้างพระองค์และรูปช้างสองเชือกหันหน้าเข้าหาพระจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้และทั้งนั้นทั้งญี่ปุ่นก็ได้ทำ หน้าไม้ขีดไฟเป็น ภาพวาดของรัชกาลที่ 5 ทรงม้าในหลายๆแบบ โดยใต้รูปจะเขียนเป็นภาษาไทย ว่า “พระรบ” ซึ่งที่จริงแล้วน่าจะเป็นคำว่า “พระรูป” มากกว่าแต่เนื่องจากญี่ปุนคงเผลอลืมใส่เพราะคงไม่มีความรู้ภาษาไทยแน่ๆเลย

advertising001a

                  รูปบนหน้าไม้ขีดไฟหรือที่เรียกกันว่าศิลปะบนกลักไม้ขีดไฟยังมีอีกมาก ต่อมาในรัชกาลที่ 7 คนไทยก็สามารถผลิตไม้ขีดไฟเองได้ทำให้การนำเข้าไม้ขีดต่างประเทศลดลงในที่สุด โรงไม้ขีดในไทยยุคต้นๆได้แก่ บริษัทมิ่นแซจำกัด ผลิตตรานกแก้ว ตรารถกูบ , บริษัทตังอาจำกัด ผลิตตรามิกกี้เม้าท์ ตราแมวเฟลิกซ์, บริษัทไทยไฟ ผลิตตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย, บริษัทเอเชียไม้ขีดไฟจำกัด ผลิตชุด ก.ไก่ ข.ไข่ ซึ่งการผลิตหน้าไม้ขีดนี้ก็เพื่อให้ประชาชนที่ใช้ไม้ขีดไฟได้รับความรู้อีกทางหนึ่ง บริษัทสยามแมตซ์แฟ็กตอรี่ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย ผลิตตรา ธงไตรรงค์ ตราพระยานาค ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่ออีกรอบเป็นบริษัท จีไอเอฟ ไทยแมช จำกัด โดยมีคุณโดเมเน็ค มาสเฟอร์เรอร์ เป็นกรรมการผู้จัดการ

                  สิ่งน่ารู้หลังจากทางทีมงาน Packaging City ได้ลองวิเคราะห์ในมุมมองของ Packaging ไม้ขีดไฟแต่เดิมนั้น พบว่าในสมัยก่อนมีการใช้โฆษณาผ่านตัวกล่องไม้ขีดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาสินค้าและบริการ, โฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่นให้ระวังโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ใช้ในการลงสมัครหาเสียง หรือแม้กระทั้งบอกความรู้สึกของประเทศไทยหรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในตอนนั้น เช่น เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรืออื่นๆ เป็นต้น ฉะนั้นสาเหตุที่ใช้กล่องไม้ขีดไฟเป็นการโฆษณาก็เพราะ เป็นเครื่องอุปโภคที่จำเป็นอย่างยิ่งในสมัยก่อน ทำให้บทบาททางการสื่อสารทางการโฆษณาผ่านกล่องไม้ขีดไฟมีประสิทธิภาพค่อนข้างดีและราคาถูก

                  ข้อสังเกตต่อมาคือ ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีได้สร้างศัตรูตัวฉกาจของไม้ขีดไฟเข้ามา นั่นคือ “ไฟแช็ค” มันสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น พกพาก็ง่ายขึ้น มีลวดลายที่ทันสมัย หรือแม้กระทั้งเพิ่ม function ที่อำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมายซึ่งไม้ขีดไฟสู้ไฟแช็คไม่ได้เลย แต่มีอยู่เรื่องนึงที่ไฟแช็คคงต้องกลับไปคิดหนักๆ ก็คือ ทำอย่างไรให้ Packaging รีไซเคิลได้ง่าย

ถ้าทำได้ “วันนั้นไม้ขีดไฟจะสว่างไสวแค่เพียงในความทรงจำเท่านั้น”

Filed under: Packaging Strategy, , , , ,

Follow Us