Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

เบื้องหลังแนวคิดของแบรนด์ระดับโลก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ EP.1

วันนี้มาร่วมอัพเดทข่าวคราวในวงการบรรจุภัณฑ์ และเล่าเบื้องหลังที่มาของแนวคิด ของแบรนด์ที่ดังและมีชื่อเสียงระดับโลกกันนะครับ

มาเริ่มต้นที่เครื่องดื่มวอดก้าระดับต้นๆของโลกอย่าง Smirnoff
Smirnoff ปัดฝุ่นขวดแก้วหมายเลข 21 ให้พรีเมี่ยม…!!!

โดยการออกแบบกราฟิก และขวดแก้ว โดยลดโทนสีแดงลง และใส่การออกแบบตัวอักษรให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น

เท้าความเล็กน้อย Smirnoff คือเครื่องดื่ม Vodka อันดับต้นๆของโลก ก่อตั้งแบรนด์โดย P. A. Smirnoff สูตรที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คือ สูตรที่ 21 หรือ No.21 ปัจจุบันได้ถูกขายให้เครือ Diageo ไปแล้วในปี 1987 การออกแบบใหม่นี้เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์กว่า 151 ปี ในขณะที่ก็ยังต้องการเข้าถึงจิตวิญญาณร่วมสมัยของนักดื่มอีกด้วย

การออกแบบให้ทันสมัยขึ้นนี้ออกแบบโดย Design Bridge กับ Rob Clarke ในปี 2015  เป็นการจัดการปรับปรุงตัวอักษรให้หนาขึ้น ชัดเจนขึ้น และยังใช้กรอบรูปทรง Eyebrow เดิมอยู่ แต่ใส่ texture ด้านในด้วย โดยการซ่อน Meaning ภายใต้เส้นเล็กๆที่อยู่ภายในโลโก้จำนวน 21 บรรทัดนั้นคือ อ้างอิงถึงสูตรหมายเลข 21 ที่โด่งดัง และยังถอดฉลากที่ซับซ้อน Clean Element ที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้ Vodka  ด้านในนั้นเป็นพระเอก

หลังจากปรับแล้วและใช้งานจริงไปร่วมๆ 4 ปี ก็พบว่ามันมีข้อบกพร่องอยู่ ในปี 2019 จึงนำ Element ของ Smirnoff shield กลับมา และ บ่งบอกถึงสูตร No.21 ภายใต้โล่ห์ของทองพื้นแถบสีขาว เพื่อให้ขวดโดดเด่นอีกครั้งด้านหลังบาร์ในร้าน เพราะการทำขวดใสเลยนั้น เราควบคุมบรรยากาศของด้านหลังการสะท้อนไม่ได้ มันจะจมกลืนและไม่โดดเด่น พอปรับเปลี่ยนมันใหม่อีกครั้ง ผลคือแนวโน้มของผู้บริโภคมองหาเรื่องราวของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลวิจัยของ The Diageo Drinks Report 2019 และสิ่งนี้ทำให้พวกเขารับรู้ถึงประวัติศาสตร์ของแบรนด์ในสูตร Smirnoff’s Recipe No.21

Filed under: Packaging Strategy, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

รายการ PERSPECTIVE ชวนคุยไอเดียมันส์ๆ กับ คุณ สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

ตัวเต็มรายการ PERSPECTIVE พบกับมุมมองของ สมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน 3 ปี มาร่วมศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เขาใช้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้เขายังแบ่งปัน 7 เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปี 2020 ติดตาม เปอร์และแชมป์ ได้เลยครับ

This week on PERSPECTIVE, meet Somchana Kangwarnjit, Prompt Design a packaging designer who had won multiple world-class awards for 3 years in a row. Delve into the details on the strategy he uses that meets the needs of the consumers. He also shares with us the 7 most popular product trends of 2020. Follow Per and Champ to survey the market to keep yourself updated.

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

กราฟิก จุด จุด จุด เริ่มตอนไหน..???

ลายจุดเริ่มต้นขึ้นปี 1926 เมื่อ Miss America ว้าว..!!!
ถูกถ่ายภาพในชุดว่ายน้ำลายจุด ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน ในปี 1928 Disney ได้เปิดตัวการ์ตูน Minnie Mouse ที่สวมชุดลายจุดสีแดงและโบว์ที่เข้าชุดกัน แต่ไม่ sexy เหมือน Miss America น้า 5555 ตลอดช่วงทศวรรษ 1930 ชุดเดรสลายจุดก็ปรากฏขึ้นที่ร้านค้า มีการทำผืนลายผ้าและโบว์ขึ้นมาอย่างแพร่หลาย ในปี 1940 Frank Sinatra ก็ดั้น…มาแต่งเพลงบัลลาด ที่มีชื่อว่า “Polka Dots และ Moonbeams” อีก โดยในเนื้อหาของเพลงได้บันทึกไว้ถึงความนิยมของลายจุดในประเทศอเมริกา หลังจากนั้นหนังสือหัวดังของโลกอย่าง Los Angeles Times ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของวงการแฟชั่นกับลวดลาย Polka Dot ในช่วงเวลาเดียวกัน

หลังจากนั้นเกือบๆ 10 ปี ลายจุดก็มีการยกระดับขึ้นมาอีก ไม่น่าเลย 5555 เมื่อ Christian Dior เปิดตัว Collection “New Look” ในชุดประเภท Hourglass Dresses ลายจุดหลายสไตล์ มีให้เลือกเพียบ ผลปรากฏว่าขายดีมาก หลังจากนั้นดาราHollywood หญิง ก็เรียกได้ว่าเป็นหัวหน้าแก๊งค์ลายนี้เลย เช่น แม่นาง Elizabeth Taylor, Katharine Hepburn และ Marilyn Monroe

ปี 1951 แม่นางแห่งวงการอย่าง Marilyn Monroe ผู้โด่งดังมาก ก็ถ่ายแบบในชุดบิกินนี่ลาย Polka Dot โอย..แม่เจ้า สุดๆของสุดๆ หลังจากนั้น Brain Hyland ก็แต่งเพลงที่ทุกๆคนคุ้นหูกันอย่าง Itsy Bitsy Teenie Weenie Yellow Polka Dot Bikini ขณะนั้นเองนิตยสาร Vogue ก็นำ Polka dot กลับมาตีพิมพ์ด้วยเหตุนี้เองมันจึงกลับมาโด่งดังในยุค 60 อีกครั้ง

แล้ว Yayoi Kusama เกี่ยวอะไร…?

Yayoi Kusama หรือที่เรียกกันว่า ป้าลายจุด เมื่อตอน Kusama อายุ 10 ขวบ เธอก็ทำงานประเภทนี้เหมือนกัน แต่เธอวาดภาพแม่ของเธอที่เต็มไปด้วยลายจุดทั้งบนตัว, ใบหน้า และฉากหลัง เธอให้ความหมายและเหตุผลจุดเหล่านั้นว่ามันคือความหมายของความไม่มีที่สิ้นสุดของจักรวาล (Infinity Dot) ติสท์ไปอีก….และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของอาการของหล่อนที่ไม่สามารถแยกภาพจริงกับภาพเสมือน แต่เธอก็ยังหมกมุ่นอยู่กับลายจุดเสมอมา ในช่วงปี 1967-1969 ผลจากที่เธอทำงานหนักเป็นอย่างมาก ทำให้งานเธอถูกไปจัดแสดงที่ Museum ที่ New York หลังจากช่วงทศวรรษที่ 70 เธอตัดสินใจเช็กอินตัวเองเข้าโรงพยาบาล Seiwa ซึ่งเป็นโรงพยาบาลจิตเวช ซึ่งถึงแม้ว่าเธอจะป่วย แต่ผลงานของเธอก็ยังคงเป็นที่กล่าวถึงในวงการแฟชั่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์และทำมันให้เธอได้ไปร่วมออกแบบให้กับแฟชั่นแบรนด์เนมอีกมากมาย

หลายคนอยากรู้ว่า คำว่า “polka” นั้นมาจากไหน..?

Polka เดิมนั้น เป็นการเต้นรำแบบเช็ก และแนวเพลงเต้นรำที่คุ้นเคยทั่วยุโรปและอเมริกา มันเกิดขึ้นในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ใน Bohemia ส่วนตอนนี้ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเช็กไปแล้ว เพราะ Polka ยังคงเป็นแนวดนตรีพื้นบ้านที่นิยมในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา

จะปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าจะพูดถึง Dot คงต้องพูดถึงยุค Pointillism

ลัทธิ Pointillism เป็นลัทธิที่ใช้จุดแบบละเอียดมากๆ มากแบบสุดๆ เพราะเทคนิคนี้เวลาจุดอยู่บริเวณใกล้ๆกัน เมื่อมองระยะไกลมันทำให้สายตาผู้ชม เกิดการผสมสีเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้ามองระยะใกล้ก็จะได้ความรู้สึกไปอีกแบบ

Georges Seurat นี้เป็นศิลปินฝรั่งเศสชื่อดังมากแห่งยุค Pointillism เค้าได้แรงบันดาลได้จาก Claude Monet ศิลปินตำนานเจ้าพ่อลัทธิ Impressionism เค้ามาดัดแปลงและค้นหาวิธีใหม่ๆ จนได้มาเป็นจุดเล็กๆๆมากๆ จนประกอบออกมาเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวได้ขนาดใหญ่ Georges Seurat จึงถือว่าเค้าเป็นบุคคลสำคัญแห่งยุค Neo-Impressionism เลย ผลงานอันโดดเด่นของเค้าก็คือ A Sunday on La Grande Jatte อีกคนนึงแห่งยุค Neo-Impressionism และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Paul Signac ซึ่งเป็นเพื่อนเค้าที่ร่วมกันผลักดันลัทธิ Pointillism เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการใช้ Dot นั้นมีวิวัฒนาการมาอย่าวยาวนานมากๆ และมันก็ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นหลังในการสานต่องานต่อไปในอนาคต

มาต่อที่เรื่องเส้นกันเลยฮะ

Line หรือ เส้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบทั้งหมดของการออกแบบ มันเป็นสถานที่เริ่มต้นสำหรับการสร้างงานศิลปะ มันเป็นจุดเริ่มต้นของ Basic วิชาเรียนต่างๆของ Class วาดรูป แทบจะทุกๆ Class ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นการวาดภาพ หรือแม้กระทั่งงานประติมากรรม การออกแบบส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยเส้น

แล้วแท้ที่จริงเส้น มันคืออะไรกันแน่?

ครูคณิตศาสตร์ จะบอกว่าบรรทัดนั้นประกอบไปด้วยมิติความยาวเพียงด้านเดียว แต่ในโลกแห่งความจริงของการสร้างงานศิลปะ มันไม่เป็นเช่นนั้น เส้นมันคือ เส้นทางของจุด ผ่านพื้นที่ และยังมีความยาว ความหนา และความบาง อีกด้วย

ประเภทของเส้น มีดังนี้

1. เส้นแนวตั้ง: ตั้งตรงขึ้นและลงและตั้งฉากกับเส้นแนวนอน

2. เส้นแนวนอน: เป็นเส้นตรงขึ้นและลงและตั้งฉากกับเส้นแนวตั้ง

3. เส้นทแยงมุม: เป็นเส้นที่เรียงกันทุกทิศทางยกเว้นแนวตั้งหรือแนวนอน

4. เส้น Zigzag ไปมา: เป็นชุดของเส้นทแยงมุมวิ่งเข้าด้วยกันตั้งแต่ต้นจนจบ

5. เส้นโค้ง: เป็นเส้นที่โค้งงอในองศาเท่าใดก็ได้ พวกมันมาต่อเข้าด้วยกันเป็นคลื่นเบา ๆ หรือจะพันเกลียวก็ได้

รูปแบบของเส้น

เส้นมีหลากหลายรูปแบบ

มีทั้งยาว-สั้น, หนา-บาง, เรียบ-หยาบ, ต่อเนื่อง-เส้นปะ, เปลี่ยนทิศทาง, เส้นโค้ง, สานเส้น หรือจะรวมเทคนิคใดๆ ข้างต้นก็ได้

วิธีการต่างๆ ที่ศิลปินใช้เส้น

ใช้เพื่อร่างชิ้นงานสถานที่ หรือ ภาพวาดอีกมากมาย

ใช้เพื่อบ่งบอกอารมณ์ต่างๆ เช่น ความสงบ, ความโกรธ, ความเงียบ เป็นต้น

ใช้เพื่อนำสายตาผู้ชมให้เข้าสู่งานศิลปะ

ใช้เพื่อสร้างความสว่างหรือความมืด ตัวอย่าง เส้นที่วางชิดกันจะปรากฏสีเข้มกว่าเส้นที่อยู่ไกลกัน

ใช้เพื่อสร้างพื้นผิว ความหยาบหรือเรียบ

ตัวอย่างที่ใช้เส้นสาย รูปทรง

ตัวอย่างที่ 1

ศิลปะ OP Art ย่อมาจาก Optical Art (ปี1965-1970) เป็นศิลปะที่เน้นทฤษฎีการมองเห็นเพื่อให้เกิดการลวงตา รูปแบบจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบทางเรขาคณิตที่สร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหว หรือสั่น งานแนวนี้ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในสีดำ และขาว ในยุคหลังๆจะเปลี่ยนเป็นสีสันต่างๆที่ตัดกัน เหลื่อมกัน และยังใช้ช่องว่างทั้งบวกและลบเพื่อสร้างภาพลวงตาตามที่เค้าต้องการ

Op Art สามารถนิยามได้ว่า เป็นทั้งศิลปะนามธรรมหรือรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย เส้น และ รูปทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างภาพหลอกตาในประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่นเมื่อดูรูปภาพของ Op Art แบบ High Degree นั้นอาจทำให้ตาตรวจจับความรู้สึกของการเคลื่อนไหว (เช่นบวม, แปรปรวน, กระพริบ, การสั่นสะเทือน) บนพื้นผิวของภาพวาด หรือถ้าแบบ Standard Degree นั้น ด้วยรูปแบบรูปร่างรูปทรง และสี หลอกและเล่าเรื่องภาพเหล่านั้น เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระหรืออารมณ์ ตามที่ศิลปินต้องการ

ทำไม Op Art ถึงดังในช่วงนั้น

กระแสความเคลื่อนไหวที่สร้างชื่อกระฉ่อนให้แก่ อ็อพ อาร์ต คือ นิทรรศการ The Responsive Eye จัดโดย MOMA ในนิวยอร์ค เมื่อปี 1965 ทำให้กระแสความนิยมสไตล์นี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ว่าสไตล์ OP Art นั้นจะไม่ได้นานมาก แต่ปัจจุบัน งานสไตล์ Op Art นั้นแทบจะเรียกได้ว่านำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวงการแฟชั่น เช่น Hermes Chanel Coach Nike, วงการขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงานประติมากรรม เป็นต้น

ถ้าถามว่าใครคือตัวพ่อตัวแม่ของศิลปะออปอาร์ต ต้องยกให้ Victor Vasarely และ Bridget Riley

ตัวอย่างที่ 2

Peter Saville – ศิลปินชื่อดัง Iconic Record Covers

นับตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาทำงานให้กับ Factory Records ในช่วงปลายปี 1970 Peter Saville เป็นบุคคลสำคัญในการออกแบบกราฟิกและวัฒนธรรมสไตล์ Saville ช่วยในการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยการทำปกอัลบั้มเพลง ด้วยสไตล์ที่โดดเด่น และสง่างาม ถือเป็น Iconic ของช่วงเวลา ปี 1976-1980 เลยก็ว่าได้ ผลงานของเขารวมถึงปก Pleasures Unknown Pleasures  ที่เป็นเอกลักษณ์ของชิ้นหนึ่งมากๆ มันเป็นภาพของเส้นกราฟิกดีไซน์อันเรียบง่าย แต่เท่ห์มากๆ เค้าได้แรงบันดาลใจมาจากลายเส้นกราฟิกไดอะแกรมของคลื่นวิทยุ pulsar CP 1919 ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานวิทยุในกาแล็กซีของจักรวาล ต่อมาทาง Joy Division ได้มีการนำภาพกราฟิกของ Peter Saville มาออกแบบในคอลเลคชั่นนี้ ซึ่งในคอลเลคชั่น ประกอบไปด้วย เสื้อยืด T-shirt ,เสื้อแขนยาว,เสื้อเชิ้ตลาย ,เสื้อฮู๊ด และขวดน้ำ และอีกมากมาย

พูดง่ายๆว่า กราฟิก ภาพประกอบ แนว เส้นสายนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันมีมาตั้งแต่ ช่วงแถวๆ ปี1965 นานมากจริงๆ
แต่ความน่าสนใจคือ มันยังสามารถสร้างงาน และ Cross งานไปในวงการต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น วงการ Fashion, วงการ Product, วงการ packaging, วงการ architect และอีกมากมายจริงๆ เรียกได้ว่าแทบจะทุกยุคทุกสมัยทุกสาขา

Filed under: ไม่มีหมวดหมู่, , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us