Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ทำไมต้อง Minimal

คุณเคยคิดเหมือนกันมั้ยครับว่า ทำไมบนบรรจุภัณฑ์นั้นมันมีข้อมูลอะไรก็ไม่รู้ที่มากเกินไป ทั้งลวดลายสวยๆงามๆ ทั้งข้อมูลตามกฎหมาย ไหนจะความสูง, ไหนจะข้อมูลโภชนาการ ไหนจะมีเครื่องหมายต่างๆอะไรอีกก็ไม่รู้มากมาย

พวกเราลองนึกดูกันว่า มันจะยากแค่ไหนครับที่ผู้บริโภคมาหยิบของๆเรา ไหนจะต้องใส่ข้อมูล ไหนจะต้องออกแบบกราฟิก ไหนจะต้องกังวลว่าคู่แข่งที่รายล้อมเรานั้น มันจะเด่นกว่าเรามั้ย

แต่ที่พีคกว่านั้นคือ พื้นที่ของบรรจุภัณฑ์นั้นกลับเล็กนิดเดียวเอง แต่สิ่งที่จะใส่นั้นมันมากเหลือเกิน อีกทั้งคู่แข่งขันของเรา ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หน้าขาย Facing ของเค้ามีหลายตัว ยังไง๊…ยังไงก็เด่นกว่าของเราแน่นอน

แล้วทำยังไงดีล่ะเนี่ย….???

ทางออกก็ คือ Minimal Design

ก่อนจะเข้าเรื่องอธิบายเล็กน้อย
ในอดีตนั้นผู้บริโภคมักจะคุ้นเคยกับการออกแบบที่เรียกว่า Overwhelming Design มันเสมืองการตีคล้องร้องป่าว ตะโกนเสียงดัง พอมาถึงยุคศตวรรษที่ 19 นั้น วิธีคิดที่เรียกว่า Less is More ก็ถือกำเนิดขึ้นโดย Mies van der Rohe สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งประโยคนี้มีหมายความว่า “เป็นการใช้ส่วนประกอบน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออก” อธิบายให้เข้าใจเพิ่มเติมกับสิ่งรอบตัว ณ วันนี้ อย่างเช่น เมื่อก่อนมือถือมีปุ่มเยอะแค่ไหน แต่ยุคหลังๆเราแทบไม่เห็นปุ่มเหล่านี้เลย มีแค่เพียงเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ของผู้บริโภคทั่วโลก ที่แสดงความชื่นชอบในการออกแบบที่เรียบง่ายมากขึ้น แนวโน้มนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แบบมินิมอล เพราะความเรียบง่ายในบรรจุภัณฑ์หมายถึงสุนทรียภาพในการออกแบบภาพที่เน้นการส่งข้อความที่กระชับและจำเป็นไปยังผู้บริโภค

ทำไมต้องทำแบบมินิมัล
ก็เพราะว่า ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของบรรจุภัณฑ์แบรนด์คู่แข่งอื่นข้างๆ จะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นของเราได้ง่าย และยังเข้าใจข้อมูลที่เราใส่นั้น ได้ชัดเจน และผู้บริโภคจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญๆของเรา เพราะผู้บริโภคไม่ชอบให้ข้อมูลมากเกินไปมันย่อยยากในระยะเวลาอันสั้น

ดังนั้นถ้าอยากเป็นมินิมัลต้องทำยังไง

อันดับแรกคือต้อง เรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลเราก่อน ว่าอะไรที่เราอยากบอก ตัวอย่างเช่น จุดขาย, แบรนด์, ราคา, ขนาด, ข้อความทางการตลาด และ ตรามาตรฐานการรับรองที่โดดเด่นของเรา

แต่เราจะใส่ทั้งหมดเท่าๆกันไม่ได้เลย เราต้องจัดลำดับความเด่น ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง ไหนสำคัญเอาไว้ ไหนไม่สำคัญตัดออก หรือย้ายไปด้านหลังบรรจุภัณฑ์

คราวนี้เราก็จะได้หลักๆ เรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องรู้ไว้ว่า การที่ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดที่มากกว่าปกติธรรมดา แล้วตัดทอนออกให้เหลือแต่สาระและใจความสำคัญ จนบางทีแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งตรงนี้เองต้องใส่จินตนาการและความน่าสนใจในการดึงดูดมากขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นงานมินิมัล จะดูไม่น่าสนใจและไม่มีอะไรเลย สุดท้ายก็ต้องอย่าลืมใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้งานที่น้อยนั้นดูทรงพลังยิ่งขึ้น อย่างที่ Mies van der Rohe ได้กล่าวไว้อีกคำ คือ “God is in details”

เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ลองนำไปใช้ดูครับ แล้วจะพบว่างาน Minimal Design มันแสนที่จะมีเสน่ห์มากๆจริงๆครับ

สรุปวิธีการทำงานออกแบบสไตล์ มินิมัล
1. แยกส่วนข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก
2. จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล
3. เอาสาระสำคัญมาใส่ไอเดียให้น่าสนใจ
4. เก็บรายละเอียด Detail เล็กๆน้อยๆให้เนี๊ยบขึ้น

5. อย่าลืมไปสอบถามความเข้าใจกับผู้บริโภคว่างานของเรา สื่อสารได้ครบถ้วน

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us