Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

ข่าวล่าสุด! คุณ สมชนะ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลกมือ 1 ของไทย ไปตัดสินอีกแล้ว

นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก-สมชนะ หลังจากครั้งแรกที่ผ่านมา คุณแชมป์ สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design กับการไปเป็นกรรมการ PENTAWARDS 2013 ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน มาปี 2014 นี้ คุณสมชนะ ได้รับเกียรติไปตัดสินรางวัลสุดยอดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของโลกอีกครั้งหนึ่งที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากประสบการณ์ในครั้งแรกนั้น คุณสมชนะ กล่าวว่า “เขาพบว่างานออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)ในโลกล้วนสุดยอดจริงๆ ผมประทับใจเรื่องแนวคิดกลยุทธ์บรรจุภัณฑ์ที่ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก มันเสมือนดั่งเป็นการคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทรงพลานุภาพมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ในต่างประเทศจึงเสมือนเป็นท่าไม้ตายที่สำคัญท่าหนึ่งเลยทีเดียว” Somchana_Jury_member_Pentawards2014 ซึ่งปี 2014 นี้ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ตัวแทนชาติไทย ก็จะไปตัดสินรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลกอย่าง PENTAWARDS ณ กรุงโตเกียว ได้ข่าวคราวยังไง ทางเราจะคาบข่าวมาเรียนครับ

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Co-Branding โคแบรนด์ดิ้ง มิใช่โคบาล

ยุทธวิธี Co-Branding มันหมายความว่าอย่างไรล่ะเนี่ย..!!!! มันคือคาวบอย โคบาล รึป่าว..???

ไม่ใช่ครับผม มันคือ โค-แบรนด์ Co-branding หรือ Dual Branding จริงๆก็คือ ความร่วมมือกันจับมือกันระหว่างสองแบรนด์ องค์กร บริษัท หรืออาจจะมากกว่า 2 แบรนด์ก็ได้ โดยใช้จุดแข็ง หรือความชำนาญของแต่ละแบรนด์มาผนึกกำลังกันสร้างสินค้าบริการให้อยู่ภายใต้ผลิตภัณฑ์เดียวกัน เช่น บริษัท A เชี่ยวชาญด้านไอที และบริษัท B ชำนาญด้านการตลาด มีฐานลูกค้ารองรับ ได้ร่วมมือกัน ใช้ศักยภาพของทั้ง 2 บริษัท สร้างสรรค์สินค้าและบริการ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์โดยใช้แบรนด์ร่วมกัน พูดอาจเข้าใจยากเอาเป็นว่าตัวอย่าง

Co Branding Packaging

เช่น Apple และ Nike ที่เคยร่วมกันทำ Nike + ipod sport kit มันคือนวัตกรรมใหม่ของอุปกรณ์เสริมเพื่อการวิ่ง พูดง่ายๆก็คือ เอาอุปกรณ์นี้ไปติดที่กับรองเท้าไนกี้รุ่นพลัส และเอามาเชื่อมต่อกับ iPod เพื่อรายงานการวิ่งประมาณนั้นครับ ซึ่งการจับมือครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จในการเลือกจับคู่แบรนด์ได้เหมาะสม ทั้งในแง่ของ แบรนด์ที่มีการพัฒนาด้านนวัฒกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอและยังมีฐานลูกค้าสูงทำให้ศักยภาพของทั้งสองแบรนด์ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ออกมาได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี

cobranding-nike_ipod_sportkit

อย่างไรก็ดีลักษณะของการทำ Co-Branding มีหลายรูปแบบมาก

1. Ingredient Co-branding การใช้ส่วนประกอบของแบรนด์นึง ในการร่วมผลิตสินค้ากับอีกแบรนด์หนึ่ง และใช้ตราสินค้าร่วมกัน เช่น Dell computer กับ Intel processors คอมยี่ห้อ Dell แต่ชิพประมวลผลของ Intel เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการนำส่วนประกอบของแบรนด์อื่นๆ มาผสมกับแบรนด์เราเอง เพื่อเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น
Dell-Intel-co-branding
2. Joint Venture Co-branding การร่วมมือกันระหว่างบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัท หรือมากกว่านั้น โดยกำหนดกลยุทธ์ร่วมกัน และมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน เช่น การวางแผนการตลาดร่วมกันของสายการบินไทย กับซิตี้แบงค์ เพื่อให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตรเครดิตสะสมคะแนนแลกไมล์ในการใช้บริการสายการบินไทย เป็นต้น

Citibank-Cebu-Pacific-Card-Visa-Platinum
3. Same –company Co-branding คือ ภายในบริษัทเดียวกัน ที่มีผลิตภัณฑ์หลายๆ ตัว ต้องการที่จะทำรายการส่งเสริมการขายร่วมกัน เช่น สินค้าในเครือ P&G จัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายให้กับห้างสรรพสินค้า ทำรายการซื้อสินค้าในเครือ P&G ครบตามจำนวนจะได้รับของสมนาคุณ หรือ เห็นชัดๆอย่างมหกรรมลดราคาของ Unilever ไชโย SALE เป็นต้น

Unilever
4. Multiple Sponsor Co-branding คือ การใช้ความร่วมมือกันจากหลายๆ แบรนด์เพื่อสร้างเครือข่าย และผนึกกำลังช่วยส่งเสริมกันระหว่างแบรนด์ โดยอาศัยความชำนาญที่แตกต่างกันได้มาพัฒนา เช่น การจับมือกัน 3ฝ่าย ระหว่าง Jet Airway + VISA + ICICI Bank เป็นต้น

VISA-Jet-Airway-ICIC

จากตัวอย่างและรูปแบบทั้งหมดข้างต้นนั้น ผมนำมาย่อยให้ท่านได้เห็นเป็นกลยุทธ์วิธีในการทำ Co-brand เป็น 4 ประการ เพื่อท่านจะได้เลือกใช้ได้อย่างง่ายดาย
1.Reaching in เน้นการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาด โดยการเลือกหุ้นส่วนที่ช่วยเพิ่มศักยภาพต่อแก่นของแบรนด์ตัวเองให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น ตัวอย่างข้างต้น ก็คือ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ Dell เลือกร่วมมือกับ Intel ในการร่วมผลิตด้วย เนื่องจากลูกค้ามีความเชื่อและมั่นใจในประสิทธิภาพของ ระบบประมวลผลของ Intel จึงเป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าของแบรนด์สินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัทขนมขบเคี้ยวชื่อดังค่าย Frito-Lay ได้จับมือกับน้ำอัดลมเปิดตัว ชีโตสรสเมาเทนดิว (Mountain Dew Cheetos) และชีโตสรถเป๊ปซี่ เป็นสแน็กที่น่าสนใจไม่น้อยและสามารถกอบโกยยอดขายได้อย่างง่ายดาย

เมาเทนดิว-ขนม-บรรจุภัณฑ์เป๊ปซี่-ชีโตส-บรรจุภัณฑ์-COBRANDING

2.Reaching out เน้นการเข้าถึงช่องทางการตลาดใหม่ โดยเลือกหุ้นส่วนที่นอกจากเพิ่มศักยภาพของแบรนด์แล้ว ยังต้องเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ด้วย ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกร่วมมือกับแบรนด์สินค้า และผู้ให้บริการอื่นๆ เพื่อตอบสนองลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านค้าได้สะดวกและครบถ้วนมากที่สุด One-stop service นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพราะมีการให้บริการที่หลากหลายภายในร้านเดียว นอกจากนี้ ยังมีกรณีของ McDonald’s McFlurry กับ Kitkat รวมมือกันพัฒนาสินค้าในรสชาติใหม่ และยังสามารถปรับช่วงเวลาในการซื้อสินค้าของทั้งสองประเภทได้อย่างลงตัว เนื่องจากเดิม Kitkat เป็นของว่างทานเล่น ต่างจาก McDonald’s ที่ไว้ทานเป็นมื้ออาหาร เมื่อทั้งสองมารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นับว่าลงตัวและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้อย่างดี หรือแม้แต่ Adidas จับมือกับยาง Good Year ออกรองเท้ารุ่นพิเศษที่ใช้ยางจากล้อรถ Good Year เป็นต้น

Goodyear-Adidas-อาดิดาส

3.Reaching up เน้นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) และทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้น (Brand Value) ตัวอย่างเช่น การให้บริการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้ค้าออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตมักจะประสบปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการชำระเงินสินค้า ดังนั้น การร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำอย่าง Paypal ในด้านการชำระสินค้าก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ตัวเอง ซึ่งมีผลต่อลูกค้าได้เชื่อมั่นในสินค้าและบริการ และเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ตัวเองมากขึ้น

Payment_logo-Verify

4.Reaching beyond เน้นการพัฒนาต่อยอด โดยเลือกหุ้นส่วนที่มีความแข็งแกร่งด้านภาพลักษณ์ และมีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น Credit card ร่วมมือกับ MasterCard และ Visa สร้างเครือข่ายขยายตลาดสินค้าและการบริการไปยังสถาบันการศึกษา หน่วยงานการกุศลต่างๆ ผู้ให้บริการด้านรถยนต์ ปั้มน้ำมัน สายการบิน ที่พัก และร้านค้าต่างๆ โดยผู้ใช้บริการบัตรเครดิตสามารถใช้ Reward card ในการรับสิทธิพิเศษต่างๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก

การทำ Co-brand ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจ แต่การทำเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ขึ้นกับแต่ละแบรนด์ที่ร่วมมือกันว่าจะสามารถช่วยเพิ่มคุณค่าของแบรนด์ให้ต่อกันได้มากน้อยเพียงใด โดยอาจจะประเมินจากศักยภาพของกลุ่มลูกค้าหลังจากที่ได้ทำการ Co-branding แล้วว่ามีผลตอบรับเป็นอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นกับทัศนคติ มุมมองที่ลูกค้ามองเข้ามาต่อการรวมแบรนด์ใหม่ ด้วยว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม การทำ co-brand ก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เพราะถ้าเกิดแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งได้รับผลกระทบ ก็จะส่งผลไปยังอีกแบรนด์เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการต้องประเมินถึงข้อดีและข้อเสียของการรวมแบรนด์ว่าคุ้มค่ากว่าการสร้างแบรนด์เดียวหรือไม่ ขอบคุณครับผม^^

credit : SMEs Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , ,

Follow Us