Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

เป็นมากกว่าบรรจุภัณฑ์

หน้าที่บรรจุภัณฑ์เป็นนอกเหนือจากการเพียงแค่ทำหน้าที่ปกป้องสินค้า สร้างความสะดวกสบาย และสื่อสารทางการตลาดแล้วนั้น เมื่อท่านได้อ่านแล้วอาจจะเกิดมุมมองใหม่ๆมากมาย ในความหมายของการเป็นมากกว่าบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ (Packaging) คือ สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งบริโภคหรือแหล่งใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์(Packaging) ก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตและหีบห่อ โดยสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการตลาดและด้านการเก็บรักษา
อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน มีการนำบรรจุภัณฑ์มาใช้งานต่อหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ไม่ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่นักออกแบบและนักการตลาดของผลิตภัณฑ์แบรนด์นั้นๆวางแผนไว้ แต่เป็นการใช้งานโดยไม่ตั้งใจและก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางความคิดที่ปรับใช้กับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ

ตัวอย่างเช่น ควาญช้าง ที่นำขวดสะท้อนแสง เมาเทนดิว (Mountain Dew) ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะของตัวบรรจุภัณฑ์ คือ สีเขียวสะท้อนแสง นายพรานจึงนำขวดนี้มาห้อยไว้ข้างหลังช้าง เพื่อให้ผู้คนที่ใช้รถสัญจรไปมา ได้เห็นว่ามีช้างเดินอยู่บนท้องถนน เปรียบก็คือ นำขวดมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือ แทนไฟรถนั่นเอง นอกจากนี้ รถพ่วง รถบรรทุก หรือ รถกระบะต่างๆ ก็ได้นำมาห้อยไว้ท้ายรถจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นรถตัวเองชัดเจนขึ้น
Eco Packaging
ทั้งนี้ ก็ยังมีการนำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นลักษณะขวด PET ไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น ที่โกยผง กระถางปลูกต้นไม้ กับดักสัตว์ต่างๆ    หรือ เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ขวดpet ก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบเป็นเรือ เสื้อชูชีพ ซึ่งล้วนแต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ทำกันขึ้นมาเองทั้งนั้น หรือในต่างประเทศ เช่นประเทศฟิลิปปินส์ ก็นำขวดไปสร้างเป็นโรงเรียนเพื่อทดแทนโรงเรียนที่ถูกทำลายจากพายุไต้ฝุ่นทุกๆ ปี ไอเดียที่น่าสนใจอีกตัวอย่าง คือ หลอดไฟพลังแสงอาทิตย์ (Sola bottle) เริ่มจากวิธีง่ายๆนั่นคือ การบรรจุน้ำผสมคลอรีนลงไปในขวดพลาสติก เป็นการป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำจากนั้นก็ปิดฝาและทากาวด้านบนเพื่อเจาะติดกับหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้องและใช้หลักการสะท้อนของแสงแดด ทำให้ความสว่างส่องสะท้อนลงมาสู่ใต้หลังคาได้ ถือเป็นนวัตกรรมแสงสว่าง ที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้อีกทางหนึ่ง
Eco-Packaging2 Eco-Packaging3
ในทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลตรัง ก็ได้นำขวดน้ำเกลือที่เหลือใช้แล้วมาประดิษฐ์เป็นเฝือกดามกันเท้าตก (Short Leg Slab) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะข้อเท้าตก (Foot Drop) โดยสามารถใช้ทดแทนที่รองของจริงได้ถึง 1,200 บาท อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น บางเรื่องเราก็ไม่สามารถหาแหล่งที่มาของไอเดียได้ แต่โดยหลักๆ แล้วก็สามารถวิเคราะห์ได้ถึงพฤติกรรมสาเหตุการคิดค้นเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ดังนี้

1. เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้น สามารถทดแทน หรือนำไปใช้งานได้ เสมือนกับการใช้ผลิตภัณฑ์จริง ดังที่ยกตัวอย่าง ขวดน้ำเกลือทำเป็นที่ดามกันเท้าตก สามารถช่วยผู้ป่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นการช่วยนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ได้เป็นประโยชน์สูงสุด
2. รูปทรงและความทนทานชองบรรจุภัณฑ์ สามารถนำไปใช้งานทดแทนอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น นำไปปลูกต้นไม้ ที่ตักผงขยะ ใส่สิ่งของอื่นๆ หรือดักสัตว์ต่างๆ ทั้งที่จริงแล้ว ขวดบรรจุภัณฑ์หน้าที่หลักคือ ไว้ใส่ผลิตภัณฑ์ แต่ผู้คนก็สามารถพลิกแพลงกลายเป็นอุปกรณ์ใช้งานอื่นได้อีกด้วย ทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
Green packaging
3. เกิดจากการปรับตัว เนื่องจากในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ออกมาเยอะมากมาย ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาก็เยอะตามเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ขวด PET นับว่าเป็นปัญหาในการย่อยสลายค่อนข้างใช้เวลายาวนาน ดังนั้น เมื่อบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เยอะขึ้นทำให้ผู้คนเกิดการปรับตัว นำบรรจุภัณฑ์ที่ตัวเองพบเจอ หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน มาทดลอง หรือปรับเปลี่ยนเป็นของใช้ หรือใช้งานในรูปแบบต่างๆ นับไม่ถ้วน บางครั้งเกิดการลอกเลียนแบบ หรือทำตามๆ กันมา บางรายสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย เช่น สร้างเป็นโรงเรียน บ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ และหลอดไฟ เป็นต้น

Scheme-in-Phillipines-whe-006
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์เป็นแรงบันดาลใจ หรือ สามารถจุดประกายไอเดียใหม่ๆ ได้ก็ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการนำบรรจุภัณฑ์ไปใช้งานต่อ จะทำให้ปริมาณของเสียจากการผลิตบรรจุภัณฑ์หมดสิ้นไป กระบวนการกำจัดขยะก็เป็นเพียงแค่ปลายทางที่ช่วยกำจัดขยะเสียได้เพียงบางส่วนและต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานเช่น บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก ดังนั้น นักออกแบบรุ่นใหม่ควรจะหันมาใส่ใจกับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตออกมาว่ามีความคุ้มค่าในการใช้งานมากน้อยอย่างไร หรือนำภูมิปัญญาจากผู้บริโภคที่สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ไปต่อยอดในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีฟังก์ชันการใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

เครดิต : SMEs Plus

Filed under: Idea Packaging, Other, , , , , , , , , , , , , , ,

Eco-Packaging (บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม)

มีงานๆหนึ่งที่ชื่องานว่า Green Solution ซึ่งมีการบรรยายในหัวข้อ Eco Packaging ซึ่งว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและทุกๆควรต้องตระหนัก มันเรียกง่ายๆว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร มันตรงตัวอยู่แล้วครับ คือบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

eco-packaging

ทำไมต้องเพื่อสิ่งแวดล้อม….???

 

คืองี้ครับ ในอดีตตัวบรรจุภัณฑ์เองนั้นหน้าที่พิ้นฐานคือปกป้องสินค้า แต่พอเวลาผ่านไปบรรจุภัณฑ์เป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้แทนที่จะช่วยปกป้องสินค้าแต่กลับเป็นมลภาวะต่อโลกเองซะงั้น ผลการวิจัยพบว่า ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์นั้นมีมากมายขนาดว่า ภูเขากองขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือนั้น มีขนาดใหญ่กว่าประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 เท่า แม่เจ้า…มันเยอะจริงๆ นะครับขอบอก และยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละวัน วัวนับร้อย หรือสัตว์นับร้อยในอินเดียล้มตาย เพราะกินถุงพลาสติกที่ถูกทิ้ง อีกทั้งทั่วทั้งโลกทุกๆ 1 นาที มีการใช้ถุงพลาสติกไม่ต่ำกว่า 1,000,000 ใบ และหากนำถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีมาเรียงต่อกัน จะเท่ากับระยะทางจากโลกไปกลับดวงจันทร์ถึง 7 รอบ นี่คือโลกของเราหรือเนี่ย มันเต็มไปด้วยขยะมากมายจริงๆ
“Living in the Angkor Hell”. Anlong Pi, Siem Reap. Cambodia. 2010-2013Photography: ©Omar Havana img_1592

แต่เดี๋ยว ท่านต้องเข้าใจก่อนว่า สำหรับเมืองไทย โดยมากการทำอะไรเพื่อโลกนั้นจะต้องมีราคาแพงกว่าปกติเสมอๆ เช่น กล่องโฟม อาจจะใบละ 3บาท ใช้ไบโอชานอ้อยอาจจะอยู่ที่ 5-8 บาท เป็นต้น ฉะนั้นน้อยคนที่จะใช้ได้ แต่ไม่เป็นไร ผมจะประมวลหัวข้อสำคัญๆเพื่อให้ท่านตระหนักว่าในตัวบรรจุภัณฑ์ของท่านั้น ท่านจะช่วยโลกได้อย่างไรบ้าง

1. Materials ง่ายที่สุดคือการเปลี่ยนวัสดุ ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Coca-Cola ในต่างประเทศนั้นทยอยปรับใช้นวัตกรรมใหม่อย่าง PlantBottle ซึ่งก็คือ ขวดพลาสติก PET (polyethylene terephthalate) บรรจุเครื่องดื่มชนิดแรกที่สามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะขวด PlantBottle มีองค์ประกอบบางส่วนที่ได้จากพืช 30% ซึ่งตรงนี้ทาง Coca-Cola ได้ทอลองใช้ขวด PlantBottle ไปกว่า 14,000 ล้านขวดใน 24 ประเทศ เทียบเท่ากับลดปริมาณการใช้น้ำมันถึง 300,000 บาเรล ในอนาคตเป้าหมายขวด PlantBottle จะแทนขวดพลาสติกทั้งหมดภายในปี 2563

Print plantbottle2

 

มีอีกนวัตกรรมนึงของศาสตราจารย์ David Edwards ซึ่งคิดค้น “WikiCell” ขึ้นมาโดยได้แรงบันดาลใจจากเซลล์ธรรมชาติในผลไม้อย่างองุ่น ส้ม หรือมะพร้าว ที่มีเปลือกนอกห่อหุ้มเนื้อและของเหลวภายในมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ หากลองนึกถึงผลส้ม จะเห็นว่าเปลือกส้มนั้นทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความคงทนและย่อยสลายได้ในตัวเอง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องบรรจุใส่ในกล่องหรือถุงต่างหาก นอกจากนั้นเปลือกของมันยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย นวัตกรรมนี้ถูกจัดให้เป็น 32 นวัตกรรมเปลี่ยนโลกของนิตยสาร The New York Times เลยทีเดียว แต่สุดท้ายก็ต้องมีการพัฒนาอีกมาก
wikicell - outer shell.jpg David_Edwards_Wikicells Wiki-Cell-3-thumb-620x388-41873 wikicells-with-hand

2. Transport ก็เป็นวิธีหนึ่งที่หันหลังกลับไปมอง Logistic ของตนเองว่าในมุมบรรจุภัณฑ์จะช่วยปรับปรุงอะไรได้บ้าง เช่น บรรจุภัณฑ์ของสีทาบ้าน Dutch Boy จากเดิมที่เป็นกระป๋องเหล็กทรงกลม ก็ถูกปรับให้เป็นกระป๋องพลาสติกทรงเหลี่ยม ซึ่งข้อดีคือ ลดพื้นที่ว่าง ประหยัดพื้นที่ และเพิ่มพื้นที่รับแรงเมื่อกระป๋องเรียงต่อกันใน Pallet อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถุง Puma ที่จากกล่องเปลี่ยนมาเป็นผ้า ทำให้ลดพื้นที่ในการขนส่งได้
DutchBoyWhiteLead1Dutch Boy Twist & Pour

3. Use การใช้งาน ซึ่งไอเดียของมันคือสามารถนำมาใช้งานในอีกได้ เช่น ถุง Shopping Bag ของแบรนด์กางเกงยีนส์ Lee ซึ่งสามารถนำมาตัดต่อ ประยุกต์เป็นของอื่นๆได้, งานไอเดีย Re-Pack ซึ่งเป็นกล่องทั่วๆไป ที่มีไอเดียในการใช้ด้านในกล่องซ้ำอีกรอบหนึ่งก็ได้, หรืออาจะเป็นกล่อง eBay ที่ผลิตมาพิเศษ 100,000 ใบ โดยจัดการแจกคนที่ใช้การซื้อขายออนไลน์ แต่ที่เป็นไอเดียสำคัญคือ เขาออกแบบให้มีพื้นที่เขียนถึงคนข้างใน 6 ช่อง เพื่อที่ว่าพอคนส่งพัสดุเรียบร้อยแล้ว คนรับต่อก็สามารถไปใช้ Pack ของต่อๆกันได้ทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากร
lee-bag re-pack-packaging14949299457_09195245c6_oebay_box1

4. Disposal การจัดการขยะ หมายถึงอะไร ก็หมายถึงว่า ต้องมีการบ่งบอกถึงก็จัดการขยะ เช่น การแยกขยะตามวัสดุที่ใช้ทำตัวมันมาด้วยสี ด้วยภาพ เช่นทำสีถังขยะ

5. Manufacture ก็คือไปศึกษาถึงโรงงานผิดว่าเราจะพัฒนาอย่างไรบ้างในเชิงบรรจุภัณฑ์

6. Communication ก็คือ การสื่อสาร แล้วมันเกี่ยวอะไร มันเกี่ยวตรงที่ เราต้องสื่อสารความดีที่เราได้ช่วยโลกออกไปให้คนตระหนักมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Smoke Tissue มันทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนัก ถึงมลภาวะ โดยทำเป็นโรงงานก่อสร้างที่ปล่อยมลพิษควันออกมาโดยสอดคล้องกับทิชชู่ แล้วครูจะมาอีกนะ มันก็สื่อโฆษณานี่เอง แต่เราต้องถ่ายทอดให้ถูกจุด

smoke_tissue_case3 smoke_tissue_case4 smoke_tissue_case5

นี่เป็นหัวข้อเบื้องต้นในการเตือนถึงการสร้างบรรจุภัณฑ์แบบช่วยกันดูแลโลกให้เท่าที่ท่านจะสามารถทำได้ ช่วยได้ ท่านลองพิจารณาดูได้ครับว่าสมควรหรือไม่ แต่บางทีท่านอาจจะเอาจุดรักษ์โลกเป็นจุดขายแบบ น้ำดื่มน้ำทิพย์ ก็เป็นไปได้ ทั้งหมดนี้ท่านทดลองไปประยุกต์นะครับ

เครดิต : SMEs Plus

Some content on this page was disabled on May 12, 2020 as a result of a DMCA takedown notice from Omar Havana. You can learn more about the DMCA here:

https://wordpress.com/support/copyright-and-the-dmca/

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , ,

Follow Us