Packaging City

Packaging Design Knowledge Center

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาค1 และ 2

Pentawardออกแบบบรรจุภัณฑ์2ออกแบบบรรจุภัณฑ์1ออกแบบบรรจุภัณฑ์3

จากหนังสือ SMEs PLUS
บทความ : เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลกออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาคที่1

สวัสดีครับ ผมสมชนะ กังวารจิตต์ กลับมาจากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินการออกแบบบรรจุภัณฑ์โลก PENTAWARDS 2013 ที่กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ถือได้ว่าเป็นคนไทยท่ามกลางกรรมการท่านอื่นๆจากตัวแทนประเทศมหาอำนาจโลกอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สวีเดน, เบลเยี่ยม, กรีซ,  ญี่ปุ่น, เกาหลี และ Prompt Design จากไทยแลนด์ ด้วยประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้นั้นมากล้นจริงๆ แต่หลักๆที่ได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการตัดสินที่ยากที่สุดในชีวิตผม มันเป็นการตัดสินผลงานที่มหาหินมาก  เนื่องจากว่าผลงานที่ส่งมาจากทั่วทุกมุมโลกนั้น ล้วนแล้วแต่ดีๆด้วยกันทั้งสิ้น แต่มีเพียงดาวจรัสฟ้าท่ามกลางหมู่ดาวเท่านั้นที่ได้รางวัล ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าชิ้นงานที่ได้รับรางวัลนะครับว่า ทำไมหนอ….เค้าจึงได้ (แต่พื้นที่ในการเขียนผลงานนั้นมีจำกัด ผมจึงขอทยอยเขียนนะครับท่านผู้อ่าน^^) เริ่มกันเลย

Absolut Unique Packaging Design

absolut4millionbottles-3750858

ผลงานแรกที่ได้รางวัลนั้นเป็นผลงานของ Absolut Vodka ชื่อว่า Absolut Unique เค้าบอกว่า “พวกเขาไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงทำมัน” Mark Twain กล่าว นี้คือความจริงอย่างแน่นอน

ของบริษัท Family Business ที่อยู่เบื้องหลังความคิด แนวคิด การพัฒนาโปรเจ็คนี้ บนพื้นฐานการผลิต Absolut Vodka 4 ล้านขวดโดยแต่ละขวดไม่ซ้ำกันเลย ขอเกริ่นนิดนึงก็คือว่าแต่ละปีนั้น Abosolut Vodka ได้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในการออกสินค้ารุ่น Limited Edition ที่ผ่านมาก็เช่น Absolut Disco, Absolut Rock, Absolut Masquerade, Denim, 100, Bling-Bling, Miami, No Label และอีกมากมาย

แต่ในปี 2012 จะเป็นการกำหนดให้คำจำกัดความใหม่ของคำว่า Limited Edition แบบเดิมๆที่ทำกันมาก็คือ ทำสินค้ามาพิเศษสักรุ่นหนึ่งสั่งผลิตเหมือนๆกันโดยอาจจะกำหนดว่าผลิตกี่ชิ้นก็ว่ากันไป  แต่งานของบริษัท Family Business ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เค้าอยากให้ทุกๆขวดนั้นไม่ซ้ำกันเลยสักขวด และผลิตไม่น้อยกว่า 4 ล้านชิ้น เพื่อให้แต่ละขวดกลายเป็น Limited Edition ในตัวของมันเอง แม่เจ้า!!!!! มันไม่ง่ายเลย!!!!! มันเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก มันเป็นความท้าทายที่เป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับ Family Business และ Absolut ไม่คิดเช่นนั้น ทางออกเค้าก็แค่ทำงาน ทำงาน ทำงานให้หนักขึ้น ให้มากขึ้น ทุ่มความคิดสร้างสรรค์ และความรักลงไป แนวคิดเค้าก็คือ เข้าไปปรับในสายการผลิตให้มีความสามารถในการผลิต 4 ล้านขวดที่แตกต่างกัน ซึ่งทางบริษัท Family Business นั้นได้วางแนวทางของเครื่องจักรให้สอดคล้องกับลวดลายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พ่นสี, ปาดสี, สะบัดสี เมื่อขวดวิ่งไปในสายการผลิตขวดนั้นจะถูกเครื่องจักรสุ่มลวดลายต่างๆ จึงได้ออกมาแตกต่างกัน บ้างก็แตกต่างกันที่การพ่น การสะบัด การปาดเมื่อวางขาย ผลก็คือเกือบ 4 ล้านขวดถูกขายก่อนที่จะสิ้นสุดแคมเปญโปรโมชั่นโดยไม่ต้องลดราคาแต่อย่างใด พันธกิจที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ทำให้สำเร็จได้ ถือว่ามหัศจรรย์มากๆ ต้องยกนิ้วให้เลย

master.budweiser_perspective_12_cansANHEUSER-BUSCH BUDWEISER BOWTIE CANColin-Joliat-Budweiser-Bowtie

ผลงานชิ้นต่อมาที่ได้รางวัลคือ Anheuser-Busch InBev มหาอำนาจองค์กรผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ของโลกส่งแบรนด์ Budweiser มาเข้าชิง การที่จะทำแบรนด์ให้โดดเด่นจากคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะใช้สี ใช้ชื่อแบรนด์ ใช้รูปร่างรูปทรง แต่ในโลกของเบียร์นั้นที่ขายในบรรจุภัณฑ์กระป๋องส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันทั้งโลก ซึ่งมันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสร้างความแตกต่าง หรือสร้างความโดดเด่น  แต่นี่คือสิ่งที่ทีมงานฝั่งสร้างสรรค์กับฝั่งวิศวกรรมของบริษัท Metaphase Group ที่นำเสนอการสร้าง Budweiser ให้เป็น “กษัตริย์ของเบียร์” อย่างแท้จริง โดยการสร้างกระป๋องให้มีรูปร่างเหมือนผูกโบว์ การใช้องค์ความรู้ ความท้าทายทางเทคนิคในการผลิตกระป๋องในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงMetaphase Group เท่านั้นที่จะทำได้ ซึ่งผลออกมาทำได้ค่อนข้างดีมาก มันตอบวัตถุประสงค์ได้หลายข้อ เช่น การสร้างความน่าสนใจความแตกต่าง การใช้งานตอบสนองต่อการยศาสตร์(Economic) เป้าหมายของ Budweiser  ก็คือเมื่อมันมาอยู่ในมือคุณแล้วมันจะส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้เข้าใจได้ว่า แบรนด์ได้ถูกจัดการระบบและเพิ่มมูลค่าเข้าไป เพราะด้วยรูปทรงที่แตกต่างของกระป๋องนั้นสอดคล้องกับตัวตราสัญลักษณ์อีกด้วย ไม่มีอะไรที่ดีกว่าแนวทางนี้อีกแล้วแน่นอน รับรอง!!!!

Tiger-nuts-smoky-bacon-and-sweet-chilliTT 300-185 (Sept. 2011)walkers tiger nuts packs

มาถึงชิ้นต่อมา ถ้าพูดถึงในโลกของมันฝรั่งทอดกรอบและถั่วที่ขายอยู่ในถุงนั้นมันจำเป็นที่จะต้อง “โดดเด่น” ซึ่งการแข่งขันจากแบรนด์ระดับชาติ และ House Brand นั้นช่วยผลักดันให้เกิดข้อจำกัด Walkers (ที่รู้จักกันในแบรนด์มันฝรั่งแผ่นเลย์) เป็นผู้นำตลาดใน มันฝรั่งทอดและพยายามจะทำอย่างนั้นกับตลาดถั่วเหมือนกัน เพื่อเป้าหมายบริษัท Design Bridge ได้จัดการสร้างตัวแทนของใบหน้าของเสือโคร่ง โดยมีคำว่า Tiger Nuts ซ่อนอยู่ เป็นการออกแบบที่เล่นกับการรับรู้แบบซ่อนเร้น ลวงตา ถือว่าฉลาดมาก ถือว่าสร้างสรรค์และโดนใจเลยทีเดียว

นี่ถือเป็นผลงานส่วนหนึ่งที่ได้รางวัลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับโลก มันน่าสนใจมากๆ อย่างน้อยๆมันคงจุดพลังไฟของท่านให้ลุกติดขึ้นใหม่อีกครั้ง ผมเชื่อแหละครับว่า การทำอะไรให้ปนะสบความสำเร็จตามเป้านั้น ไม่ยากหรอกครับ เพียงแค่มีความเชื่อมั่นว่าเราจะต้องทำมันได้ ทำมันให้สำเร็จ ท่านก็จะเดินไปสู่เส้นชัยในการประสบความสำเร็จระดับประเทศ และสู่ระดับโลกในที่สุด ถึงวันนั้นท่านจะภูมิใจในความเป็นไทยผงาดในโลกจริงแบบผม ขอบคุณครับ^^

มาต่อกันภาคที่ 2 เลยครับผม

เล่าประสบการณ์ผ่านเวทีโลก(บรรจุภัณฑ์) ภาค2

ถ้าหลายๆท่านยังงงว่าผมพูดเรื่องอะไรนั้น ก็คือว่ายังงี้ครับ ขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆ คือผม สมชนะ กังวารจิตต์ จากบริษัท Prompt Design ได้มีโอกาสไปตัดสินรางวัลบรรจุภัณฑ์ของโลกอย่าง PENTAWARDS ประเทศสเปนมาครับ ผมเลยจึงอยากมาเล่าประสบการณ์ดีๆ แรงบันดาลใจผ่านผลงานดีๆ ให้ท่านได้รับทราบกันครับ

มาที่ผลงานกันเลยดีกว่าครับ…!!!!

Strong-Packaging-Design-Idea

ผลงานที่ได้รางวัลต่อจากครั้งที่แล้วอันนี้น่าสนใจมาก ชื่อแบรนด์ว่า Strong ซึ่งทำอาหารเสริมต่อสุขภาพหรือเค้าเรียกกันว่า Nutriention Supplements บริษัทที่ดูแลก็คือ Pearlfisher จากประเทศอังกฤษ เค้าได้สร้างทั้งหมดของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น กลยุทธ์, การตั้งชื่อ, ตัวตนของบรรจุภัณฑ์ แม้กระทั่งวิธีการขาย เรียกได้ว่าดูและทั้งหมดกันเลยทีเดียว แบรนด์ Strong นั้นผลิตจากวัตถุดิบที่คุณภาพสูงมาก และสดใหม่ พัฒนาเพื่อให้เข้ากับคนรักสุขภาพ คนที่รักความสวยความงามในระดับลึกถึงเซลล์ คนที่ต้องการความกระชุ่มกระชวย และความเยาว์วัยเป็นต้น

Strong-illustration-Packagingstrong

โดยเป้าหมายก็คือ จะสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่างท่ามกลาง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนานาแบรนด์ในท้องตลาด ซึ่งต้องชื่นชมในตัวแนวคิดของทางบริษัท Pearlfisher ที่ว่า “Beauty from within” ก็คือความงามจากภายใน ซึ่งเค้าใช้วิธีการเปรียบเปรยด้านอารมณ์โดยใช้ธรรมชาติเป็นตัวแทนการสื่อสาร ผ่านสัตว์ปีกทั้งหลาย เช่น นก, นกฮูก, ม้าเปกาซัส เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะมีสิ่งที่อ้างถึงสรรพคุณของอาหารเสริมแบบเปรียบเปรยได้ อาทิ นกฮูก-สมอง, ม้าเปกาซัส-ความแข็งแรง โปรตีน, นกขมิ้น-ความกระจ่าง เป็นต้น Dan Dittmar หนึ่งในกรรมการได้ให้ความเห็นกับงานนี้ไว้ว่า “เป็นงานที่สร้างเอกลักษณ์และความโดดเด่นในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ลักษณะเช่นนี้แหละคืองานที่พร้อมที่ก้าวไป”

บรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานที่ได้รางวัลต่อมา อันนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผลงานจาก Studio Kluif ก็คือ

JEROHnimus ภาษาไทยอ่านว่า จีโรนีมัส เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ เช่น หมอน, จาน, แจกัน และของตกแต่งบ้าน เค้าได้แรงบันดาลใจจากผลงานของจิตรกรชาวดัตช์ Hieronymus Bosch (คศ. 1450-1516) ซึ่งงานของเขาคนนี้เป็นที่รู้จักกันในรูปแบบงานแปลกๆ ดูลึกลับ, เซอร์เรียล(เหนือความเป็นจริง) ซึ่ง Studio Kluif ก็ได้นำแรงบันดาลใจจากจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่นี้ในการสร้าง Serie ของบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในบรรยากาศที่โดดเด่นสไตล์ภาพวาดของ Hieronymus Bosch ผลงานออกมาน่าสนใจมากมันคือสไตล์ที่เด่นชัดในรูปแบบแนวทางความร่วมสมัยผ่านรูปภาพที่งดงาม เป็นการเชื่อมกันระหว่างความมั่งคั่งในอดีตผสานกับความสดใสของอนาคต Gerard Caron หนึ่งในกรรมการกล่าวว่า “มันเตะตามาก นี่แหละคือภารกิจของบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งพิเศษอย่าง ศิลปะ กวี และความขำขัน ที่นำมารวมกันได้กลมกล่อม”

ออกแบบบรรจุภัณฑ์รางวัล สมชนะ

ผลงานสุดท้ายที่ได้รางวัลคือผลงาน THE BALVENIE 50 เป็นวิสกี้ครบรอบ 50 ปี โจทย์ที่ได้รับของทางบริษัท Here Design ประเทศอังกฤษ คือต้องการสร้างบรรจุภัณฑ์พิเศษ และไอพิเศษที่ว่านี้คือมอลต์อายุกว่า 50 ปี ซึ่งออกมาเพื่อเฉลิมฉลองการทำงานของปรมาจารย์แห่ง Balvenie Malt ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญวิสกี้ทั่วโลกถึงความสามารถของเขาเขาผู้นั้นชื่อว่า David Stewewart ตัวเขาเองเขาได้อุทิศตัวของเขาทั้งหมดในชีวิตในการกลั่นมอลต์ แน่นอนที่สุดเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา วันที่เด็กฝึกงานคนนี้อายุเพียง 17 ปี ได้เข้าร่วมโรงกลั่นกับทาง Balvenie ด้วยความมานะทำให้เขามีผลงานอันเลื่องชื่อก็คือการเปิดตัวถังมอลต์ที่หายากที่สุดของ Balvenie ในปี 1962 ถือเป็นอีกหนึ่งที่สร้างชื่อก็ว่าได้ มันสามารถกลั่นได้ทั้งหมดแค่ 88 ขวด สนนราคาอยู่ที่ £ 20,000 ต่อขวด ก็ประมาณ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง

11326-Balvenie50_0140

จากการอุทิศตนของ David Stewewart นั้นทำให้เขาได้ร่วมมือกับ Sam Chinnery นักทำเฟอร์นิเจอร์ทำตู้มือฉมังชาวสก็อตแลนด์ สร้างกล่องพิเศษที่เป็นสัญลักษณ์ 50 ปี ซึ่งมีไม้ 49 ชั้นต่างสายพันธุ์ เช่น ไม้วอลล์นัท ไม้โอ๊ค ไม้แอช เป็นต้น นำมาวางซ้อนกันอย่างงดงามทำให้เกิดผิวสัมผัส และลายไม้ด้านข้างของกล่องที่ดูแปลกต่างและมีระดับ และมีหนึ่งชั้นที่ทำจากทองเหลืองสลักเรื่องราวปิดไว้

Balvenie-Golden-1-e1357663025238 BV50_Prototype2_Visuals_v1.1

ตัวขวดแก้ววิสกี้นั้นใช้งาน Handcraft ด้วยกรรมวิธีการการเป่ามือด้วยความพิถีพิถัน และติดป้ายกับวันผลิตวิสกี้ หมายเลข Limited Number และลายเซ็นของ David Stewewart ด้านใต้ของแต่ละขวด ทำให้ THE BALVENIE 50 จึงเป็นงาน Limited Edition ที่ทรงพลังมากๆ

maxresdefault

 

Isabella Dahlborg หนึ่งในกรรมการบอกว่า “49 ชั้นนั้น มันพูดทุกๆอย่างด้วยตัวมันเอง ทั้งไอเดีย, ทั้งคุณภาพ, ทั้งการครบรอบ ถือเป็นวิสกี้ที่ยอดเยี่ยมมากๆ จนฉันอยากจะดมมันแล้วล่ะสิ”

3 งานยอดเยี่ยมของโลกนี้ผ่านหลายด่านกว่าจะได้รางวัล มันไม่ง่ายครับที่เราจะเป็นหนึ่งในวงการบรรจุภัณฑ์โลก ซึ่งจากการที่ผมได้ตัดสินพบว่ามีงานดีๆอีกหลายงานที่ควรได้ แต่ แต่นะครับขอย้ำ เหตุที่ผมและกรรมการท่านอื่นๆไม่เลือกเพราะ มันดี แต่ไม่ดีที่สุด เราต้องการงานที่ดีที่สุดเท่านั้น เหมือนกับลูกค้าเราก็เหมือนกัน เขาต้องการสินค้าที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพียงแค่ท่านพัฒนาสินค้า ลบจุดอ่อน จุดบกพร่อง เสริมจุดแกร่ง แต่ที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ เติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปเท่านี้สินค้าท่านก็จะยืนท่ามกลางคู่แข่งได้อย่างไม่กลัวใครแล้วครับ แล้วยังไงผมก็ไม่ทิ้งท่านแน่นอนครับ^^

เครดิต : SMEs Plus Column Idea Café

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Tips, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

สร้างแบรนด์เทรนด์ใหม่ ICONIC BRAND

iconic-brands

ปัจจุบันแบรนด์ใหญ่ๆ หลายๆแบรนด์ของโลกเริ่มขยับตัวมากขึ้น พยายามใช้วิธีการออกแบบในเชิง ICONIC กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น โค้ก, เป๊ปซี่, ไฮเนเก้น, Mcdonald’s และมีอีกหลายแบรนด์ที่ผมรู้และยังเปิดเผยไม่ได้ที่กำลังจัดระบบหน่วยการจดจำเชิง ICONIC ซึ่งวันนี้จะมาอธิบายความหมายของ ICONIC และ วิธีการสร้าง ICONIC ทำอย่างไร

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ยกระดับแบรนด์กลายไปเป็นขั้น ICONIC หรือ สัญลักษณ์ได้ แนวความคิดของการออกแบบให้กลายเป็นสัญลักษณ์นั้น พูดง่ายๆเหมือนการสร้างลายเซ็นต์ประจำตัวของแบรนด์นั่นเอง

แต่บางทีแล้วแบรนด์หลายๆแบรนด์ในอดีตนั้นมันเกิดมาด้วยความบังเอิญบ้าง เกิดมาด้วยสินค้าบ้าง เรียกง่ายๆว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่สุดท้ายมันก็โตขึ้นเรื่อยๆ มันเลยไม่มีขั้นตอนความคิดมาในอดีต ซึ่งเราในฐานะคนรุ่นใหม่ที่มาสานต่อนั้นจำเป็นต้องคิดในมุมนี้บ้าง แต่สำหรับแบรนด์หน้าใหม่นั้น เป็นโอกาสของเราที่จะตั้งต้นเพื่อที่จะจัดระบบความคิด เพื่อที่จะก้าวไปสู่ ICONIC BRAND อย่างแท้จริงในอนาคต

iconic-brand-building

อัยย่ะ ICONIC BRAND คืออะไรเหรอ…????

ICONIC BRAND ก็คือการสร้างสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง อย่างมีหลักการเพื่อที่จะทำให้ผู้ซื้อนั้นจดจำแบรนด์ของเราได้ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร M คือ Mcdonald’s, เครื่องดื่มอัดลมสีแดงคือ Coca-Cola, เลข 7 คือ เซเว่น-อีเลฟเว่น, ตัวอักษร LV บนกระเป๋า, เส้นสามเส้น คือ Adidas เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นขั้นสุดของแบรนด์แล้ว พูดง่ายๆก็คือ บางทีเราอาจจะเห็นตัวอักษร M ที่ใดสักที่หนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวกับ Mcdonald’s เลย แต่เราอาจจะนึกถึงมันก็ได้ คราวนี้แบรนด์มันแทบจะเข้าไปฝังไว้ในหน่วยความจำของเราไปโดยปริยาย นี่คือสิ่งที่นักสร้างแบรนด์ต้องการ

โอเคผมว่าทุกๆคนน่าจะพอมองเห็นภาพของ ICONIC BRAND แล้วแหละ ดังนั้นผมของอนุญาตเข้าเรื่องเทคนิคของการสร้างแบรนด์ในส่วนของดีไซน์ เพื่อที่จะให้เป็น ICONIC อย่างแท้จริง ว่าควรต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ข้อที่ 1. ต้องเรียบง่าย

ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ซื้อทุกๆคนนั้น มิได้มีระบบความจำที่แม่นยำเท่าเทียมกัน ดังนั้นการทำอะไรเรียบง่าย น้อยๆนั้น คนทุกๆคนมักจะจดจำได้ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร M Mcdonald’s, แม้แต่ฉลากแถบเฉียงๆของเหล้า Johnnies Walker, เครื่องหมายถูกของไนกี้, ผลแอปเปิ้ล ของบริษัท Apple Computer หรือแม้กระทั้งลวดลายตารางหมากรุกของกระเป๋า Louis Vuitton เป็นต้น ดังนั้นสรุปได้ว่ากราฟิกที่ควรจะต้องใช้เพื่อการเป็น ICONIC มันต้องเป็นอะไรที่ง่ายๆ เช่น เป็นเส้น เป็นรูปทรงเรขาคณิต เป็นตัวเลขตัวอักษร หรือเป็นคน,สัตว์,สิ่งของพื้นฐาน เป็นต้น

Campbells_Marlboro_Packaging_Design

ข้อที่ 2. ต้องเลือกใช้สีพื้นฐาน

สีเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างการจดจำได้ ผมเคยเขียนเรื่องของสีไปเมื่อประมาณปีที่แล้ว (ท่านหาอ่านได้จากนิตยสาร SMEs PLUS เล่มเก่าๆได้) แต่สีที่จะใช้นั้นถ้าเป็นไปได้ควรจะต้องใช้เป็นสีหลัก(แดง เหลือง น้ำเงิน) หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พออนุโลมสีรองก็ได้(ส้ม เขียว ม่วง) เช่น บรรจุภัณฑ์ Marlbolo ที่เป็นรูปตัว M แหลมๆ สีแดง, ซุป Campbells ที่เป็นแถบขาว แดง, หรือแม้แต่เบียร์ไฮเนเก้น ที่เป็นขวดเขียวตราดาวแดง เป็นต้น

packaging coke iconic historyiconic-absolut-vodka-packaging

ข้อที่ 3. ต้องสร้างทรวดทรง

อีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญมากๆที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ICONIC ได้ก็คือ ทรวดทรงองเอวของบรรจุภัณฑ์ให้แตกต่างจากตลาดแต่ต้องมีความเรียบง่ายอยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างทรวดทรงองเอวก็คือ ขวด Coca-Cola, ขวด Absolut Vodka, ขวดซอส Heinz, เป็นต้น

ข้อที่ 4. ต้องกล้าที่จะต่าง

การออกแบบรรจุภัณฑ์ความยากที่สุดก็คือ การบริหารจัดการพื้นที่บนฉลาก ทั้งแบรนด์ก็ต้องการจะใหญ่ให้เห็นชัด อีกทั้งยังต้องการลวดลายเพื่อที่จะสร้าง ICONIC อีก บางทีอาจจะต้องมีรูปผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่เพื่อจะบอกว่าเป็นสินค้าอะไรอีก สิ่งเหล่านี้คือหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องบริหารจัดการพื้นที่ด้วยเหตุผลและหลักการ เพราะว่าเราก็ยังต้องสู้กับคู่แข่งอีกมากมาย ดังนั้นความแตกต่างเสมือนดั่งความท้าทายความรู้ความสามารถของนักออกแบบนั่นเอง แต่ถึงยังไงผู้ประกอบการต้องพึงเข้าใจถึงข้อนี้ด้วย

toberlone packaging design

ข้อที่ 5. ตอกย้ำจุดยืน

เป็นอีกข้อที่จะต้องเตือนสติถึงจุดยืนของการสร้าง ICONIC เสมือนดั่งแบรนด์ช็อกโกแลต Toblerone ที่คงจุดยืนในรูปทรงช็อกโกแลตรูปสามเหลี่ยมมาโดยตลอด จนทุกๆคนจดจำได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งต้องพยายามนำเสนอจุดยืนประชาสัมพันธ์ออกไปในทุกๆช่องทางที่เป็นไปได้ เพื่อตอกย้ำให้ทุกๆคนรับรูปว่าตัวตนของแบรนด์เรานั้นคืออะไร มีอะไรบ้างที่จดจำได้บ้าง ต้องทำบ่อยๆ จนเข้าไปสู่จนสามารถฉายภาพแบรนด์ของเราในใจเค้าได้ จึงถือว่าประสบความสำเร็จ

Iconic-brand-guideng

บางทีท่านอาจจะไม่สามารถใช้ได้ในทุกๆข้อ ก็ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่ถ้าใช้ได้ทุกๆข้อนั้น พลังความเป็น ICONIC มันก็จะแข็งแกร่งได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเป็นจริงนั้นอาจทำได้ยาก เจ้าของแบรนด์คงต้องพิจารณาเป็นข้อๆไป ว่าข้อไหนเหมาะสมกับแบรนด์ของเราบ้าง หรือข้อไหนจะใช้ในสื่อไหน เป็นต้น แบรนด์ของท่านจะกลายเป็นแบรนด์ที่มีหลักการและแนวทางที่ชัดเจนต่อไป ขอบคุณครับ^^

เครดิต : SMEs Plus

Filed under: Idea Packaging, Other, Packaging Strategy, , , , , , , , , , , ,

Follow Us